วัยโรจน์ พิพิธภักดี
นายวัยโรจน์ พิพิธภักดี (เกิด 1 เมษายน พ.ศ. 2484) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปัตตานี 4 สมัย
วัยโรจน์ พิพิธภักดี | |
---|---|
![]() | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 เมษายน พ.ศ. 2484 อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี |
พรรคการเมือง | พรรคเพื่อไทย |
คู่สมรส | นางเยาวลักษณ์ พิพิธภักดี |
ประวัติแก้ไข
วัยโรจน์ พิพิธภักดี เกิดเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2484 เป็นบุตรของพระพิพิธภักดี (ตนกูมุกดา อับดุลบุตร) กับสวาสดิ์ พิพิธภักดี[1] สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรชั้นสูง สาขาบริหารธุรกิจ จากสถาบันปีนัง (Penang Institute) รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย สมรสกับเยาวลักษณ์ พิพิธภักดี มีบุตรสาวคือ กังสดาล พิพิธภักดี (เติงกูซูไบดะห์ บินตีเติงกูนูรุดดีน) อดีตพระชายาในสุลต่านมูฮัมหมัดที่ 5 แห่งรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย
งานการเมืองแก้ไข
วัยโรจน์ เคยประกอบอาชีพเป็นพนักงานธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาปัตตานี จากนั้นจึงเริ่มต้นชีวิตทางการเมืองด้วยการดำรงตำแหน่งเป็นประธานสภาจังหวัดปัตตานี 4 สมัย ต่อมา ลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปัตตานี และได้รับเลือกตั้งเป็นครั้งแรก ใน พ.ศ. 2522 สังกัดพรรคกิจสังคม ก่อนที่จะหวนกลับไปสู่เวทีการเมืองในระดับท้องถิ่น และกลับสู่การเมืองระดับชาติอีกครั้ง ใน พ.ศ. 2538 และได้รับเลือกเรื่อยมา จนถึง พ.ศ. 2544 [2]
จนกระทั่งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2548 จึงย้ายไปสังกัดพรรคไทยรักไทย แต่พ่ายแพ้ให้กับ นายอันวาร์ สาและ จากพรรคประชาธิปัตย์ ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการบริหารพรรค ซึ่งต่อมาเขาถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง เป็นระยะเวลา 5 ปี
ในปี พ.ศ. 2555 เขาพร้อมกับสมาชิกบ้านเลขที่ 111 อีกจำนวนมาก ได้สมัครเข้าร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย[3]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแก้ไข
วัยโรจน์ พิพิธภักดี ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 4 สมัย คือ
- การเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปัตตานี แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. 2522 สังกัดพรรคกิจสังคม
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดปัตตานี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดปัตตานี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดปัตตานี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์แก้ไข
- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2533 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[6]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ "สมาชิกบ้านเลขที่ 111 ยื่นใบสมัครเข้าพรรคเพื่อไทย". คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2012-06-25. สืบค้นเมื่อ 2013-06-15.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๒๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๗๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๓