อุดม ไกรวัตนุสสรณ์
อุดม ไกรวัตนุสสรณ์ (เกิด 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2510) เป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสมุทรสาคร 4 สมัย อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (วิเชษฐ์ เกษมทองศรี) อดีตผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่)
อุดม ไกรวัตนุสสรณ์ | |
---|---|
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 20 ธันวาคม พ.ศ. 2563 | |
ก่อนหน้า | มณฑล ไกรวัตนุสสรณ์ |
คะแนนเสียง | 131,537 |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2510 จังหวัดสมุทรสาคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ความหวังใหม่ (2538–2545) ไทยรักไทย (2545–2550) เพื่อไทย (2555–ปัจจุบัน) |
ชื่อเล่น | ตู่ |
การศึกษา
แก้อุดม ไกรวัตนุสสรณ์ เข้าศึกษาในชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนอนุบาลสมุทรสาคร และโรงเรียนเอกชัย จากนั้นจึงเข้าศึกษาในระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2522 จากนั้นจึงได้เข้าศึกษาต่อในคณะรัฐศาสตร์ สาขาการปกครอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (รุ่นเดียวกับ วสุ แสงสิงแก้ว, เมทนี บุรณศิริ และ จักรภพ เพ็ญแข) จบการศึกษาระดับปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และได้รับประกาศนียบัตรชั้นสูง หลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 3 จากสถาบันพระปกเกล้า
งานการเมืองระดับประเทศ
แก้อุดม ไกรวัตนุสสรณ์ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสมุทรสาคร ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2538, พ.ศ. 2539, พ.ศ. 2544, พ.ศ. 2548 นอกจากนั้นยังเคยได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม[1]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[2] ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย
งานการเมืองท้องถิ่น
แก้ต่อมาในปี พ.ศ. 2563 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรสาคร พร้อมด้วยทีม ส.อบจ. สค. ในนาม " ทีมฅนทำงาน" หมายเลข 3 โดยได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้น ด้วยคะแนนคะแนนเสียง 131,537คะแนน ชนะขาดอันดับ 2 นายอวยชัย จาตุรพันธ์ ผู้สมัครหน้าใหม่จากคณะก้าวหน้าที่ได้เพียง 26,463 คะแนน ขณะที่อันดับ 3 นายเชาวรินทร์ ชาญสายชลจาก พรรคเพื่อไทย ได้ 22,553 คะแนน ได้ทีม ส.อบจ.สค. ถึง 26 คน และทางคณะกรรมการการเลือกตั้งได้รับรองผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นนายก อบจ. คนที่ 6 ต่อจาก นายอุดร ไกรวัตนุสสรณ์ พี่ชาย (เสียชีวิต) และนายมณฑล ไกรวัตนุสสรณ์ บิดา
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ คำสั่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ ๓๐๐/๒๕๕๖ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายอุดม ไกรวัตนุสสรณ์)
- ↑ "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๒๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