เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไอยรา
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไอยรา หรือ เครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้าง (เดนมาร์ก: Elefantordenen) เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งประเทศเดนมาร์ก ชั้นสูงสุดของประเทศ เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้มีต้นกำเนิดตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 แต่มีการปรากฏอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1693 ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าคริสเตียนที่ 5 แห่งเดนมาร์ก และนับตั้งแต่มีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ เมื่อ ค.ศ. 1849 พระมหากษัตริย์จะพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ให้สำหรับพระบรมวงศานุวงศ์และประมุขรัฐของต่างประเทศเท่านั้น[1]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไอยรา | |
---|---|
![]() สายสะพาย ดวงตราและดารา | |
ประเภท | เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นเดียว |
วันสถาปนา | ค.ศ. 1693 |
ประเทศ | ![]() |
ผู้สมควรได้รับ | พระบรมวงศานุวงศ์และประมุขแห่งรัฐต่างประเทศที่มีสัมพันธไมตรีต่อประเทศเดนมาร์ก |
สถานะ | ยังมีการมอบ |
ผู้สถาปนา | สมเด็จพระเจ้าคริสเตียนที่ 5 แห่งเดนมาร์ก |
ประธาน | สมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริกที่ 10 แห่งเดนมาร์ก |
สถิติการมอบ | |
รายแรก | สมเด็จพระเจ้าคริสเตียนที่ 5 แห่งเดนมาร์ก |
รายล่าสุด | เจ้าชายดาเนียล ดยุกแห่งเวสเตร์เยิตลันด์ |
ลำดับเกียรติ | |
สูงกว่า | ไม่มี |
รองมา | เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร |
หมายเหตุ | ![]() แพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ |
ประวัติ
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชิ้นนี้ เริ่มต้นจาก สมาคมทางศาสนาของเดนมาร์กที่มีชื่อว่า "สมาคมแม่พระแห่งพระเจ้า" ซึ่งมีสมาชิกประมาณห้าสิบคนจากชนชั้นสูงของเดนมาร์ก ก่อตั้งขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าคริสเตียนที่ 1 ในช่วงศตวรรษที่ 15 ตราของสมาคมเป็นรูปพระแม่มารีย์อุ้มพระบุตรอยู่ภายในพระจันทร์เสี้ยวและล้อมรอบด้วยรัศมีของดวงอาทิตย์ ซึ่งห้อยลงมาจากสายสร้อยที่มีห่วงเป็นรูปช้าง คล้ายกับสายสร้อยของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในปัจจุบัน ซึ่งตรานี้อาจได้รับแรงบันดาลใจจากตราประจำตำแหน่งของบาทหลวงประจำสมาคมซึ่งเป็นรูปช้างอย่างที่ทราบกันอยู่แล้ว เครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้จึงถูกจัดทำขึ้นใหม่ในรูปแบบปัจจุบันเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1693 โดยพระเจ้าคริสเตียนที่ 5 โดยมีเพียงหนึ่งชั้นและมีอัศวินชั้นสูงเพียง 30 คน รวมถึงประมุขแห่งรัฐ (เช่น พระมหากษัตริย์) และพระราชโอรสของพระองค์ ข้อบังคับของเครื่องราชอิสริยาภรณ์จึงได้รับการแก้ไขในปี ค.ศ. 1958 โดยมีพระราชกฤษฎีกาออกมา เพื่อให้ทั้งชายและหญิงสามารถได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ได้เช่นเดียวกัน
