จาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์

นายแพทย์ จาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ[1] สังกัดพรรคเพื่อไทย เป็นสามีของนางอุดมลักษณ์ เพ็งนรพัฒน์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ พรรคภูมิใจไทย ภายหลังปรากฏตัวในงานวันคล้ายวันเกิดนายเนวิน ชิดชอบ คาดว่าเตรียมลงเลือกตั้งในนามพรรคภูมิใจไทย

จาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด21 เมษายน พ.ศ. 2505 (62 ปี)
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองเพื่อไทย ภูมิใจไทย
คู่สมรสอุดมลักษณ์ เพ็งนรพัฒน์
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยขอนแก่น

ประวัติ แก้

จาตุรงค์ เกิดเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2505 จบการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น รัฐศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และปรัชญาดุษฎีบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี เขาสมรสกับนางอุดมลักษณ์ เพ็งนรพัฒน์ น้องสาวของนายธีระ ไตรสรณกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ สังกัดพรรคเพื่อไทย และนายวิชิต ไตรสรณกุล นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ [2]

การทำงาน แก้

จาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์ ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดศรีสะเกษ ตั้งแต่ปี 2538 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยแรก ในนามพรรคชาติไทย และได้รับเลือกตั้งต่อเนื่องอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 ต่อมาในปี 2544 ลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคไทยรักไทย และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 3 จากนั้นได้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งในปี 2548 และได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 4

กระทั่งถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองจากคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549 จึงสนับสนุนให้นางอุดมลักษณ์ ลงสมัครรับเลือกตั้งแทน[3]

หลังพ้นจากการถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง เขาได้เข้าร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย และลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้ง เป็น ส.ส.สมัยที่ 5

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. นักการเมืองถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ
  2. จาตุรงค์ เพ็งนรพัฒน์ 1 ใน 7 ส.ส.-ในบัญชีแบล๊กลิสต์ พท.
  3. ศึกชนช้าง! เลือกตั้งศรีสะเกษเขต4 รุ่นเก๋า'พท.ปะทะพปชร.'
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