หม่อมเจ้าพิศิษฐ์ดิศพงษ์ ดิศกุล
พลโท หม่อมเจ้าพิศิษฐ์ดิศพงษ์ ดิศกุล (9 สิงหาคม พ.ศ. 2448 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2509) ประสูติเมื่อวันพุธ แรม 1 ค่ำ เดือน 9 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2448 ณ วังสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เชิงสะพานดำรงสถิตย์ ตำบลสามยอด จังหวัดพระนคร เป็นพระโอรสลำดับที่ 20 ในพลเอกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ประสูติในหม่อมลำดวน วสันต์สิงห์
หม่อมเจ้าพิศิษฐ์ดิศพงษ์ ดิศกุล | |
---|---|
หม่อมเจ้า ชั้น 4 | |
ผู้บัญชาการทหารไทย ทำการร่วมรบกับสหประชาชาติ ในกรณีสงครามเกาหลี | |
ดำรงตำแหน่ง | 14 ตุลาคม 2493[1] - 11 พฤษภาคม 2494[2] |
หม่อม | หม่อมสวาสดิ์ ดิศกุล ณ อยุธยา |
บุตร | 6 คน |
ราชสกุล | ดิศกุล |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ |
พระมารดา | หม่อมลำดวน ดิศกุล ณ อยุธยา |
ประสูติ | 9 สิงหาคม พ.ศ. 2448 |
ชีพิตักษัย | 31 มีนาคม พ.ศ. 2509 (60 ปี) |
หม่อมเจ้าพิสิษฐดิศพงษ์ ดิศกุล มีพระขนิษฐาร่วมพระมารดาคือ หม่อมเจ้าพัฒนายุคุณวรรณ หม่อมเจ้าสิวลีวิลาศ, หม่อมเจ้าทักษิณาธร และหม่อมเจ้าสุมณีนงเยาว์
หม่อมเจ้าพิสิษฐดิศพงษ์ ดิศกุล เสกสมรสกับ หม่อมสวาสดิ์ ดิศกุล ณ อยุธยา (เกตุทัต) ธิดา พระยาเวียงไนยนฤบาล และคุณหญิงเลื่อน เวียงไนยนฤบาล (จามรมาน) มีบุตรธิดาด้วยกัน 6 คน คือ
- พลโท หม่อมราชวงศ์พงษ์ดิศ ดิศกุล (18 มกราคม พ.ศ. 2469 - 29 มีนาคม พ.ศ. 2537) สมรสกับ นางอุษณีย์ ดิศกุล ณ อยุธยา (ทองเนื้อดี)
- พันตำรวจเอก หม่อมราชวงศ์พิสิฐพงศ์ ดิศกุล
- พันเอก หม่อมราชวงศ์พิพัฒนดิศ ดิศกุล สมรสกับ หม่อมเจ้าหญิง เฟื่องฉัตร ฉัตรไชย
- หม่อมราชวงศ์พัฒนาดิศ คชาชีวะ
- หม่อมราชวงศ์พิศวาท นาควานิช
- หม่อมราชวงศ์ประสาสน์ศรี ดิศกุล (กุญชร)
การศึกษาแก้ไข
เบื้องต้นได้ทรงเข้าศึกษาชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และต่อมาเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2457 ได้ทรงเข้าศึกษาในโรงเรียนนายร้อยทหารบก ขึ้นทะเบียนทหารกองประจำการ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2466 สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบก ชั้นมัธยม 2 เมื่อ พ.ศ. 2467
การทำงานแก้ไข
พลโท หม่อมเจ้าพิสิษฐดิศพงษ์ ดิศกุล เคยดำรงตำแหน่งในคณะทูตทหารบก ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารไทย ทำการร่วมรบกับสหประชาชาติ ในกรณีสงครามเกาหลี เมื่อปี 2493[1] และเคยดำรงตำแหน่งเจ้ากรมข่าวทหารบก ระหว่างปี 2489 - 2490, ผู้บัญชาการเสนาธิการทหารบก ในปี พ.ศ. 2495 สุดท้ายดำรงตำแหน่งราชองครักษ์พิเศษ
ในปี พ.ศ. 2485 เมื่อครั้งมียศนายพันโท หม่อมเจ้าพิสิษฐ์ดิศพงษ์ ดิศกุล ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการควบคุมและจัดการกิจการหรือทรัพย์สินของคนต่างด้าวในภาวะคับขัน
พลโท หม่อมเจ้าพิศิษฐ์ดิศพงษ์ ดิศกุล | |
---|---|
ชั้นยศ | พลโท |
ชีพิตักษัยแก้ไข
พลโท หม่อมเจ้าพิสิษฐดิศพงษ์ ดิศกุล สิ้นชีพิตักษัยเมื่อ 31 มีนาคม พ.ศ. 2509[3] พระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส ในพ.ศ. 2509
พระเกียรติยศแก้ไข
ธรรมเนียมพระยศของ พลโท หม่อมเจ้าพิศิษฐ์ดิศพงษ์ ดิศกุล | |
---|---|
การทูล | ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | กระหม่อม/หม่อมฉัน |
การขานรับ | กระหม่อม/เพคะ |
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
ไทยแก้ไข
- พ.ศ. 2505 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2500 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2495 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[6]
- พ.ศ. 2474 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 ชั้นที่ 4 (ป.ป.ร.4)
- พ.ศ. 2489 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 3 (อ.ป.ร.3)
- พ.ศ. 2497 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[7]
- พ.ศ. 2495 – เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี (ช.ส.)[8]
- พ.ศ. 2477 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[9]
- พ.ศ. 2497 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[10]
- พ.ศ. 2483 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
ต่างประเทศแก้ไข
- ญี่ปุ่น :
พ.ศ. 2486 - เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงคลรัตน์ ชั้นที่ 3 [11]
- สหรัฐ :
พ.ศ. 2494 - เครื่องรัฐอิสริยาภรณ์อันมหากุศลแห่งกองยุทธาธิการ ชั้นนายทหาร [12]
พ.ศ. 2495 - เหรียญสหประชาชาติเกาหลี [13]
- พม่า :
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ 1.0 1.1 ราชกิจจานุเบกษา 24 ตุลาคม 2493 ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งผู้บัญชาการทหารไทยทำการร่วมรบกับสหประชาชาติในกรณีสงครามเกาหลีhttp://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2493/D/058/5260.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2494/D/032/2177.PDF
- ↑ ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. ISBN 974-221-818-8
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษ หน้า ๑๘ เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๓, ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๖
- ↑ แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๑๐๗ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๐ หน้า ๒๙๙๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หน้า ๑๒๘๗ เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๒๙, ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๕
- ↑ ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3) ราชกิจจานุเบกษา 1 มิถุนายน 2497 เล่มที่ 71 ตอนที่ 35://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2497/D/035/1340.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ หน้า ๑๘๘๘ เล่ม ๖๙ ตอนที่ ๔๑, ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ หน้า ๒๐๘๑ เล่ม ๕๑, ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๗
- ↑ พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา ฉบับพิเศษ หน้า 317 เล่ม 71 ตอนที่ 87 ราชกิจจานุเบกษา 29 ธันวาคม 2497
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2486/D/047/2917.PDF
- ↑ แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ ตอนที่ 67 เล่ม 68 ราชกิจจานุเบกษา 6 พฤศจิกายน 2494 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2494/D/067/5188.PDF
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเหรียญปฏิบัติงานสหประชาชาติhttp://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2495/D/051/2571_1.PDF