ตระกูลชินวัตร

(เปลี่ยนทางจาก สกุลชินวัตร)

ตระกูลชินวัตร เป็นตระกูลที่ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองและธุรกิจมากมายในปัจจุบัน โดยมีเส็ง แซ่คูเป็นต้นตระกูล ซึ่งอพยพย้ายถิ่นฐานมาจากสาธารณรัฐจีน (ในขณะนั้น)​ มายังจังหวัดจันทบุรี ประเทศไทย ต่อมาได้ย้ายไปตั้งรกรากที่จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2454 เชียง แซ่คู บุตรชายคนโตของครอบครัวได้เริ่มต้นธุรกิจทอผ้าไหม ในจังหวัดเชียงใหม่ จนในปัจจุบันเป็นกิจการผ้าไหมที่มีมายาวนานที่สุดของประเทศไทย[1] สกุลชินวัตรเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นเมื่อ ดร.ทักษิณ ชินวัตร สมาชิกรุ่นที่ 4 ได้ดำเนินธุรกิจต่าง ๆ อาทิเช่น เครือค่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เอไอเอส จนประสบความสำเร็จ และได้เข้าสู่การเมืองในเวลาต่อมา พร้อมทั้งมีสมาชิกคนอื่น ๆ ตามมา ซึ่งทำให้สกุลชินวัตรเป็นที่รู้จักมากในด้านของการเมืองในปัจจุบัน

ชินวัตร
ตระกูลบรรพบุรุษแซ่คู
ประเทศประเทศไทย
ถิ่นพำนักปัจจุบันจังหวัดเชียงใหม่
ถิ่นกำเนิดมณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน
ต้นตระกูลเส็ง แซ่คู
ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทย
(พ.ศ. 2544–2549, 2554–2557)
ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี

สมาชิกแก้ไข

รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2แก้ไข

ต้นสกุลคือ ชุ่นเส็ง แซ่คู ชาวจีนฮากกา ที่อพยพย้ายถิ่นฐานจากมณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน มายังอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ประกอบอาชีพสร้างเนื้อสร้างตัว จนได้เป็นนายอากรบ่อนเบี้ย ต่อมาย้ายจากจังหวัดจันทบุรี ไปตั้งถิ่นฐานที่อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ชุ่นเส็งแต่งงานกับสตรีชาวไทยชื่อทองดี มีบุตรชายคนโตชื่อ เชียง แซ่คู

เชียงเข้าเป็นแกนหลักของตระกูลและเป็นปู่ของอดีตนายกรัฐมนตรีถึง 2 คน ในเวลาต่อมา ประกอบอาชีพค้าขาย กับจีนฮ่อและไทยใหญ่ ก่อนที่ต่อมาจะมีกิจการหลัก คือโรงทอผ้าไหมไทย เมื่อปี พ.ศ. 2481 เชียงเปลี่ยนมาใช้นามสกุลชินวัตร[2]

รุ่นที่ 3แก้ไข

เชียงสมรสกับแสง (สกุลเดิม: สมณะ) มีบุตรธิดารวม 12 คน ได้แก่

ชินวัตรรุ่นที่ 3 เป็นรุ่นที่เริ่มมีการเข้าสู่วงการการเมือง ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติถึง 3 คน คือเลิศ, สุเจตน์ และสุรพันธ์

รุ่นที่ 4แก้ไข

ชินวัตรรุ่นที่ 4 มีการเข้าสู่การเมืองจำนวนหลายคน โดยเป็นที่รู้จักอยู่ 2 สายคือ

สายพันเอก (พิเศษ) ศักดิ์ ชินวัตรแก้ไข

พันเอก (พิเศษ) ศักดิ์ สมรสกับทวี มีบุตรชายคือ

สายเลิศ ชินวัตรแก้ไข

เลิศ สมรสกับ ยินดี ระมิงค์วงศ์ หลานตาของ เจ้าไชยสงคราม (สมพมิตร ณ เชียงใหม่) มีบุตรธิดารวม 10 คน ได้แก่[12]

รุ่นที่ 5แก้ไข

สาย ดร.ทักษิณ ชินวัตรแก้ไข

ทักษิณ สมรสและหย่ากับ คุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร (ดามาพงศ์) มีบุตรธิดารวม 3 คนคือ

สายพายัพ ชินวัตรแก้ไข

สายเยาวเรศ ชินวัตรแก้ไข

เยาวเรศสมรส และแยกทางกับวีรชัย วงศ์นภาจันทร์ มีบุตรธิดารวม 3 คนคือ

  • ชยิกา วงศ์นภาจันทร์ ข้าราชการการเมือง ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
  • รัตนะ วงศ์นภาจันทร์ รักษาการประธานกรรมการบริษัท พีเออี (ประเทศไทย)[14]
  • ธนวัฒน์ วงศ์นภาจันทร์ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ บริษัท พีเออี (ประเทศไทย)สมรสกับ วิชชุลดา ปรีชม

