พิจิตร กุลละวณิชย์
พลเอก พิจิตร กุลละวณิชย์ (6 กรกฎาคม พ.ศ. 2475) นายกสภาวิทยาลัยสันตพล[1] อดีตองคมนตรี ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก และรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด มีศักดิ์เป็นน้าของชัชชาติ สิทธิพันธุ์
พิจิตร กุลละวณิชย์ | |
---|---|
พิจิตร กุลละวณิชย์ (คนขวา) ในปี 2559 | |
องคมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 - 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร |
แม่ทัพภาคที่ 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2527 – 30 กันยายน พ.ศ. 2529 | |
ก่อนหน้า | พัฒน์ อุไรเลิศ |
ถัดไป | วัฒนชัย วุฒิศิริ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 จังหวัดฉะเชิงเทรา ประเทศสยาม |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | อรุณี กุลละวณิชย์ (หย่า) คุณหญิงวิมล กุลละวณิชย์ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ยศ | พลเอก |
ผ่านศึก | สงครามเวียดนาม การก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย |
ประวัติ
แก้ชีวิตส่วนตัว
แก้พล.อ. พิจิตร เกิดเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 ที่อำเภอแปดริ้ว (ปัจจุบันคือ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา) เป็นบุตรคนโตในจำนวน 7 คนของจวน กุลละวณิชย์ ที่เป็นลูกของ นายปลื้ม กุลละวณิชย์ และเป็นหลานลุงของ พล.ต.อ. พิชัย กุลละวณิชย์
การศึกษา
แก้เมื่อจบการศึกษาจากโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย และโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย จึงสอบเข้าโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 2
ขณะที่เรียนอยู่ปีที่ 2 นั้นมีผลการเรียนดีเด่นมาก จึงถูกส่งไปศึกษาต่อที่โรงเรียนนายร้อยเวสต์ปอยต์ สหรัฐอเมริกา สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยเวสต์ปอยต์เท่อปีที่ พ.ศ. 2501 จากนั้นศึกษาต่อที่โรงเรียนทหารราบกองทัพบกสหรัฐฯ ค่ายเบนนิ่ง รัฐจอร์เจียในหลักสูตรผู้บังคับหมวด, หลักสูตรจู่โจม และหลักสูตรพลร่ม ระหว่าง พ.ศ. 2504 – พ.ศ. 2505 ศึกษาหลักสูตร ผู้บังคับกองพัน ที่ค่ายเบนนิ่ง และในปี พ.ศ. 2508 – พ.ศ. 2509 เข้าศึกษาในโรงเรียนเสนาธิการทหารบก
การทำงาน
แก้ราชการทหาร
แก้หลังจบการศึกษาก็ได้เริ่มรับราชการครั้งแรกเป็นครูอยู่แผนกวิชาการรบพิเศษและส่งทางอากาศ โรงเรียนทหารราบ ศูนย์การทหารราบ จังหวัดลพบุรี ทำหน้าที่ฝึกสอนนายทหารและนายสิบในหลักสูตรจู่โจมและโดดร่มหลายรุ่น ในการสอนนักเรียนจู่โจม ระหว่างการฝึกเข้าตี แทงดาบ หรือ เลิกแถว จะกำหนดให้นักเรียนทหาร ร้องคำว่า "เอีย" เป็นสัญลักษณ์การคำรามของเสือก่อนการจู่โจม ทำให้ได้รับสมญานามว่า "เสือใหญ่" เช่นเดียวกับสัญลักษณ์ของหน่วยจู่โจม มาตั้งแต่นั้น จึงทำให้ในปัจจุบัน สื่อมวลชนจึงนิยมเรียกชื่อเขาเล่น ๆ ว่า "บิ๊กเสือ"
หลังจบการศึกษาที่ค่ายเบนนิ่ง แล้วกลับมาเป็นนายทหารยุทธการและการฝึกของกองพันทางอากาศที่ 1 (ปัจจุบันคือกองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์) ซึ่งเป็นกองพันส่งทางอากาศกองพันแรกของกองทัพบกซึ่งอยู่ที่ลพบุรี
หลังจบโรงเรียนเสนาธิการทหารบก ก็ได้ย้ายไปรับตำแหน่งเป็นหัวหน้ายุทธการและการฝึกศูนย์สงครามพิเศษ จังหวัดลพบุรี จากนั้นได้เดินทางไปราชการสงครามในสงครามเวียดนาม ต่อมาได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นรองผู้บังคับการหัวหน้ายุทธการในเวียดนามใต้ (ปฏิบัติการร่วมกับ พ.ท. ชวลิต ยงใจยุทธ (ยศในขณะนั้น)) จากนั้นไปปฏิบัติราชการพิเศษในพระราชอาณาจักรลาว ตำแหน่งรองผู้บังคับการหน่วยรบพิเศษเฉพาะกิจราทิกุลอยู่ 1 ปี คือระหว่าง พ.ศ. 2514 – พ.ศ. 2515 และเป็นผู้บังคับการหน่วยเดียวกันนี้จนถึงปี พ.ศ. 2517 หลังจากกลับจากราชการพิเศษ ได้เข้ารับตำแหน่งเป็นผู้ช่วยหัวหน้ากองยุทธการ กรมยุทธการทหารบก
ในเหตุการณ์กบฏ 9 กันยา พล.อ. พิจิตร ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1 ในยศ"พลโท" เป็นผู้ประสานจัดเครื่องบินให้แก่ พล.ต. มนูญ รูปขจร แกนนำก่อการกบฏ เพื่อเดินทางออกนอกประเทศ[2]
