รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534
รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 บางครั้งเรียกว่า เหตุการณ์ รสช. เป็นการรัฐประหารโดยกลุ่มนายทหารที่ได้ทำการยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือนที่นำโดยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ภายใต้การนำของพลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ต่อมาในเดือนพฤษภาคม 2535 กองทัพได้ปราบปรามผู้ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยอย่างรุนแรง เหตุการณ์นี้ถูกเรียกว่า 'พฤษภาทมิฬ'
รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534 | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ พฤษภาทมิฬ | |||||||
พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ
|
| ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ | พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ |
เบื้องหลัง
แก้พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ วางมือทางการเมืองหลังจากดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 8 ปีในปี 2531 พร้อมกับวาทะอันเป็นตำนานที่ว่า "ผมพอแล้ว" พลเอกเปรมปราบกบฏ 2 ครั้งในช่วงการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคือกบฏยังเติร์ก และกบฏทหารนอกราชการ ก่อนจะวางมือพลเอกเปรมได้ปรึกษากับพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ผู้บัญชาการทหารบกและรักษาราชการแทนผู้บัญชาการทหารสูงสุดเลือกพลตรีชาติชาย ชุณหะวัณ หัวหน้าพรรคชาติไทยซึ่งมี ส.ส. มากที่สุดในสภาหลังจากการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2531 เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2531 ให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่โดยได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2531[1] ทำให้พลตรีชาติชายกลายเป็นนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งคนแรกในรอบ 12 ปี นับตั้งแต่ประเทศไทยอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการและประชาธิปไตยครึ่งใบ
ก่อนการรัฐประหาร
แก้ในวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2533 พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ซึ่งลาออกจากราชการก่อนกำหนดได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพลเอกชาติชาย กลุ่มนายทหารชั้นผู้ใหญ่ที่จบจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ 5 โดยเฉพาะพลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก และพลอากาศเอกเกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับพลเอกชาติชาย
ต่อมาในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2533 เวลา 13:00 น. กองบัญชาการทหารสูงสุดแถลงการณ์ยึดรถโมบายยูนิตขององค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ซึ่งจอดอยู่บริเวณวัดไผ่เลี้ยง เขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร เพราะต้องสงสัยทำให้ระบบสื่อสารของทหารถูกรบกวน เมื่อองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ได้ขอทวงรถคืน แต่ถูกปฏิเสธจากพลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย จึงได้ให้สัมภาษณ์โจมตีพลเอกสุนทร เมื่อมีข่าวแพร่ออกไปว่าพรรคมวลชนทำหนังสือถึงสมาชิกให้เดินทางมาชุมนุมที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อให้กำลังใจร้อยตำรวจเอก เฉลิม พลเอก สุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบกได้อาศัยอำนาจของผู้อำนวยการรักษาพระนคร ออกคำสั่งที่ 43/2533 ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2519 ห้ามชุมนุมที่ทำเนียบรัฐบาล พลเอกชวลิตจึงลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรองนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน[2]
พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศจะนำ พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก อดีตผู้บัญชาการทหารบก และรองนายกรัฐมนตรี เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอีกตำแหน่ง ณ พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 เวลา 13.00 น.
ในคืนวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก รับประทานอาหารค่ำที่โรงแรมโอเรียนเต็ลห้องใกล้กับที่ พลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบกและนายทหารระดับสูงจำนวนหนึ่งรับประทานอาหารอยู่ในขณะที่ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ พักผ่อนอยู่ที่บ้านพักในซอยราชครู (พหลโยธินซอย 5)
ต่อมาเวลาประมาณ 24.00 น. วิทยุข่ายสามยอดของกองปราบรายงานว่า "ป.๑" อันหมายถึง พลตำรวจตรี เสรี เตมียเวส (ปัจจุบันคือ พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส) ผู้บังคับการกองปราบในขณะนั้นได้เดินทางถึงหน่วยคอมมานโด ที่ซอยโชคชัย 4 ลาดพร้าว และสั่งให้กองปราบ "เตรียมพร้อม" เพราะมีข่าวว่าอาจจะมีการปฏิวัติเกิดขึ้น
ในเวลา 04.30 น. นายเวรของ พลตำรวจตรี เสรี เตมียเวส ได้แจ้งยกเลิกการเตรียมดังกล่าวภายหลังจากที่มีการตรวจสอบว่าไม่มีการเคลื่อนกำลังของหน่วยใด
สำหรับการเคลื่อนไหวของบุคคลต่าง ๆ ในคืนนั้น นอกจาก พลอากาศเอก เกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศที่เดินทางกลับจากราชการที่ประเทศเกาหลีใต้แล้วล้วนอยู่ในสภาพปกติทั้งสิ้น
กระทั่งเวลา 06.00 น. ของวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ทุกอย่างยังอยู่ในความสงบ เป็นเวลา 5 ชั่วโมง
การรัฐประหาร
แก้เดิมทีทหารได้เตรียมการจะจับตัว พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ และ พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก ที่สนามบินกองทัพอากาศ (บน.6) ในเวลา 19.30 น. หลังจากการเข้าเฝ้า พร้อมกับการเคลื่อนกำลังทหารเข้ายึดจุดสำคัญทั่วกรุงเทพมหานคร แต่แผนกลับเปลี่ยนแปลงในเช้าวันนั้น ซึ่งนายทหารที่ร่วมปฏิบัติการส่วนใหญ่เป็นทหารอากาศ
เวลา 11.00 น. พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก เดินทางถึงห้องรับรองพร้อมหน่วยรักษาความปลอดภัยประมาณ 20 นาย ก่อนที่จะขึ้นเครื่องบิน ซี 130 ที่จอดพร้อมอยู่แล้ว ซึ่งนายกรัฐมนตรี พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ พลเอก อาทิตย์ กำลังเอก นายอนันต์ อนันตกูล เลขาธิการคณะรัฐมนตรีและปลัดกระทรวงมหาดไทยนั่งบริเวณที่นั่งวีไอพี ส่วนหน่วย รปภ. ถูกแยกไปอยู่ตอนท้ายของเครื่อง
ทันทีที่เครื่องซี 130 เคลื่อนตัว ทหารสองนายในชุดซาฟารีสีน้ำตาลก็กระชากปืนจากเอวควบคุม รปภ. ทั้ง 20 คนเอาไว้ พร้อม ๆ กับที่เครื่องบินลดความเร็วลงและ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ อยู่ในสภาพถูกควบคุมตัวเรียบร้อย ขณะที่การปฏิบัติการเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ทหารบกจำนวนสองพันก็เคลื่อนออกประจำจุดต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ พลอากาศ เอกเกษตร โรจนนิล ออกจากกองทัพอากาศ สมทบกับ พลเอก สุจินดา คราประยูร พลเรือเอก ประพัฒน์ กฤษณจันทร์ ผู้บัญชาการทหารเรือ และ พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดออกแถลงการณ์กับประชาชน
การยึดทรัพย์นักการเมือง
แก้เราเห็นว่าระบอบนี้ ถ้าจะดำเนินการต่อไปนั้น บ้านเมืองก็จะมีแต่ความล่มจม เพราะว่าทุกพรรคหรือนักการเมืองที่เข้ามา ต่างคนต่างฝ่ายก็มุ่งหน้าหาเงินเข้าพรรค เพื่อจะใช้ในการเลือกตั้ง เพื่อจะเอาชนะในการเลือกตั้ง จนมีคำกล่าวกันว่าคณะรัฐมนตรีแบบที่เป็นอยู่นั้น เขาเรียกว่า "บุฟเฟต์ คาบิเน็ต" คือเข้ามาเพื่อแย่งกันกิน
พลเอก สุจินดา คราประยูรซึ่งเป็นผู้มีบทบาทมากที่สุดในครั้งนั้นกล่าวกับบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ทุกฉบับในเช้าวันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534
รุ่งขึ้น "ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับที่ 26" ลงนามโดย พลเอก สุนทร คงสมพงษ์ ก็ปรากฏออกมา แต่งตั้ง ให้ พลเอก สิทธิ จิรโรจน์ อดีตรัฐมนตรีว่ากระทรวงมหาดไทยเป็นประธานกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน มีนายสุธี อากาศฤกษ์ นายมงคล เปาอินทร์ นายไพศาล กุมาลย์วิสัย นายสุชาติ ไตรประสิทธิ์ พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ และนายชัยเชต สุนทรพิพิธ ร่วมเป็นกรรมการ ให้อำนาจในการอายัดและห้ามจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินของนักการเมืองที่มีพฤติกรรมอันอาจส่อแสดงว่ามีทรัพย์สินร่ำรวยผิดปรกติ
