มรรคมีองค์แปด
หลักคำสอนในศาสนาพุทธ
(เปลี่ยนทางจาก มรรค 8)
มรรค (สันสกฤต: มรฺค; บาลี: มคฺค) คือ หนทางสู่ความดับทุกข์ เรียกอีกอย่างว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา[1] (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์) ประกอบด้วยองค์ประกอบ 8 ประการ เป็นหนึ่งในอริยสัจ 4
เนื้อหาแก้ไข
ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พระพุทธเจ้าตรัสว่าอริยมรรคมีองค์ 8 หรือ อัษฎางคิกมรรคนี้เป็นทางสายกลาง[2] คือเป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้น[3]
ตามวิภังคสูตร พระพุทธเจ้าทรงอธิบายรายละเอียดไว้ดังนี้[4]
- สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นที่ถูกต้อง) หมายถึง ความรู้ในอริยสัจ 4
- สัมมาสังกัปปะ (ความคิดที่ถูกต้อง) หมายถึง ความคิดในการออกจากกาม ความไม่พยาบาท และการไม่เบียดเบียน
- สัมมาวาจา (วาจาที่ถูกต้อง) หมายถึง การเว้นจากการพูดเท็จ หยาบคาย ส่อเสียด และเพ้อเจ้อ
- สัมมากัมมันตะ (การปฏิบัติที่ถูกต้อง) หมายถึง เจตนาละเว้นจากการฆ่า การเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้ และการประพฤติผิดในกาม
- สัมมาอาชีวะ (การหาเลี้ยงชีพที่ถูกต้อง) หมายถึง การเว้นจากมิจฉาชีพ
- สัมมาวายามะ (ความเพียรที่ถูกต้อง) หมายถึง สัมมัปปธาน 4 คือ ความพยายามป้องกันอกุศลที่ยังไม่เกิด ละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ทำกุศลที่ยังไม่เกิด และดำรงรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
- สัมมาสติ (การมีสติที่ถูกต้อง) หมายถึง สติปัฏฐาน 4
- สัมมาสมาธิ (การมีสมาธิที่ถูกต้อง) หมายถึง ฌาน 4
ในจูฬเวทัลลสูตร พระพุทธเจ้าทรงจัดสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ เข้าในสีลขันธ์ ทรงจัดสัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ ทรงจัดเข้าในสมาธิขันธ์ และทรงจัดสัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ เข้าในเป็นปัญญาขันธ์[5]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556. 1,544 หน้า. หน้า 575. ISBN 978-616-7073-80-4
- ↑ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร, พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
- ↑ พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต), มรรคมีองค์ 8, พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
- ↑ วิภังคสูตร, พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
- ↑ จูฬเวทัลลสูตร, พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
เสียงพระสวดมนต์แปลบาลี-ไทย (หนทางดำเนินให้ถึงซึ่งความดับทุกข์) | |
หากมีปัญหาในการเล่นไฟล์นี้ ดูที่ วิธีใช้สื่อ |
บทความเกี่ยวกับศาสนาพุทธนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:พระพุทธศาสนา |