หลังเกษียณอายุราชการแล้ว ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นองคมนตรีเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2536[3]
ราชการพิเศษ
แก้- พ.ศ. 2524 : นายทหารราชองครักษ์เวร
- พ.ศ. 2524 : นายพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์
- พ.ศ. 2525 : นายพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์, กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์, กรมทหารปืนใหญ่ที่ 1 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2528 : นายทหารราชองครักษ์, นายพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2529 : นายพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2530 : นายพิเศษประจำกรมทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ และกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 21 รักษาพระองค์
- พ.ศ. 2530 : ตุลาการศาลทหารสูงสุด
- พ.ศ. 2533 : กรรมการกิตติมศักดิ์ของสภาลูกเสือแห่งชาติ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2541 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[4]
- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2529 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2520 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี ชั้นที่ 4 อัศวิน (อ.ร.)[7]
- พ.ศ. 2511 – เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ช.ส.) (ประดับเปลวระเบิด)[8]
- พ.ศ. 2528 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[9]
- พ.ศ. 2512 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[10]
- พ.ศ. 2516 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
- พ.ศ. 2530 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[11]
- พ.ศ. 2534 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[12]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- สหรัฐ :
ชีวิตส่วนตัว
แก้พล.อ. พิจิตร เคยสมรสกับอรุณี กุลละวณิชย์ มีบุตร 3 คน คนแรกคือ
- พิเชฏฐ์ กุลละวณิชย์ ซึ่งภายหลังได้เปิดเผยต่อสาธารณะว่าบุตรชายคนดังกล่าวได้ตัดขาดจากตน[14] แต่พิเชฏฐ์ออกมาปฏิเสธ[15]
- พิชาญ กุลละวณิชย์ ซึ่งเป็นผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นตติยจุลจอมเกล้า[16]
- อัญชนา กุลละวณิชย์
ต่อมาสมรสกับ พ.อ.หญิง คุณหญิงวิมล กุลละวณิชย์ ไม่มีบุตรด้วยกัน
อ้างอิง
แก้- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-06. สืบค้นเมื่อ 2014-04-03.
- ↑ "เอกยุทธ อัญชันบุตร รำลึกรัฐประหาร 9 กันยา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-17. สืบค้นเมื่อ 2010-03-02.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งองคมนตรี (พลเอก พิจิตร กุลละวณิชย์)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๕ ตอน ๘ ข หน้า ๑, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๑๖ เมษายน ๒๕๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑, ๖ มกราคม ๒๕๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๑๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๒๘ สิงหาคม ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๓ ง หน้า ๓๕๕๘, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๓๐, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๖ ง หน้า ๘๑๙๕, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๐ กันยายน ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเหรียญตราต่างประเทศ, เล่ม 103 ตอนที่ 100 ฉบับพิเศษ หน้า 8, 11 มิถุนายน 2529
- ↑ "เปิดประวัติครอบครัว "บิ๊กเสือ" - พิจิตร กุลละวณิชย์ หลังถูกลูกชายร้องเรียน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-10-21. สืบค้นเมื่อ 2015-06-24.
- ↑ "บิ๊กเสือ"โผล่ที่พัทยา โต้ป่วย! ยันยังฟิต - พิเชฏฐ์ ลั่นไม่เคยคิดหวังทรัพย์สมบัติ[ลิงก์เสีย]
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (ในวโรกาสวันพระราชพิธีฉัตรมงคล วันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๕๔๓)