จรัล กุลละวณิชย์
พลเอก จรัล กุลละวณิชย์ นักการเมืองและทหารบกชาวไทย อดีตรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่ 1[1] อดีตราชองครักษ์พิเศษ[2] อดีตสมาชิกวุฒิสภา และอดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์และประธานกรรมการ บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน)
จรัล กุลละวณิชย์ | |
---|---|
รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่ 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 11 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 20 มกราคม พ.ศ. 2551 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2479 กรุงเทพฯ ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | น่ารัก กุลละวณิชย์ |
ประวัติ
แก้จรัล เกิดเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2479 เป็นบุตรของ จวน กุลละวณิชย์ และเป็นน้องชายของ พิจิตร กุลละวณิชย์ อดีตองคมนตรี สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
การทำงาน
แก้จรัล เคยดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ในปี พ.ศ. 2522 และ พ.ศ. 2523 เคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ในปี พ.ศ. 2534 - 2535 เป็นสมาชิกวุฒิสภาแบบแต่งตั้ง ในปี พ.ศ. 2539[3]
ในปี พ.ศ. 2549 ภายหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 จรัล ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่ 1 ปัจจุบัน จรัลดำรงตำแหน่ง นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[6]
- พ.ศ. 2516 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
อ้างอิง
แก้- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งประธานและรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (นายมีชัย ฤชุพันธุ์ พลเอก จรัล กุลละวณิชย์ นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช)
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/092/T_0001.PDF
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา (แต่งตั้งขึ้นใหม่ทั้งคณะ จำนวน 260 ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๑, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๖