หม่อมเจ้าภูริพันธ์ ยุคล
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
เรืออากาศโท หม่อมเจ้าภูริพันธ์ ยุคล (7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2477 – 20 เมษายน พ.ศ. 2557) เป็นพระโอรสในพลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล ประสูติแต่หม่อมบุญล้อม ยุคล ณ อยุธยา
หม่อมเจ้าภูริพันธ์ ยุคล | |
---|---|
ประสูติ | 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2477 |
สิ้นชีพตักษัย | 20 เมษายน พ.ศ. 2557 (79 ปี) |
หม่อม | หม่อมนิติมา ยุคล ณ อยุธยา |
ราชสกุล | ยุคล |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล |
พระมารดา | บุญล้อม ฐานะวร |
รับใช้ | กองทัพอากาศไทย |
---|---|
ชั้นยศ | เรืออากาศโท |
พระประวัติ
แก้เรืออากาศโท หม่อมเจ้าภูริพันธ์ ยุคล มีพระนามลำลองว่า "ท่านชายเป๋อ" ประสูติเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2477 เป็นพระโอรสในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล ประสูติแต่บุญล้อม ฐานะวร มีภราดาและภคินีร่วมพระบิดาเดียวกันห้าองค์ ได้แก่
- ท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี กิติยากร (ท่านหญิงปิ๋ม; ประสูติ 24 กันยายน พ.ศ. 2476; พระมารดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ)
- หม่อมเจ้าฐิติพันธุ์ ยุคล (ท่านชายกบ; 11 ตุลาคม พ.ศ. 2478 - 27 สิงหาคม พ.ศ. 2538)
- คุณหญิงรังษีนภดล ยุคล (ท่านหญิงอ๋อย; 2 ตุลาคม พ.ศ. 2480 - 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2560)
- พันโท หม่อมเจ้านวพรรษ์ ยุคล (ท่านชายปีใหม่; ประสูติ 1 มกราคม พ.ศ. 2521)
- ภานุมา พิพิธโภคา (ท่านหญิงหญิง; ประสูติ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2524)
ทรงพี่น้องร่วมมารดาเดียวกัน ได้แก่
แก้- นายปรารถนา รักธรรม (ถึงแก่กรรม)
- จ่าเอกสถาพร ฐานะวร (ถึงแก่กรรม)
- พลอากาศเอกสงคราม ฐานะวร อดีตผู้บังคับการกองบิน 46 และอดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด
- นายกำธร ฐานะวร
- นายยันชัย ฐานะวร
- นายไตรยาวุธ ฐานะวร
- นางสุกัญญา สารภา
เมื่อหม่อมเจ้าภูริพันธ์มีชันษาได้ 2 เดือน พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล พระอัยยิกาฝ่ายพระบิดา ได้ทรงชุบเลี้ยงไว้และประทานพระนามว่า "ภูริพันธ์" เพื่อให้พ้องกับพระนามของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูมินทรภักดี และประทานพระนามลำลองว่า "ท่านเป๋อ" จนกระทั่งชันษาได้ 16 ปี จึงได้กลับไปอยู่ในความดูแลของพระบิดา
การศึกษาและการทรงงาน
แก้เมื่อเยาว์วัยทรงศึกษาที่โรงเรียนอัสสัมชัญ, โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย, โรงเรียนการบินกองทัพอากาศ ทรงรับราชการเป็นนักบินของกองทัพอากาศในตำแหน่งนักบินประจำกองบินต่าง ๆ จากนั้นเสด็จไปศึกษาที่โรงเรียนนายทหารอากาศอังกฤษ เจอบี้ ประเทศอังกฤษ (RAF Officer Training Unit, Jurby, United Kingdom) เสด็จกลับมาทรงรับราชการต่อในตำแหน่งนักบิน ตำแหน่งสุดท้ายคือนักบินประจำกองบิน 1 ฝูงบินที่ 11 ทรงลาออกจากราชการเพื่อปฏิบัติหน้าที่นักบินรบให้กับหน่วยบินไฟร์ฟลาย จากนั้นทรงปฏิบัติหน้าที่นักบินให้กับบริษัทคอนติเนนเติล แอร์ เซอร์วิส และบริษัทแอร์สยาม จำกัด จากนั้นทรงย้ายไปประทับ ณ ประเทศสิงคโปร์ เพื่อทรงปฏิบัติหน้าที่นักบินให้กับบริษัทสิงคโปร์แอร์ไลน์ จนกระทั่งเกษียณอายุงาน
ครอบครัว
แก้หม่อมเจ้าภูริพันธ์เสกสมรสกับหม่อมนิติมา ยุคล ณ อยุธยา (สกุลเดิม ยนเปี่ยม) มีโอรสสองคน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์อัครินทร์ ยุคล สมรสกับ ศยามล ยุคล ณ อยุธยา (สกุลเดิม กุลพิจิตร) มีบุตร-ธิดา 3 คน
- หม่อมหลวงสายสวลี ยุคล
- หม่อมหลวงอธิวัตน์ ยุคล
- หม่อมหลวงสิริสวลี ยุคล
- เรืออากาศโท หม่อมราชวงศ์ทักขิญ ยุคล กัปตันบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) สมรสกับ แพทย์หญิง ลัญจพร ยุคล ณ อยุธยา (ราชสกุลเดิม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) มีบุตร-ธิดา 2 คน
- หม่อมหลวงนิภาภิรมย์ ยุคล
- หม่อมหลวงภูริ ยุคล
อุบัติเหตุและการถึงชีพิตักษัย
แก้เรืออากาศโท หม่อมเจ้าภูริพันธ์ ยุคล ทรงประสบอุบัติเหตุรถยนต์ที่นั่งชนต้นไม้ เมื่อบ่ายวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2557 เข้าพักรักษาองค์ที่ห้องผู้ป่วยขั้นวิกฤติ (ICU) โรงพยาบาลศิริราช กระทั่งวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2557 เวลา 03.13 น. ถึงชีพิตักษัยด้วยอาการติดเชื้อในกระแสโลหิต สิริชันษา 79 ปี
วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2557 เวลา 17.00 น. พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำหลวงสรงศพ และพระราชทานพระโกศราชวงศ์ พร้อมเครื่องสูงทองแผ่ลวดตั้งประกอบเป็นเกียรติยศ ทั้งยังทรงพระราชทานพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมศพ มีกำหนด 7 คืน ตั้งแต่วันที่ 21 ถึง 27 เมษายน พ.ศ. 2557 ณ ศาลากวีนิรมิต (ศาลากลางน้ำ) วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร
วันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2557 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ บำเพ็ญพระราชกุศล 7 วัน พระราชทานศพ
วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2561 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ เสด็จแทนพระองค์ไปในการพระราชทานเพลิงศพเรืออากาศโท หม่อมเจ้าภูริพันธ์ ยุคล ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร[1]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
- พ.ศ. 2518 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[4]
- พ.ศ. 2515 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[5]
- พ.ศ. 2518 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
- พ.ศ. 2514 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 5 (ภ.ป.ร.5)[6]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของหม่อมเจ้าภูริพันธ์ ยุคล | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวในพระราชสำนัก วันอาทิตย์ที่ ๒๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เล่ม 135 ตอนที่ 36 ข, 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561, หน้า 35
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๑, ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๒๕๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๑๒ ธันวาคม ๒๕๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๙ ตอนที่ ๕๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๗, ๒๙ มีนาคม ๒๕๑๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เล่ม ๘๘ ตอนที ๑๒๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘, ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๑๔