อาณัติ บุนนาค
อาณัติ บุนนาค (2 สิงหาคม 2466 — 18 กรกฎาคม 2527) อดีตช่างภาพส่วนพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นช่างภาพประจำพระองค์คนแรก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2489 จนเกษียณอายุราชการเมื่อปี พ.ศ. 2526 ทำหน้าที่ในฐานะช่างภาพประจำพระองค์และหัวหน้าส่วนช่างภาพส่วนพระองค์เป็นเวลานานเกือบ 40 ปี ได้ตามเสด็จฯ เพื่อบันทึกภาพพระราชกรณียกิจในโอกาสต่าง ๆ ไว้มากมาย สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้มอบเกียรตินิยม Hon.ES.P.S.T. ให้เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2518
อาณัติ บุนนาค | |
---|---|
อาณัติ | |
เกิด | อาณัติ บุนนาค 2 สิงหาคม พ.ศ. 2466 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2527 (60 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
อาชีพ | ช่างภาพ |
มีชื่อเสียงจาก | ช่างภาพประจำพระองค์ (2489 - 2526) |
วาระ | 2485 - 2526 |
คู่สมรส | ดารา บุนนาค |
บุตร | ศุภกร บุนนาค อรนิตย์ ปุตระเศรณี |
บิดามารดา | เจ้าหมื่นสรรเพธภักดี (อาคม บุนนาค) นลินี สรรเพธภักดี |
ภาพดอกไม้แห่งหัวใจ เป็นผลงานอันสำคัญภาพหนึ่งของนายอาณัติ บุนนาค หัวหน้าช่างภาพส่วนพระองค์ท่านนี้ ภาพดอกไม้แห่งหัวใจคือภาพแม่เฒ่าตุ้ม จันทนิตย์ อายุ 102 ปี แห่งจังหวัดนครพนมที่มาเฝ้ารับเสด็จฯ เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2498 ภาพนี้นับเป็นภาพที่ประทับใจของคนไทยทั่วทั้งประเทศ ที่พระเจ้าอยู่หัวของคนไทยมีพระจริยาวัตรอันงดงามหาที่เปรียบใด ๆ มิได้
นายอาณัติ บุนนาค เป็นบุตร เจ้าหมื่นสรรเพธภักดี (อาคม บุนนาค, นามเดิมว่า อั้น) กับนางนลินี (นามเดิมว่า แนม) ธิดาพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทียน บุนนาค) [1] สมรสกับนางดารา บุนนาค (สกุลเดิม "เดอ เยซูซ์") มีบุตรสองคน คือ นายศุภกร บุนนาค และนางอรนิตย์ บุนนาค] (ปุตระเศรณี) [2]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2522 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[3]
- พ.ศ. 2514 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[4]
- พ.ศ. 2514 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)[5]
- พ.ศ. 2515 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[6]
- พ.ศ. 2506 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[7]
- พ.ศ. 2510 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[8]
- พ.ศ. 2514 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[9]
- พ.ศ. 2508 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ท.9)[10]
อ้างอิง
แก้- ↑ ชมรมสายสกุลบุนนาค[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ชมรมสายสกุลบุนนาค". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-20. สืบค้นเมื่อ 2008-04-30.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๗๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙, ๑๙ ตุลาคม ๒๕๒๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๑๕๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘๓๙, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๔๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๒, ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๑๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๑๖๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๔, ๓๐ ตุลาคม ๒๕๑๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๒ ง หน้า ๕๐, ๗ มกราคม ๒๕๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๑๒๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙๘๔, ๓๐ ธันวาคม ๒๕๑๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๘๘ ตอนที่ ๑๒๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๕, ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๑๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๖๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘, สิงหาคม ๒๕๐๘
- หนังสือพิมพ์พระราชทานแจกในงานพระราชทานเพลิงศพ อาณัติ บุนนาค