พลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
ดร.พลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ (เกิด 5 มิถุนายน พ.ศ. 2518) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2554 ปัจจุบันสังกัดพรรคเพื่อไทย
พลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ | |
---|---|
![]() | |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2566 | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | สมัย เจริญช่าง พนิช วิกิตเศรษฐ์ ไพโรจน์ อิสรเสรีพงษ์ |
ถัดไป | วิทวัส ติชะวาณิชย์ |
เขตเลือกตั้ง | กรุงเทพมหานคร เขต 15 |
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2544 – พ.ศ. 2554 | |
ถัดไป | ชญาดา วิภัติภูมิประเทศ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 มิถุนายน พ.ศ. 2518 |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย (พ.ศ.2551-ปัจจุบัน)
พลังประชาชน (พ.ศ.2550-2551) ไทยรักไทย (พ.ศ.2541-2550) |
คู่สมรส | ชญาดา วิภัติภูมิประเทศ |
ประวัติ แก้ไข
พลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ เกิดเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2518 เจ้าของสโลแกน คิดไม่ออก บอกพลภูมิ เป็นบุตรของนายอริชัย และ นางยุพดี วิภัติภูมิประเทศ อดีต ส.ก.เขตจตุจักร มีน้องสาว 1 คน เขาเป็นหลานของพลเรือโทโรช วิภัติภูมิประเทศ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ปริญญาโทคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และ ปริญญาเอก[1][2]
พลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ เป็นอดีต ส.ก.เขตคันนายาว 4 สมัย (พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2554) ตั้งแต่อายุ 25 ปี ซึ่งถือว่าเป็น ส.ก.ที่มีอายุน้อยที่สุดในสภากรุงเทพมหานคร[ต้องการอ้างอิง] นายพลภูมิ ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร เขต 16 และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานครในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 และได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 24 และเขามีส่วนให้การสนับสนุนนางชญาดา วิภัติภูมิประเทศ ภรรยา ลงเลือกตั้งซ่อม ส.ก. และได้รับเลือกตั้งเช่นเดียวกัน
ในปี พ.ศ. 2553 เขาเข้าร่วมชุมนุมกับแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ[3]
พลภูมิ สมรสกับ นางชญาดา วิภัติภูมิประเทศ มีบุตรชาย 1คน
งานการเมือง แก้ไข
พลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ เป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตคันนายาว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 ในสังกัดพรรคไทยรักไทย และได้รับเลือกติดต่อกันมารวม 4 สมัย ครั้งสุดท้ายได้รับเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2553 ก่อนที่ปีต่อมาจะลาออกมาลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานครในสังกัดพรรคเพื่อไทย และได้รับการเลือกตั้งเป็นส.ส.สมัยแรก
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แก้ไข
พลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มาแล้ว 2 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคเพื่อไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้ไข
- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[5]
อ้างอิง แก้ไข
- ↑ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
- ↑ https://www.ect.go.th/bangkok/article_attach/14.pdf
- ↑ http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9530000055405[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๘, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๗๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
แหล่งข้อมูลอื่น แก้ไข
- นายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ, เว็บไซต์เฟซบุ๊ก
- บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ เก็บถาวร 2012-06-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ข้อมูลนักการเมืองไทย (นายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ), ศูนย์ข้อมูลนักการเมืองไทย