เลิศรัตน์ รัตนวานิช

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 ประธานกรรมการ บริษัท ไทรทัน โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)[1] กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน[2] สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ในรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตประธานกรรมการ บริษัท จี เจ สตีล จำกัด (มหาชน) และอดีตประธานกรรมการ บริษัท จี สตีล จำกัด(มหาชน) กรรมการ บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุนเอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) อดีตจเรทหารทั่วไป อดีตสมาชิกวุฒิสภาแบบสรรหาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 อดีตประธานกรรมการ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) อดีตนายทหารราชองครักษ์พิเศษ[3]

พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด2 เมษายน พ.ศ. 2490 (77 ปี)
ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสนางมยุรพันธ์ รัตนวานิช
ชื่อเล่นเสธ.อู้

ประวัติ

แก้

พล.อ.เลิศรัตน์ เป็นบุตรคนที่ 5 ในจำนวนบุตรทั้ง 6 คน ของนายบุญเที่ยงและนางเย็นใจ รัตนวานิช ซึ่งพี่น้องคนอื่น ๆ ล้วนแต่รับราชการทหารอีกถึง 4 คน

ชีวิตส่วนตัว พล.อ.เลิศรัตน์ มีชื่อที่สื่อมวลชนนิยมเรียกกันเล่น ๆ ว่า "เสธ.อู้" สถานภาพครอบครัวสมรสกับ นางมยุรพันธ์ รัตนวานิช มีบุตรด้วยกันทั้งหมด 3 คน คือ น.ส.สุวลักษณ์ รัตนวานิช, นายภูรีรัตน์ รัตนวานิช และ น.ส.โสมรัศมิ์ รัตนวานิช[4]

การศึกษา

แก้

การทำงาน

แก้

พล.อ.เลิศรัตน์ เริ่มต้นชีวิตราชการด้วยการเป็นอาจารย์ประจำที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ในปี พ.ศ. 2516 และต่อมาเป็นอาจารย์ที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบก จนถึงปี พ.ศ. 2526 จากนั้นก็ได้เจริญในหน้าที่ราชการขึ้นเรื่อย ๆ ดำรงตำแหน่งสำคัญ อาทิ ราชองครักษ์เวร ในปี พ.ศ. 2538, เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารบก ในปี พ.ศ. 2541, ผู้อำนวยการวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ ในปี พ.ศ. 2544, ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ในปี พ.ศ. 2548 เป็นต้น ก่อนที่จะเกษียณอายุราชการในตำแหน่งจเรทหารทั่วไป

ในวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2556 ได้รับแต่งตั้งเป็น ประธานกรรมการ บริษัท จี เจ สตีล จำกัด (มหาชน) และ ประธานกรรมการ บริษัท จี สตีล จำกัด (มหาชน) ก่อนที่จะลาออกในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560

งานการเมือง

แก้

หลังเกษียณ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) แบบสรรหา ถือเป็นนายทหารคนหนึ่งที่มีชื่อเสียงและบทบาทในทางการเมือง ซึ่งในระหว่างรัฐบาลที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี มีข่าวว่าอาจจะได้รับแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ต่อจาก พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ แต่แล้วตำแหน่งนี้ก็ตกเป็นของ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน

ในเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตย ต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. ในปี พ.ศ. 2551 ก่อนที่จะเกิดการสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม นั้น พล.อ.เลิศรัตน์ ได้เสนอตัวเป็นคนกลางอาสาเข้าไปพูดคุยเจรจากับทางฝ่ายผู้ชุมนุมถึงสถานที่ชุมนุมด้วยตนเอง แต่ก็ไม่สำเร็จ เพราะเกิดการสลายการชุมนุมขึ้นเสียก่อน ทั้งที่พลเอกเลิศรัตน์ ได้มีโอกาสพูดคุยกับแกนนำ นปช. แล้ว[6][7]

หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน[8] สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ประธานกรรมการ บริษัท ไทรทัน โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)[ลิงก์เสีย]
  2. กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน
  3. ประกาศแต่งตั้งนายทหารราชองครักษ์พิเศษ
  4. ประวัติ เลิศรัตน์ รัตนวานิช จากไทยรัฐ
  5. "บัณฑิตกิตติมศักดิ์ มทร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-13. สืบค้นเมื่อ 2010-11-18.
  6. เพ้อ!เจรจาไม่ติดคุก 'พายัพ'ขอเป็นกลางนัดแม้ว-มาร์คเปิดอกคุยเก็บถาวร 2010-03-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากไทยโพสต์
  7. ม็อบแดงไม่รับมติร่วมนปช.-ส.ว.เจรจารบ. จากคมชัดลึก
  8. ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๘, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐ เก็บถาวร 2017-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๓, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๓๕, ๔ มีนาคม ๒๕๔๘
  13. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน เก็บถาวร 2009-03-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๓๖, ๘ มิถุนายน ๒๕๔๔
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๐
  15. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๖๐, ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๐

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้