ส่วนการออกแบบรูปช้างและปราสาทนั้นมีที่มาจาก "เฮาดา" ซึ่งเป็นเกี้ยวหรือคานหามที่ติดตั้งอยู่บนหลังช้าง เกี้ยวชนิดนี้ใช้กันมากในอนุทวีปอินเดีย ชาวเดนมาร์กจึงนำเอาการออกแบบนี้มาใช้ในเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไอยรา เนื่องจากพวกเขาเคยปกครองบางส่วนของอินเดียซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคมเล็ก ๆ ของพวกเขา แต่เมื่อเวลาผ่านไป เฮาดาหรือคานหามอินเดีย อาจไม่คุ้นเคยสำหรับคนเดนมาร์กจึงได้ถูกแทนที่ด้วยปราสาทของยุโรปที่ชาวเดนมาร์กคุ้นเคยเป็นอย่างดี แต่ยังคงมีควานช้างชาวอินเดียอยู่บนตราจนถึงปัจจุบัน
ลักษณะของเครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- สายสร้อย : ทำด้วยทองคำ ประกอบด้วยรูปช้างและหอคอยสลับกันไปมา ผ้าคลุมบนตัวช้างมีตัวอักษร "D" ซึ่งย่อมาจาก "Dania" อันเป็นภาษาละตินจากยุคกลางที่หมายถึง เดนมาร์ก โดยมักจะสวมในช่วงเทศกาลปีใหม่ หรือพิธีการสำคัญของประเทศอย่างพิธีบรมราชาภิเษก เป็นต้น
สายสร้อยประจำเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไอยรา - ดวงตรา : เป็นรูปช้างที่ทำด้วยทองคำขาว ตัวเรือนสีฟ้า มีความสูงประมาณ 5 เซนติเมตร ด้านหลังรูปช้างซ้อนด้วยรูปหอนาฬิกาที่ทำด้วยอิฐเคลือบสีชมพู ล้อมรอบด้วยเพชรขนาดเล็กที่ผ่านการเจียระไน และมีรูปควาญช้างสวมชุดหลากสีนั่งอยู่บนหลังช้างและถือไม้เท้าทองคำ โดยดวงตราจะห้อยกับสายสร้อยหรือสายสะพาย[2]
ดวงตราประจำเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไอยรา - ดารา : มีลักษณะเป็นดาวสีเงินแปดแฉก ตรงกลางเป็นพื้นสีแดง ประดับด้วยไม้กางเขนสีขาว โดยประดับอยู่ที่หน้าอกด้านซ้าย
- สายสะพาย : เป็นผ้าไหมมัวร์สีฟ้าอ่อน สำหรับบุรุษกว้าง 10 เซนติเมตร สหรับสตรีกว้าง 6 เซนติเมตร ใช้สะพายจากบ่าขวาเฉียงลงทางซ้าย
สมาชิกแห่งราชอิสริยาภรณ์
แก้องค์ประธานแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไอยรา
แก้สมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริกที่ 10 พระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์กพระองค์ปัจจุบัน เป็นองค์ประธานแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไอยรา
อนึ่ง สมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริกที่ 10 ทรงเป็นสมาชิกแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม ค.ศ. 1972 ในฐานะพระบรมวงศานุวงศ์ในพระมหากษัตริย์
