ชลอ ธรรมศิริ

อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ชลอ ธรรมศิริ (13 มกราคม พ.ศ. 2470 – 15 มกราคม พ.ศ. 2564) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครลำดับที่ 6 โดยเป็นผู้ว่าราชการจากการแต่งตั้ง ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2520 – 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2522[1][2] เคยผ่านงานด้านการปกครอง เช่น เมื่อปี พ.ศ. 2507 เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนนายอำเภอ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี เป็นอธิการบดีวิทยาลัยการปกครอง เป็นรองอธิบดีกรมการปกครอง และอธิบดีกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย อีกทั้งเคยเป็นปลัดกรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2518 และได้รับประกาศเกียรติคุณให้เป็น “นักพูดดีเด่น” ประจำปี พ.ศ. 2520[3]

ชลอ ธรรมศิริ
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 6
ดำรงตำแหน่ง
29 เมษายน พ.ศ. 2520 – 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2522
ก่อนหน้าธรรมนูญ เทียนเงิน
ถัดไปเชาวน์วัศ สุดลาภา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด13 มกราคม พ.ศ. 2470
อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ประเทศสยาม
เสียชีวิต15 มกราคม พ.ศ. 2564 (94 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสประนอม ธรรมศิริ
บุตร3 คน

ประวัติ แก้

 
ชลอ ธรรมศิริ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

นายชลอ ธรรมศิริ เกิดวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2470 ที่อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี สมรสกับคุณประนอม ธรรมศิริ มีบุตร-ธิดา 3 ท่าน เป็นบุตรชาย 1 ท่าน ธิดา 2 ท่าน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระดับปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจบวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่น 13

นายชลอ ธรรมศิริ อดีตปลัดและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้ถึงแก่อนิจกรรมด้วยโรคชรา เมื่อวันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2564⁣ โดยกำหนดการน้ำหลวงอาบศพ วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 17.00 น. กำหนดสวดพระอภิธรรม ระหว่างวันที่ 15–21 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 19.00 น. ณ ศาลา 4 วัดธาตุทอง พระอารามหลวง⁣ และกำหนดพระราชทานเพลิงศพ ในวันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2564 เวลา 14.00 น. ณ เมรุ วัดธาตุทอง พระอารามหลวง แขวงพระโขนงเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร⁣[4]

งานด้านการปกครอง แก้

 
ชลอ กำลังนั่งเขียนหนังสือ

ผลงานที่สำคัญ แก้

  • พ.ศ. 2520 มีส่วนสนับสนุนผลักดันให้มีการจัดทำที่ดินเพื่อสร้างสวนหลวง ร.9[11]
  • เป็นผู้จัดการมูลนิธิมหามกุฎราชวิทยาลัย
  • คณะผู้บริหารราชการกรุงเทพมหานครโดยจัดตั้งตำรวจเทศกิจ พ.ศ. 2520[12]

เกียรติยศที่ได้รับ แก้

บทประพันธ์ แก้

  • ผู้จัดทำ และที่ปรึกษานิตยสารธรรมจักษุ[13]

บทความทางการเมือง แก้

  • มิใช่เพียงแต่ให้ได้พูด
  • หัวหน้าที่ลูกน้องต้องการ
  • รัฐบาลและ ส.ส.มีความจริงใจที่จะกระจายอำนาจหรือไม่[14]
  • เทคนิคการสร้างมนุษยสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชาของ ชลอ ธรรมศิริ [15]
  • มนุษยสัมพันธ์ในโรงงาน กองฝึกอบรมไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, 2529 [16]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ใครเป็น “ผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ” มาแล้วบ้าง?
  2. "ผู้ว่ากรุงเทพมหานครในอดีต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-13. สืบค้นเมื่อ 2010-05-20.
  3. "ประวัติสมาคมฝึกการพูด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-25. สืบค้นเมื่อ 2010-05-19.
  4. "อดีตผู้ว่าฯ กทม.คนที่ 6 "ชลอ ธรรมศิริ" ถึงแก่กรรม". ไทยรัฐ. January 15, 2021. สืบค้นเมื่อ January 16, 2021.
  5. "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
  6. "ประวัติความเป็นมาของมูลนิธิบ้านบางแค ในพระอุปถัมภ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-09. สืบค้นเมื่อ 2010-05-20.
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน
  8. "โครงสร้างการบริหารงานของวิทยาลัยการปกครอง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-27. สืบค้นเมื่อ 2010-05-20.
  9. "ผู้อำนวยการสถาบันที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในราชการ (สปร.)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-12-02. สืบค้นเมื่อ 2010-05-20.
  10. ผู้จัดการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย[ลิงก์เสีย]
  11. "ประวัติสวนหลวงร.๙". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-11-03. สืบค้นเมื่อ 2010-05-20.
  12. คณะผู้บริหารราชการกรุงเทพมหานครโดยจัดตั้งตำรวจเทศกิจ[ลิงก์เสีย]
  13. "ความเป็นมาของนิตยสารธรรมจักษุ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-19. สืบค้นเมื่อ 2010-05-20.
  14. รัฐบาลและ ส.ส.มีความจริงใจที่จะกระจายอำนาจหรือไม่[ลิงก์เสีย]
  15. เทคนิคการสร้างมนุษยสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชาของ ชลอ ธรรมศิริ เก็บถาวร 2010-04-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  16. มนุษยสัมพันธ์ในโรงงาน กองฝึกอบรมไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๐, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕
  19. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๗๓ ก ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๒
  20. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๙๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๑๕ มิถุนายน ๒๕๓๑
  21. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๑๔๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๒, ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๑๖
  22. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๙๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๐, ๓ ตุลาคม ๒๕๐๗
  23. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๒๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔๓๑, ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙
  24. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๕๒ ง หน้า ๒๔๓๗, ๑๔ มิถุนายน ๒๕๒๐