สายมณฑาทิพย์ ชินวัตรแก้ไข

  • นาควรี โกวิทเจริญกุล
  • ณัฏฐธิดา โกวิทเจริญกุล

สายเยาวภา วงศ์สวัสดิ์แก้ไข

เยาวภาสมรสกับ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ มีบุตรธิดารวม 3 คนคือ

สายยิ่งลักษณ์ ชินวัตรแก้ไข

ยิ่งลักษณ์สมรสกับ อนุสรณ์ อมรฉัตร มีบุตรชาย 1 คน คือ

  • นาย ศุภเสกข์ อมรฉัตร หรือ ไปป์ เรียนอยู่โรงเรียนนานาชาติฮาร์โรว์

สายบุญสม ชินวัตร (ปู่)แก้ไข

บุญสมมีหลานชายคือ

  • พันเอกสราวุธ ชินวัตร ฝ่ายเสนาธิการประจำผู้บังคับบัญชา, อดีตผู้บังคับกองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่ 7 (ผบ.พัน.ปตอ.7)

สกุลดามาพงศ์แก้ไข

สกุลชินวัตรดองกับสกุลดามาพงศ์ ผ่านทางการสมรสของ พันตำรวจโท ทักษิณ กับคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร (ดามาพงศ์) บุตรสาวของ พลตำรวจโท เสมอ ดามาพงศ์ อดีตผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ โดยพลตำรวจโท เสมอ มีบุตรธิดารวม 4 คนคือ

และยังมีบุตรบุญธรรมอีก 1 คนคือ

ความสัมพันธ์กับสกุลอื่นแก้ไข

  • ดร.สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ นับเป็นญาติห่างๆ ของทักษิณ โดยอาหญิงของสุรพงษ์ คือสุมาลี สมรสกับเสถียร ชินวัตร[16]
  • ยินดี ระมิงค์วงศ์ มารดาของทักษิณ มีศักดิ์เป็นหลาน(น้า) ของ เจ้าไชยสุริวงศ์ ณ เชียงใหม่ ซึ่งเป็นบิดาของ เจ้าธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ อดีตรัฐมนตรี และอดีตแกนนำพรรคความหวังใหม่ (ยินดีจึงมีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับเจ้าธวัชวงศ์)
  • ทพญ.ศรีญาดา ชินวัตร อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ[17] สะใภ้ตระกูลชินวัตร
  • บวร ชินวัตร เจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดนยศนายกองตรี[18] อดีตนายอำเภอหนองสูง[19]
  • ดร.วีระพันธุ์ ชินวัตร คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี อดีตกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ

อ้างอิงแก้ไข

  1. Company Profile Shinawatra Thai Silk
  2. "เบื้องลึก 'ตระกูลชินวัตร' ผู้สร้างนายกรัฐมนตรีไทยถึง 3 คน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-11. สืบค้นเมื่อ 2011-09-29.
  3. มติชน, ′พล.อ.จงศักดิ์ พานิชกุล′ ไขรหัส ′แลนด์สไลด์′ จาก ′ทักษิณ′ สู่ ′ยิ่งลักษณ์′ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  4. ข่าวสด, ให้แม้วเข้าปท.ได้ ญี่ปุ่นโอเค โอบามาโทร.ตรงปู
  5. กรุงเทพธุรกิจ, ปลุกกระแส 'นายกฯหญิง' ในบ้านเกิด เก็บถาวร 2011-08-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  6. "'ยิ่งลักษณ์' ร่วมงานศพคุณอา 'วิไล คงประยูร'". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-18. สืบค้นเมื่อ 2015-06-22.
  7. คำสั่งกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง [พลเอกอุทัย ชินวัตร]
  8. ไทยโพสต์, หยุดก่อนทักษิณ : พล.อ.อุทัย ชินวัตร เก็บถาวร 2010-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  9. เจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน ยศนายกองเอก พล.อ.อุทัย ชินวัตร
  10. "ทหารเรือ ประวิตร ชินวัตร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-05-21.
  11. อดีตรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายปฏิบัติการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)[ลิงก์เสีย]
  12. บัญชีทรัพย์สินนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี[ลิงก์เสีย]
  13. ผู้อำนวยการและผู้ถือหุ้นบริษัทนอกอาณาเขต พิรุณ ชินวัตร
  14. ผู้รักษาการประธานกรรมการบริษัท พีเออี (ประเทศไทย)[ลิงก์เสีย]
  15. "เปิดอก"ยศชนัน"พี่ชาย"ชินณิชา วงศ์สวัสดิ์" ชี้การเมืองไม่ใช่เรื่อง"สืบทอด" ไม่ใช่ฝึกงาน ต้องมืออาชีพ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2012-11-03.
  16. กรุงเทพธุรกิจ, สุรพงษ์ นับญาติ-อาทักษิณร่วมลงชื่อฎีกา โวเข้าเกณฑ์[ลิงก์เสีย]
  17. "ทพญ.ศรีญาดา ชินวัตร เครือญาติทักษิณ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2014-05-21.
  18. บวร ชินวัตร เจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดน ยศนายกองตรี
  19. บวร ชินวัตร อดีตนายอำเภอ[ลิงก์เสีย]

ดูเพิ่มแก้ไข