บุญเลิศ บูรณุปกรณ์

บุญเลิศ บูรณุปกรณ์ (เกิด 15 ตุลาคม พ.ศ. 2499) อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ อดีตนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่

บุญเลิศ บูรณุปกรณ์
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่
ดำรงตำแหน่ง
3 มิถุนายน พ.ศ. 2551 – 26 ตุลาคม พ.ศ. 2563
ก่อนหน้าธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่
ถัดไปพิชัย เลิศพงศ์อดิศร
นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่
ดำรงตำแหน่ง
พฤษภาคม พ.ศ. 2543 – 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
ก่อนหน้าปกรณ์ บูรณุปกรณ์
ถัดไปเดือนเต็มดวง ณ เชียงใหม่
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 ตุลาคม พ.ศ. 2499 (67 ปี)
อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
คู่สมรสเอมอร บูรณุปกรณ์

ประวัติ

แก้

บุญเลิศ เกิดเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2499 ที่ตำบลช้างม่อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรของนายใช้ และนางจิตรา บูรณุปกรณ์ นักธุรกิจชาวจังหวัดเชียงใหม่

บุญเลิศ จบการศึกษาระดับชั้นประถมและมัธยมศึกษาจากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย รุ่น 15 ระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และระดับปริญญาโท รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นอกจากนั้นยังสำเร็จการศึกษาหลักสูตรป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐ เอกชนและการเมือง รุ่นที่ 3 วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

ใน พ.ศ. 2556 เขาได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จังหวัดเชียงใหม่

งานการเมือง

แก้

นายบุญเลิศ บุรณุปกรณ์เริ่มต้นงานการเมืองด้วยตำแหน่งสมาชิกสภาเทศบาลนครเชียงใหม่ ใน พ.ศ. 2542

การดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่

แก้

พ.ศ. 2543 นายบุญเลิศได้รับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ และได้ดำรงตำแหน่งต่อเป็นสมัยที่สองใน พ.ศ. 2547 แต่หลังจากดำรงตำแหน่งได้เพียงไม่กี่เดือนก็ได้ลาออก จากปัญหาความขัดแย้งภายใน แต่ก็ได้รับเลือกตั้งกลับมาเป็นนายกเทศมนตรีตามเดิม โดยนายบุญเลิศและตระกูลบูรณุปกรณ์นั้น ถือเป็นกำลังที่สำคัญของพรรคไทยรักไทยในจังหวัดเชียงใหม่ และมีสายสัมพันธ์แนบแน่นกับตระกูลชินวัตร

การดำรงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่

แก้

วาระแรก

แก้

นายบุญเลิศ ได้ลงสมัครชิงตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 โดยได้รับคะแนนนำมาเป็นอันดับหนึ่ง โดยคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ให้การรับรอง ในวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2551 แต่หลังจากนั้นกกต.เชียงใหม่ซึ่งได้รับเรื่องร้องคัดค้านผลการเลือกตั้งเนื่องจากการทุตจิต ได้มีการสอบสวนหา พยานหลักฐาน และส่งเรื่องให้ กกต.กลางชี้มูล วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2552 กกต.กลางได้มีมติให้ใบแดง แก่นายบุญเลิศ พร้อมกับพวกรวม 4 คน ต่อมาทาง กกต.กลางได้ส่งเรื่องให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 วินิจฉัยชี้ขาด ส่งผลให้ทางนายบุญเลิศต้องหยุดปฎืบัติหน้าที่เกือบ 3 เดือน ในที่สุดวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2552 ศาลอุทธรณ์ภาค 5 จังหวัดเชียงใหม่ได้มีคำพิพากษา ให้ยกคำร้องของกกต. ทำให้คดีนี้ สิ้นสุดลง[1] และได้ปฏิบัติหน้าที่จนครบวาระในวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2555

วาระที่สอง

แก้

นายบุญเลิศ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2555 และได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนน 402,484 คะแนน[2] และคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้ประกาศผลรับรอง ในวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เขาถูกพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา สั่งระงับการปฏิบัติหน้าที่นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 44/2559[3] กระทั่งนายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 6/2561 ลงวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ให้เขากลับไปดำรงตำแหน่งตามเดิม จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2563 เนื่องจากมีกำหนดให้เลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดทั่วประเทศ[4]

ลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งที่ 3

แก้

นายบุญเลิศ ลงสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ใน พ.ศ. 2563 ในนามกลุ่มเชียงใหม่คุณธรรม โดยนำเสนอว่าเป็นกลุ่มการเมืองท้องถิ่นที่ไม่สังกัดพรรคการเมืองใด[5] และได้รับการสนับสนุนจากนายจตุพร พรหมพันธุ์[6] แข่งขันกับนายพิชัย เลิศพงศ์อดิศร อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเชียงใหม่ ในนามพรรคเพื่อไทย ผลการเลือกตั้งปรากฏว่านายพิชัย เป็นฝ่ายได้รับการเลือกตั้ง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ศาลอุทธรณ์ยกคำร้องใบแดง บุญเลิศ-2ส.อบจ.เชียงใหม่-อีกคนถอนสิทธิ์1ปี
  2. รายงานผลการเลือกตั้ง อบจ.เชียงใหม่ เก็บถาวร 2012-06-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากเว็บไซต์ อบจ.เชียงใหม่ สืบค้นวันที่ 1 กรกฎาคม 2555
  3. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/164/10.PDF
  4. กกต.ประกาศกำหนดให้มีการเลือกตั้ง"นายกอบจ.-สมาชิกอบจ."76จังหวัด
  5. “บุญเลิศ”ประกาศตัวชัดเจนไม่สังกัดพรรคการเมืองใด ชูธง”กลุ่มเชียงใหม่คุณธรรม”สู้ศึกเลือกตั้ง อบจ.เชียงใหม่
  6. อบจ.เชียงใหม่เดือด!'จตุพร'ป้อง'บุญเลิศ'ซัดแหลก'พท.'ยัดข้อหาพวก'พปชร.'
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๖๘, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๕๒ ข หน้า ๒, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๐
ก่อนหน้า บุญเลิศ บูรณุปกรณ์ ถัดไป
ปกรณ์ บูรณุปกรณ์   นายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่
(พฤษภาคม พ.ศ. 2543 – 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2550)
  ร้อยเอกหญิง เดือนเต็มดวง ณ เชียงใหม่