มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ (อังกฤษ: Rajamangala University of Technology Rattanakosin; อักษรย่อ: มทร.รัตนโกสินทร์ – RMUTR)

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
ชื่อย่อมทร.รัตนโกสินทร์ / RMUTR
คติพจน์มหาวิทยาลัยแห่งสังคมการประกอบการ (SMART Entrepreneur)
ประเภทมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล
สถาปนา18 มกราคม พ.ศ. 2548
อธิการบดีรศ.ดร.อุดมวิทย์ ไชยสกุลเกียรติ
อธิการบดีรศ.ดร.อุดมวิทย์ ไชยสกุลเกียรติ
นายกสภามหาวิทยาลัยพลเอก จรัล กุลละวณิชย์
ที่ตั้ง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
เลขที่ 96 หมู่ 3 ถนนพุทธมณฑลสาย 5 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170

พื้นที่บพิตรพิมุข จักรวรรดิ
เลขที่ 264 ถนนจักรวรรดิ แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร 10100
วิทยาลัยเพาะช่าง
เลขที่ 86 ถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200

วิทยาเขตวังไกลกังวล
ถนนเพชรเกษม (ก.ม. 242) ตำบลหนองแก อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77110
สี  สีแดง
เว็บไซต์www.rmutr.ac.th

พื้นที่จัดการศึกษา

แก้

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ เป็นสถาบันอุดมศึกษาประเภท มหาวิทยาลัยของรัฐ สถาปนาขึ้นในตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ที่ประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 จัดการศึกษาโดยแบ่งพื้นที่จัดการศึกษาออกเป็น 4 พื้นที่ได้แก่

  1. พื้นที่ศูนย์กลางศาลายา เนื้อที่ 115 ไร่ ตั้งอยู่ ณ บริเวณถนนพุทธมณฑล สาย 5 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม (เดิมคือ วิทยาเขตศาลายา จัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2538)[1] ปัจจุบันเป็นที่ตั้งสำนักงานอธิการบดีและเป็นสำนักงานฯ กองต่าง ๆ สนามกีฬากลาง อาคารยิมเนเซียมและสระว่ายน้ำ หอประชุมใหญ่ (บัวสวรรค์) และสำนักงานคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาลัยพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนรัตนโกสินทร์ และวิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ วิทยาลัยสื่อประกอบการสร้างสรร
  2. พื้นที่บพิตรพิมุข จักรวรรดิ เนื้อที่ 2 ไร่บริเวณถนนจักรวรรดิ แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เป็นที่ตั้งสำนักงานคณะบริหารธุรกิจและคณะศิลปศาสตร์
  3. วิทยาลัยเพาะช่าง เนื้อที่ 5 ไร่บริเวณถนนตรีเพชร แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร จัดการศึกษาออกเป็น 4 ภาควิชา
  4. วิทยาเขตวังไกลกังวล 4 เขตพื้นที่เนื้อที่รวม 320 ไร่ บริเวณอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นที่ตั้งของคณะอุตสาหกรรมเทคโนโลยี และคณะอุตสาหกรรมการโรงแรมและท่องเที่ยว และโรงแรมราชมงคลชมคลื่น

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

แก้
  • พระมหาพิชัยมงกุฎ ตราประจำมหาวิทยาลัยนั้นเป็นรูปดวงตราวงกลมภายในมีพระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ล้อมรอบด้วยดอกบัว 8 กลีบ ซึ่งสื่อความหมายถึง ทางแห่งความสำเร็จ มรรค 8 และความสดชื่น เบิกบานอันก่อให้เกิดปัญญา ด้านบนดวงตรานั้นมีพระมหาพิชัยมงกุฎที่มีตัวเลข ๙ ซึ่งหมายถึง รัชกาลที่ 9 ครอบอยู่ ด้านล่างดวงตรานั้นเขียนชื่อสถาบัน ทั้งนี้ตราของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง ล้วนได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ให้อัญเชิญมาเป็นตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลทั้ง 9 แห่ง บรรดาคณาจารย์ ข้าราชการ นักศึกษา บัณฑิต ศิษย์เก่าราชมงคลทุกรุ่น ต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น [2]
  • ดอกไม้ประจำสถาบัน คือ ดอกบัวสวรรค์
  • สีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีแดง เป็นสีวันเสด็จพระราชสมภพของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มหาวิทยาลัยจึงถือเอาสีแดงเป็นสีประจำมหาวิทยาลัยสืบเนื่องได้รับพระราชทานนามใหม่จากวิทยาเขตหัวหิน เป็นวิทยาเขตวังไกลกังวล หนึ่งในสี่พื้นที่การศึกษาของมหาวิทยาลัย ซึ่งรัฐบาลได้จัดตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีในวโรกาสที่ทรงมีพระชนมายุ 90 พรรษา ผู้บริหารและคณาจารย์ต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณจึงเลือกใช้สีแดงมาเป็นสีประจำมหาวิทยาลัย

รายนามอธิการบดี

แก้
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
รายนามอธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. รศ.ดร.อิสสรีย์ หรรษาจรูญโรจน์ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2548[3] - 14 สิงหาคม พ.ศ. 2552
15 สิงหาคม พ.ศ. 2552 - 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556
2. ผศ.ศิวะ วสุนธราภิวัฒก์ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 24 ตุลาคม พ.ศ. 2560
28 ตุลาคม พ.ศ. 2560[4] - 27 ตุลาคม พ.ศ. 2564
3. รศ.ดร.อุดมวิทย์ ไชยสกุลเกียรติ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565[5] - ปัจจุบัน

การจัดการศึกษา

แก้

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ แบ่งการจัดการศึกษาดังนี้[6]

