วัฒนชัย วุฒิศิริ
พลเอก วัฒนชัย วุฒิศิริ อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย อดีตราชองครักษ์พิเศษ [1] และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดกาญจนบุรี
วัฒนชัย วุฒิศิริ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม | |
ดำรงตำแหน่ง 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ผู้บัญชาการทหารสูงสุด | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2537 – 30 กันยายน พ.ศ. 2538 | |
ก่อนหน้า | พลอากาศเอก วรนาถ อภิจารี |
ถัดไป | พลเอก วิโรจน์ แสงสนิท |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 24 มิถุนายน พ.ศ. 2478 จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม |
พรรคการเมือง | ประชาธิปัตย์ |
คู่สมรส | คุณหญิงสุภา วุฒิศิริ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ![]() |
ยศ | ![]() ![]() ![]() |
ประวัติ แก้ไข
พลเอก วัฒนชัย วุฒิศิริ เกิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2478 จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 4 (จ.ป.ร.4)
การทำงาน แก้ไข
พลเอก วัฒนชัย รับราชการทหารสังกัดกองทัพบก เคยดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 1 และเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในระหว่างปี พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2539 จากนั้นในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2539 จึงได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยแรกด้วย
ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย ซึ่งในครั้งนั้นนายชวน ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมด้วย[2]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้ไข
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย แก้ไข
- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2530 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)[5]
- พ.ศ. 2511 – เหรียญชัยสมรภูมิ การรบ ณ สาธารณรัฐเวียดนาม (ช.ส.) (ประดับเปลวระเบิด)[6]
- พ.ศ. 2531 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 1 (ส.ช.)[7]
- พ.ศ. 2511 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[8]
- พ.ศ. 2511 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[9]
- พ.ศ. 2532 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[10]
- พ.ศ. 2534 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[11]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ แก้ไข
- สหรัฐ :
อ้างอิง แก้ไข
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/092/T_0001.PDF
- ↑ คณะรัฐมนตรีคณะที่ 53[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๔๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๒๓ มีนาคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔, ๑ ธันวาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๔, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องหมายเปลวระเบิดสำหรับประดับแพรแถบเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑, ๖ มกราคม ๒๕๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๓๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๒๗ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๘๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๓ ตุลาคม ๒๕๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐๔๒, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖, ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๐ กันยายน ๒๕๓๔