สิริกร มณีรินทร์
ดร.สิริกร มณีรินทร์ เป็นนายกสภาสถาบันวิทยาลัยชุมชน อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตอาจารย์ประจำที่คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งพรรคไทยรักไทย และเป็นเหรัญญิกพรรคคนแรก (คณะกรรมการชุดที่ขอจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมือง) [1]
สิริกร มณีรินทร์ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 14 มิถุนายน พ.ศ. 2544 – 10 มีนาคม พ.ศ. 2547 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | กัญจนา ศิลปอาชา วิชัย ตันศิริ |
ถัดไป | รุ่ง แก้วแดง |
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข | |
ดำรงตำแหน่ง 10 มีนาคม – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2547 | |
นายกรัฐมนตรี | ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | คำรณ ณ ลำพูน |
ถัดไป | อนุทิน ชาญวีรกูล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย |
คู่สมรส | พลตำรวจเอกวงกต มณีรินทร์ |
ประวัติ
แก้ดร.สิริกร มณีรินทร์ (สกุลเดิม : ลีนุตพงษ์) เกิดเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 ที่จังหวัดพระนคร[2] สมรสกับพลตำรวจเอกวงกต มณีรินทร์ (เพื่อนร่วมรุ่นกับ ดร.ทักษิณ ชินวัตร) [3] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี อักษรศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ปริญญาโท สาขาวรรณคดีเปรียบเทียบ จากมหาวิทยาลัยเกรนอป ประเทศฝรั่งเศส และปริญญาเอกในสาขาเดียวกัน จากมหาวิทยาลัยปารีส
การทำงาน
แก้สิริกร มณีรินทร์ เริ่มรับราชการเป็นอาจารย์ประจำที่คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2517 จากนั้นในปี พ.ศ. 2531 จึงได้ลาออกมารับตำแหน่งผู้บริหารบริษัทเครือยนตรกรุ๊ป ซึ่งเป็นธุรกิจของครอบครัว โดยเป็นผู้บริหารธุรกิจรถยนต์ที่เป็นผู้หญิงคนเดียวของประเทศไทยในขณะนั้น จากนั้นจึงได้เข้าสู่งานการเมืองโดยเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งพรรคไทยรักไทย ต่อมาจึงได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร และในเวลาต่อมาจึงได้ปรับไปรับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549[4] ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[6]
- พ.ศ. 2546 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง รับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง พรรคไทยรักไทย
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส. เก็บถาวร 2012-11-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
- ↑ ระหว่างการเป็นอาจารย์-นักธุรกิจ-แม่-แม่บ้าน-รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ ของ ดร.สิริกร มณีรินทร์[ลิงก์เสีย]
- ↑ "เปิดรายชื่อ ทั้ง 111 กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี !!!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2011-06-02.
- ↑ บ้านเลขที่ 111 ซบอก'เพื่อไทย'แล้ว[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๑๐, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๒๔, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