ปกรณ์ บูรณุปกรณ์

ปกรณ์ บูรณุปกรณ์ (5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501 - 1 กันยายน พ.ศ. 2556) ชื่อเล่น ตุ๊ อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ และอดีตนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่

ปกรณ์ บูรณุปกรณ์
นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2541 – พ.ศ. 2542
ก่อนหน้าบุษบา ยอดบางเตย
ดำรงตำแหน่ง
4 มกราคม พ.ศ. 2543 – 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543
ถัดไปบุญเลิศ บูรณุปกรณ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501
อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
เสียชีวิต1 กันยายน พ.ศ. 2556 (54 ปี)
โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองไทยรักไทย (2541–2550)
เพื่อไทย (2555–2556)

ประวัติ

แก้

ปกรณ์ เกิดวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501 ที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่[1]

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และระดับปริญญาโท สาขารัฐศาสตร์การเมืองการปกครอง จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

การทำงาน

แก้

นายปกรณ์ เคยเป็นนักการเมืองท้องถิ่น ได้รับแต่งตั้งเป็นเทศมนตรีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 ถึงปี พ.ศ. 2540 และเป็นนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ 2 สมัย ในระหว่างปี พ.ศ. 2541 ถึงปี พ.ศ. 2543 เขามีผลงานที่สำคัญคือ การผลักดันถนนคนเดินบริเวณถนนราชดำเนิน[2] จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นถนนคนเดินสายหลักของจังหวัดเชียงใหม่จนถึงปัจจุบัน จากนั้นได้สมัครเข้าร่วมงานการเมืองกับพรรคชาติพัฒนา แต่ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคไทยรักไทย และได้ชัยชนะในการเลือกตั้ง ด้วยคะแนนกว่าสามหมื่นสามพันคะแนน เอาชนะนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล จากพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งได้คะแนนสองหมื่นห้าพันคะแนนเศษ[3]

ในปี พ.ศ. 2549 นายปกรณ์ เป็นหนึ่งในกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี และเข้ามามีบทบาททางการเมืองอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2555 โดยสมัครเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 และเป็นนักการเมืองคนหนึ่งที่สื่อมวลชนให้ความสนใจว่าอาจจะเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรี ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แต่ในที่สุดเขาไม่ได้เข้ารับตำแหน่งแต่อย่างใด[4]

ถึงแก่กรรม

แก้

นายปกรณ์ เสียชีวิตเมื่อช่วงเช้ามืดของวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556 จากอาการแทรกซ้อน หลังเข้ารับการผ่าตัดบายพาสหัวใจที่ โรงพยาบาลศิริราช สิริอายุรวม 54 ปี [5] โดยมีพิธีพระราชทานเพลิงศพ ในวันที่ 8 กันยายนของปีเดียวกัน ณ สุสานสันกู่เหล็ก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
  2. นักศึกษาเก่าดีเด่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  3. http://www.kpi.ac.th/media_kpiacth/pdf/M8_34.pdf
  4. ช็อก!โรคหัวใจคร่า 'ปกรณ์ บูรณุปกรณ์' อดีต ส.ส.เชียงใหม่
  5. ปกรณ์ บูรณุปกรณ์ อดีต สส.เชียงใหม่เสียชีวิต
  6. ชาวเชียงใหม่ แห่ร่วมพิธีพระราชทานเพลิงศพอดีต ส.ส."ปกรณ์"คับคั่ง
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๓๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๖๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