ทศพล สังขทรัพย์
ทศพล สังขทรัพย์ (เกิด 11 มกราคม พ.ศ. 2499) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย 7 สมัย
ทศพล สังขทรัพย์ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 11 มกราคม พ.ศ. 2499 อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | ภูมิใจไทย |
คู่สมรส | พัฒนา สังขทรัพย์ |
ประวัติ
แก้นายทศพล สังขทรัพย์ เกิดเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2499 เป็นบุตรของพันตำรวจเอกกฤช สังขทรัพย์ และ นางสมบูรณ์ สังขทรัพย์[1] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป จาก สถาบันราชภัฏเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ สมรสกับนางพัฒนา สังขทรัพย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลย มีบุตรชาย 2 คน
งานการเมือง
แก้ทศพล เคยทำงานเป็นพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค[2] ก่อนที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเลยครั้งแรก ใน พ.ศ. 2524 สังกัดพรรคชาติไทย แทนบิดา[3] ที่เสียชีวิตจากเหตุเฮลิคอปเตอร์เบลล์ตกที่จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2524 ซึ่งได้รับเลือกตั้งในครั้งดังกล่าว และได้รับเลือกเรื่อยมาจนถึง พ.ศ. 2548 รวม 7 สมัย [4]
พ.ศ. 2550 เขาถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง เป็นระยะเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย
ในปี พ.ศ. 2555 ทศพลได้สมัครเข้าร่วมงานกับพรรคภูมิใจไทย ซึ่งภรรยาของเขาได้เข้าร่วมงานกับพรรคภูมิใจไทยไปก่อนหน้านั้น และเขาลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.เลย ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2562 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้ทศพล สังขทรัพย์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 7 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2524 (เลือกตั้งซ่อม) จังหวัดเลย สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดเลย สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดเลย สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดเลย สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 จังหวัดเลย สังกัดพรรคชาติไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดเลย สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดเลย สังกัดพรรคไทยรักไทย
ด้านธุรกิจ
แก้ทศพล สังขทรัพย์ ทำธุรกิจโรงไฟฟ้าจากพลังงานขยะ ในชื่อบริษัท ภูมิพัฒนา จำกัด ซึ่งเปิดกิจการในปี 2557[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
- ↑ นักการเมืองถิ่นจังหวัดเลย. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไชยวุฒิ มนตรีรักษ์ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2551
- ↑ 3 สาวแซ่บ!! 3 ตระกูล "เมืองเลย" ต่างพรรคพวกเดียวกัน
- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ ไม่ตกงานจาก เดลินิวส์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