สาขาวิชาที่เปิดสอน

แก้

ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ เปิดสอนในระดับปริญญาตรี, โท, เอก มีทั้งหลักสูตรปกติและสบทบ ต่อเนื่องทั้งหมด 6 คณะ 3 วิทยาลัย ดังต่อไปนี้


คณะ ระดับปริญญาตรี บัณฑิตศึกษา
คณะวิศวกรรมศาสตร์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต

  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา (2 ปีต่อเนื่อง)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม
  • สาขาวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม (2 ปีต่อเนื่อง)
  • สาขาวิชาวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาวิศวกรรมการวัดคุม
  • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
  • สาขาวิศวกรรมวัสดุ
  • สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ

หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตร์บัณฑิต

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม
  • สาขาวิชาการออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน
  • สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
  • สาขาวิชาสถาปัตยกรรมและการออกแบบชุมชนเมือง

หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต

  • สาขาวิชาการจัดการงานก่อสร้าง
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีนิเทศศิลป์
คณะบริหารธุรกิจ

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต

  • สาขาวิชาการบัญชีทั่วไป
  • สาขาวิชาการบัญชีการเงิน
  • สาขาวิชาการตลาด
  • สาขาวิชาการตลาด-การบริหารการตลาด
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
  • สาขาวิชาการจัดการทั่วไป
  • สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ-พัฒนาซอร์ฟแวร์
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ-การจัดการระบบสารสนเทศ
  • สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ (หลักสูตรภาษาจีน)
  • สาขาวิชา การบริหาร ธุรกิจระหว่างประเทศ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ)[7]

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

  • สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม
  • สาขาวิชาการจัดการทั่วไป
  • สาขาวิชาการบัญชี (หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต)
วิทยาลัยเพาะช่าง

หลักสูตรศิลปบัณฑิต 4 ปีปกติ

  • สาขาวิชาเครื่องปั้นดินเผา
  • สาขาวิชาเรื่องโลหะและรูปพรรณอัญมณี
  • สาขาวิชาจิตรกรรม
  • สาขาวิชาประติมากรรม
  • สาขาวิชาศิลปะไทย
  • สาขาวิชาศิลปะภาพพิมพ์
  • สาขาวิชาหัตถกรรม
  • สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์
  • สาขาวิชาออกแบบภายใน
  • สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์
  • สาขาวิชาศิลปการถ่ายภาพ

หลักสูตรศิลปบัณฑิต 2 ปีต่อเนื่อง

  • สาขาวิชาเรื่องโลหะและรูปพรรณอัญมณี
  • สาขาวิชาศิลปะไทย
  • สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์
คณะศิลปศาสตร์

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
  • สาขาวิชาภาษาจีน
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล
  • สาขาวิชาภาษาไทยธุรกิจ (หลักสูตรนานาชาติ)
คณะอุตสาหกรรมการโรงแรมและการท่องเที่ยว

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต

  • สาขาวิชาการท่องเที่ยว
  • สาขาวิชาการโรงแรม
คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี

หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตร์บัณฑิต

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอุตสาหการ
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศกรรมไฟฟ้า
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมการออกแบบแม่พิมพ์

หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
วิทยาลัยพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนรัตนโกสินทร์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต

  • สาขาเทคโนโลยีและการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน หลักสูตร 1 ปี 4 เดือน

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

  • สาขาเทคโนโลยีและการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน หลักสูตร 2 ปี
วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ

หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต

  • Doctor of Business Administration (D.B.A.) หลักสูตร 3 ปี

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต เก็บถาวร 2015-07-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

  • Master of Business Administration (M.B.A.) หลักสูตร 2 ปี

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต[ลิงก์เสีย]

  • Doctor of Public Administration (D.P.A.) หลักสูตร 2 ปี ครึ่ง

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต เก็บถาวร 2015-07-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

  • Master of Public Administration (M.P.A.) หลักสูตร 1 ปี ครึ่ง

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต และรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต เก็บถาวร 2015-07-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

  • Master of Public Administration and Doctor of Public Administration (M.P.A. - D.P.A.) หลักสูตร 3 ปีครึ่ง
วิทยาลัยผู้ประกอบการสร้างสรรค์นานาชาติรัตนโกสินทร์ ปริญญาตรี นานาชาติ (Double Degree)
  • Bachelor of Technology in Culinary Entrepreneurship Innovation +Bachelor of Digital Business Administration and Communication European Communication School Government of France
  • Bachelor of Management in Creative Industry Entrepreneurship (specialize in fashion design or product design) +Double degree with Campus d’excellence des métiers d’arts et du design, Paris, France

ปริญญาตรี นานาชาติ

  • Bachelor of Business Administration in International Creative Industry Entrepreneurship (หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการเป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสร้างสรรค์สากล)
  • Bachelor of Education Program in Teaching English to Speakers of Other Languages (International Program) -TESOL

ปริญญาโท นานาชาติ

  • Master of Management in Creative Industries Management (หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมสร้างสรรค์)

ปริญญาเอก นานาชาติ

  • Doctor of Philosophy in Management (หลักสูตรบริหารปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการ)

อ้างอิง

แก้
  1. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง จัดตั้งวิทยาเขตสังกัดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
  2. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดภาพเครื่องหมายราชการตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พุทธศักราช ๒๔๘๒ (ฉบับที่ ๑๑๔) สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล
  3. ประกาศวำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล จำนวน 9 ราย เก็บถาวร 2015-06-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนราชกิจานุเบกษา เล่ม 122 ตอน 88ง วันที่ 20 ตุลาคม 2548
  4. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  5. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-19. สืบค้นเมื่อ 2022-04-19.
  6. กฎกระทรวงจัดตั้งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๕๖
  7. https://bua.rmutr.ac.th/

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้