สมาชิกปัจจุบันแห่งเครื่องราชฯ ที่ได้รับการถวาย/พระราชทาน
แก้- เดนมาร์ก :[3]
- 20 เมษายน 1947 :
- 17 กุมภาพันธ์ 1961 : เจ้าชายแห่งเดนมาร์ก
- 14 มกราคม 1972 : เจ้าชายโจอาคิมแห่งเดนมาร์ก
- 17 พฤศจิกายน 1995 : เจ้าหญิงอเล็กซันดรา เคาน์เตสแห่งเฟรเดอริกสบอร์ก
- 14 มกราคม 1997 : เจ้าชายปัฟโลส มกุฎราชกุมารแห่งกรีซ เจ้าชายแห่งเดนมาร์ก
- 9 เมษายน 2004 : เจ้าหญิงแมรี มกุฎราชกุมารี พระวรชายา
- 24 พฤษภาคม 2008 : เจ้าหญิงมารีแห่งเดนมาร์ก พระชายาในเจ้าชายโจอาคิมแห่งเดนมาร์ก
- 15 ตุลาคม 2023 : เจ้าชายคริสเตียน
- 14 มกราคม 2024 :
- นอร์เวย์ :[3]
- 21 กุมภาพันธ์ 1958 : สมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 แห่งนอร์เวย์
- 12 กุมภาพันธ์ 1973 : สมเด็จพระราชินิซอนยาแห่งนอร์เวย์
- 20 กรกฎาคม 1991 : เจ้าชายโฮกุน มกุฎราชกุมารแห่งนอร์เวย์
- 13 ตุลาคม 1992 : เจ้าหญิงมาร์ธา ลุยเซอแห่งนอร์เวย์
- 17 พฤษภาคม 2014 : เจ้าหญิงเม็ตเตอ-มาริต มกุฎราชกุมารีแห่งนอร์เวย์ พระวรชายา
- 21 มกราคม 2022 : เจ้าหญิงอิงกริด อเล็กซันดราแห่งนอร์เวย์[4]
- ญี่ปุ่น :[3]
- 8 สิงหาคม 1953 : มกุฎราชกุมารอากิฮิโตะ
- 28 กันยายน 1965: เจ้าชายมาซาฮิโตะ ฮิตาจิโนะมิยะแห่งญี่ปุ่น
- 2 มิถุนายน 1998 : สมเด็จพระจักรพรรดินีมิจิโกะแห่งญี่ปุ่น
- 16 พฤศจิกายน 2004 : มกุฎราชกุมารนารูฮิโตะ
- สวีเดน :[3]
- 12 มกราคม 1965: มกุฎราชกุมารคาร์ล กุสตาฟ
- 16 มกราคม 1973 : เจ้าหญิงคริสตินาแห่งสวีเดน นางแม็กนูซัน
- 3 กันยายน 1985 : สมเด็จพระราชินีซิลเวียแห่งสวีเดน
- 14 กรกฎาคม 1995 : เจ้าหญิงวิกตอเรีย มกุฎราชกุมารีแห่งสวีเดน
- 6 พฤษภาคม 2024 : เจ้าชายดาเนียล ดยุกแห่งเวสเตร์เยิตลันด์
- เบลเยียม :[3]
- 18 มิถุนายน 1968 : สมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 2 แห่งเบลเยียม
- 16 พฤษภาคม 1995 : สมเด็จพระราชินีเปาลาแห่งเบลเยียม
- 28 พฤษภาคม 2002 : เจ้าชายฟิลีป ดยุกแห่งบราบันต์
- 28 มีนาคม 2017 : สมเด็จพระราชินีมาตีลด์แห่งเบลเยียม
- สเปน :[3]
- 17 มีนาคม 1980 :
- 6 พฤศจิกายน 2023 :
- เนเธอร์แลนด์[3]
- 29 ตุลาคม 1975 : สมเด็จพระราชินีนาถเบียทริกซ์
- 31 มกราคม 1998 : เจ้าชายแห่งออร์เรนจ์
- 17 มีนาคม 2015 : สมเด็จพระราชินีมักซิมาแห่งเนเธอร์แลนด์
- ไอซ์แลนด์[3]
- 25 กุมภาพันธ์ 1981: วิกดิส ฟินโบกาดาตีร์ อดีตประธานาธิบดีสาธารณรัฐไอซ์แลนด์
- 18 พฤศจิกายน 1996: โอลาฟือร์ แรกนาร์ กริมส์สัน อดีตประธานาธิบดีสาธารณรัฐไอซ์แลนด์
- 24 มกราคม 2017: กืดนี โทลาเซียส โยฮาเนสสัน ประธานาธิบดีสาธารณรัฐไอซ์แลนด์
- ฟินแลนด์ :[3]
- 7 กันยายน 1994 : มาร์ตติ อะห์ติซาริ อดีตประธานาธิบดี