รัฐมนตรีที่ถูกประกาศอายัดทรัพย์
แก้พรรคชาติไทย 12 คน
แก้- พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัน (นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม)
- พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย)
- นายเสนาะ เทียนทอง (เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง)
- นายกร ทัพพะรังสี
- นายสมาน ภุมมะกาญจนะ
- นายชูชีพ หาญสวัสดิ์
- นายอุดมศักดิ์ ทั่งทอง
- นายสุชน ชามพูนท
- นายเดช บุญหลง (รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
- นายประมวล สภาวสุ
- นายบรรหาร ศิลปอาชา
- นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ (ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี)
พรรคกิจสังคม 5 คน
แก้- นายมนตรี พงษ์พานิช
- นายสุบิน ปิ่นขยัน
- นายไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์
- นายสันติ ชัยวิรัตนะ
- นายภิญญา ช่วยปลอด
พรรคประชาธิปัตย์ 3 คน
แก้พรรคประชากรไทย 1 คน
แก้พรรคเอกภาพ 1 คน
แก้พร้อมๆ กันนั้น มีความเคลื่อนไหวทาง นาวาอากาศ ตรีฐิติ นาครทรรพ อดีตนายทหารอากาศที่สนิทสนมกับ พลอากาศเอก เกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศประกาศจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ ในช่วงแรกเรียกกันติดปากว่า “พรรคทหาร” กระทั่งได้ชื่อว่า “พรรคสามัคคีธรรม” ในที่สุดในทันทีที่นายณรงค์ วงศ์วรรณพ้นจากการถูกอายัดทรัพย์ ก็ได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม
ไม่เพียงแต่พรรคเอกภาพเท่านั้นที่สูญเสียหัวหน้าพรรค ในส่วนของพรรคชาติไทย พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ก็ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคและสมาชิกพรรคชาติไทยเช่นกัน และโดยการดำเนินการทางการเมือง พลอากาศเอก สมบุญ ระหงษ์ ผู้อำนวยการการท่าอากาศยานฯ อดีตนายทหารอากาศก็ได้รับเชิญให้ดำรงตำแหน่งแทน ขณะที่พรรคกิจสังคมเปิดตำแหน่งเลขาธิการพรรคให้แก่ พลโท เขษม ไกรสรรณ์ เพื่อนร่วมโรงเรียนอำนวยศิลป์ของ พลเอก สุจินดา คราประยูร และรัฐมนตรีที่ได้รับการปล่อยตัวจากประกาศยึดทรัพย์ก็สมัครเป็นสมาชิกพรรคสามัคคีธรรมโดยพร้อมเพรียง ทั้งนายประมวล สภาวสุ นายไชยศิริ เรืองกาญจนเศรษฐ์และนายสันติ ชัยวิรัตนะ
ผลการตรวจสอบทรัพย์สิน นักการเมือง 10 คนซึ่งยังมีคดี “ร่ำรวยผิดปกติ” อยู่ในระหว่างการพิจารณา ประกอบด้วย พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์ นายเสนาะ เทียนทอง นายวัฒนา อัศวเหม พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร นายภิญญา ช่วยปลอด นายสุบิน ปิ่นขยัน นายมนตรี พงษ์พานิช นายประมวล สภาวสุ และ ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง[3][4]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้การอ้างอิง
แก้- ↑ Tamada 1995, p. 331.
- ↑ Tamada 1995, p. 332.
- ↑ กองบรรณาธิการมติชน. 289 ข่าวดัง 3 ทศวรรษหนังสือพิมพ์มติชน พ.ศ. 2521-2549. กรุงเทพฯ : มติชน, 2549. 424 หน้า. ISBN 974-323-889-1
- ↑ กองบรรณาธิการมติชน. รัฐประหาร 19 กันยา '49 เรียบแต่ลึก. กรุงเทพฯ : มติชน, 2549. ISBN 947-323-851-4
แหล่งข้อมูล
แก้- แถลงการณ์คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ: คำชี้แจงเหตุผลยึดอำนาจ, 23 February 1991 (in Thai) เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Magistad, Mary Kay (24 February 1991a). "Thailand's Civilian Premier Overthrown In Military Coup". Washington Post.
- Magistad, Mary Kay (27 February 1991b). "Thai King Approves Army's Coup". Washington Post.
- Tamada, Yoshifumi (1995). "Coups in Thailand, 1980-1991:". Japanese Journal of Southeast Asian Studies. Kyoto: Kyoto University. 33 (3): 317–339. doi:10.20495/tak.33.3_317.