ประชา คุณะเกษม
ประชา คุณะเกษม (29 ธันวาคม พ.ศ. 2477 – 8 ตุลาคม พ.ศ. 2552) อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคไทยรักไทย
ประชา คุณะเกษม | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 3 กรกฎาคม – 14 สิงหาคม พ.ศ. 2539 | |
นายกรัฐมนตรี | บรรหาร ศิลปอาชา |
ก่อนหน้า | จรัส พั้วช่วย |
ถัดไป | หม่อมราชวงศ์เทพ เทวกุล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 29 ธันวาคม พ.ศ. 2477 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 8 ตุลาคม พ.ศ. 2552 (74 ปี) |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย |
คู่สมรส | สุมณี คุณะเกษม |
ประวัติ
แก้ดร.ประชา คุณะเกษม เกิดเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2477[1] เป็นอดีตนักการทูตไทยของกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรคไทยรักไทย และเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการต่างประเทศ เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของนายโชติ คุณะเกษม อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และอดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย และคุณหญิง ระเบียบ คุณะเกษม สมรสกับคุณสุมณี คุณะเกษม บุตรสาวคนเดียวของ พล.ต.จ.ปราโมทย์ จงเจริญ และคุณหญิง สุภัทรา จงเจริญ นักสะสมของเก่าจากทั่วโลก มูลค่าหลายพันล้านบาท ที่มีโครงการจะจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ ภายใต้การบริหารงานของมูลนิธิ “มณีมณฑ์ชา” มีบุตรชาย 1 คน คือ นายวชิระมณฑ์ คุณะเกษมธนาวัฒน์ อดีตโฆษกพรรคเพื่อแผ่นดิน อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 17 (ลาดพร้าว) และอดีตรองโฆษกพรรคไทยรักไทย
ประวัติการศึกษา
แก้ดร.ประชา คุณะเกษม จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ และได้รับทุนของกระทรวงการต่างประเทศ ในปี พ.ศ. 2491 ไปศึกษาต่อจบการศึกษาปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ (เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2499 ต่อจากนั้นในปี พ.ศ. 2500 ได้สำเร็จการศึกษาปริญญาโท สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเยล ปี พ.ศ. 2502 จบการศึกษาปริญญาโท สาขานิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด และปีต่อมาได้สำเร็จการศึกษาปริญญาเอก สาขารัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเยล
ประวัติการทำงาน
แก้หลังสำเร็จการศึกษาได้เข้าทำงานที่กรมองค์การระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ และได้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทยประจำสหประชาชาติ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ หลังจากนั้นได้ร่วมก่อตั้งพรรคไทยรักไทย กับ ดร.ทักษิณ ชินวัตร และเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สมัย ดร.สุรเกียรติ เสถียรไทย เป็นรัฐมนตรี
ตำแหน่งล่าสุด
แก้- ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ (ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย และ ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล) และ ที่ปรึกษาพรรคไทยรักไทย
ตำแหน่งทางการเมือง
แก้- พ.ศ. 2538 ลาออกจากกระทรวงการต่างประเทศ มาสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร พรรคพลังธรรม
- ก.ค. พ.ศ. 2538 - ก.ย. พ.ศ. 2539 สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรกรุงเทพมหานคร เขต 7
- ส.ค. พ.ศ. 2538 - ก.ค. พ.ศ. 2539 ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ด้านการต่างประเทศ (นายกรัฐมนตรี บรรหาร ศิลปอาชา)
- 3 ก.ค. พ.ศ. 2539 - ก.ย. พ.ศ. 2539 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (โควตาของพรรคพลังธรรม ดร.ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรค)
ประวัติการรับราชการ
แก้- ต.ค. พ.ศ. 2535 - 1 มิ.ย. พ.ศ. 2538 ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
- ต.ค. พ.ศ. 2533 - ก.ย. พ.ศ. 2535 รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ
- ต.ค. พ.ศ. 2532 - ก.ย. พ.ศ. 2533 อธิบดีกรมการเมือง
- ต.ค. พ.ศ. 2531 - ก.ย. พ.ศ. 2532 อธิบดีกรมเศรษฐกิจ
- ต.ค. พ.ศ. 2530 - ก.ย. พ.ศ. 2531 อธิบดีกรมองค์การระหว่างประเทศและผู้แทนถาวรประเทศไทยประจำเอสแคป
- พ.ศ. 2528 - 2530 เอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส
- พ.ศ. 2527 - 2528 อธิบดีกรมเศรษฐกิจ
- พ.ศ. 2525 - 2527 อธิบดีกรมอาเซียน
- พ.ศ. 2523 - 2525 เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรประเทศไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา
- พ.ศ. 2518 - 2523 เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรประเทศไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก
- พ.ศ. 2516 - 2518 อธิบดีกรมสารนิเทศ
- พ.ศ. 2514 - 2516 กงสุลใหญ่ ณ เมืองฮ่องกง
- พ.ศ. 2510 - 2513 หัวหน้ากองหนังสือพิมพ์ กรมสารนิเทศ
- พ.ศ. 2507 - 2509 หัวหน้ากองประมวลและวิเคราะห์ข่าว กรมสารนิเทศ
- พ.ศ. 2506 - 2507 เลขานุการโท สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไคโร
- พ.ศ. 2504 - 2505 เลขานุการโท ผู้แทนสำรองในคณะผู้แทนไทยประจำองค์การสนธิสัญญาป้องกันเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- พ.ศ. 2503 - 2504 หัวหน้าแผนก กองการเมือง กรมองค์การระหว่างประเทศ
หน้าที่ได้รับมอบหมาย
แก้- พ.ศ. 2522 - 2523 ประธานคณะกรรมการ 6 (กฎหมาย) ของการประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติสมัยที่ 34 เคยได้รับเลือกเป็นรองประธานสมัชชาของสหประชาชาติ
- พ.ศ. 2518 สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ
ผลงานเขียน
แก้- ประเทศไทยกับองค์การสหประชาชาติกรณีพิพาทระหว่างประเทศไทยกับอินโดจีน ปี พ.ศ. 2480 - 2482
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้ประชา คุณะเกษม ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของประเทศไทยและเครื่องราชอิสริยาภรณ์ของต่างประเทศต่างๆ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2527 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2524 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
- พ.ศ. 2536 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[4]
- พ.ศ. 2529 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๓, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๓, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๕๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ พฤษภาคม ๒๕๓๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2022-08-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๔๐, ๒๑ มกราคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ เก็บถาวร 2022-11-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๗๗ ง หน้า ๓๗๙๓, ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๓๑