- 3 เมษายน 2001 : ตารยา ฮาโลเนน อดีตประธานาธิบดี
- 4 เมษายน 2013 : เซาลี นีนิสเตอ ประธานาธิบดีคนปัจุบัน
- ไทย :[3]
- 6 กันยายน 1960 : สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
- 7 กุมภาพันธ์ 2001 : สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
- ลักเซมเบิร์ก :[3]
- บราซิล :[3]
- 3 พฤษภาคม 1999 : เฟร์นังดู เอ็งรีกี การ์โดซู อดีตประธานาธิบดี
- 12 กันยายน 2007 : ลูอิส อีนาซียู ลูลา ดา ซิลวา อดีตประธานาธิบดี
- บัลแกเรีย :[3]
- 17 ตุลาคม 2000: พีตาร์ สโตยานอฟ อดีตประธานาธิบดี
- 29 มีนาคม 2006: จอร์จี้ ปาร์วานอฟ อดีตประธานาธิบดี
- โรมาเนีย :[3]
- 23 พฤษภาคม 2000: เอมิล คอนสแตนติเนสคู อดีตประธานาธิบดี
- 16 มีนาคม 2004: ไอออน อิเลียสกู อดีตประธานาธิบดี
- กรีซ :[3]
- 11 กันยายน 1964 : เจ้าหญิงไอรีนแห่งกรีซและเดนมาร์ก
- อิหร่าน :[3]
- 3 พฤษภาคม 1963 : สมเด็จพระจักรพรรดินีฟาราห์แห่งอิหร่าน
- สหราชอาณาจักร :[3]
- 30 เมษายน 1974 : เจ้าชายแห่งเวลส์
- โปรตุเกส :[3]
- 25 มิถุนายน 1984 : อังตอนียู รามัลยู ยานึช อดีตประธานาธิบดี
- โปแลนด์[3]
- 5 กรกฎาคม 1993 : เลค วาเลซา อดีตประธานาธิบดี
- ลัตเวีย :[3]
- 18 มีนาคม 1997 : กุนติส อุลมานิส อดีตประธานาธิบดี
- จอร์แดน :[3]
- 27 เมษายน 1998 : สมเด็จพระราชินีนูร์แห่งจอร์แดน
- สโลวีเนีย :[3]
- 10 ตุลาคม 2001 : มิลาน คูชาน อดีตประธานาธิบดี
- สโลวาเกีย :
- 23 ตุลาคม 2012 : อีวาน กาสพาโรวิก อดีตประธานาธิบดี
- เม็กซิโก :[3]
- 18 กุมภาพันธ์ 2008 : ฟิลิป แคลเดรอน ฮิโนโฆซา อดีตประธานาธิบดี
- เกาหลีใต้ :[3]
- 11 พฤษภาคม 2011 : ลี มย็อง-บัก อดีตประธานาธิบดี
- โครเอเชีย :
- 21 ตุลาคม 2014 : อิโว โยซิโปวิช อดีตประธานาธิบดี
- เม็กซิโก
- 13 เมษายน 2016 : เอนริเก เปญญา นิเอโต อดีตประธานาธิบดี
- ฝรั่งเศส
- 28 สิงหาคม 2018 : แอมานุแอล มาครง ประธานาธิบดี
- เยอรมนี
- 10 พฤศจิกายน 2021 : ฟรังค์-วัลเทอร์ ชไตน์ไมเออร์ ประธานาธิบดี
อ้างอิง
แก้- ↑ "The Royal Orders of Chivalry". The Danish Monarchy. 14 January 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 March 2011. สืบค้นเมื่อ 1 March 2011.
- ↑ In an article entitled "Has anyone seen our elephant?" The 1 July 2004 issue of the Copenhagen Post reported that the original mold for the elephant badge had been stolen from the court jeweler, Georg Jensen.
- ↑ 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 3.12 3.13 3.14 3.15 3.16 3.17 3.18 3.19 3.20 3.21 3.22 3.23 Official List of Knights of the Order of the Elephant เก็บถาวร 16 กรกฎาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. (ในภาษาเดนมาร์ก)
- ↑ Kongehuset