ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์

ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ มีชื่อเดิมว่า ประพัฒน์ แซ่ฉั่ว กรรมการในคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านธุรกิจภาคเอกชนใน ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) กรรมการในคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม[1] ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการเตรียมการยุทธศาสตร์ชาติ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 8/2560 [2]และกรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ[3] ในฐานะประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ

ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ดำรงตำแหน่ง
3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 10 มีนาคม พ.ศ. 2547
นายกรัฐมนตรีพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร
ถัดไปสุวิทย์ คุณกิตติ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 มกราคม พ.ศ. 2495 (72 ปี)
จังหวัดยะลา ประเทศไทย
พรรคการเมืองพรรคไทยรักไทย (2544 - 2549)
พรรคชาติไทย (2549 - 2551)
คู่สมรสกัญญา ปัญญาชาติรักษ์

อดีตนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ตุลา ต่อมาได้เป็นนักการเมือง เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และประธานคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร[4] ปัจจุบันเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารสินเชื่อเกษตรแห่งชาติ กรรมการในคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการมันสำปะหลัง ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 105/2557 ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดลำปาง และประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ อดีตกรรมการอื่นในคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม[5]อดีตกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร[6]

ประวัติ แก้

นายประพัฒน์เกิดที่ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2495 เข้ามาเรียนที่โรงเรียนอำนวยศิลป์ และคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าร่วมกิจกรรมในขณะเป็นนักศึกษา และมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516

ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ทำงานรับจ้างปลูกป่า บริษัทลำปางทำไม้ จำกัด เป็นลูกจ้างองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ และเป็นเกษตรกรอยู่ที่จังหวัดลำปาง เริ่มต้นจากการนำต้นกล้าส้มพันธุ์โชกุลจากจังหวัดยะลามาปลูก ในพื้นที่จังหวัดลำปาง อำเภอแจ้ห่ม ตำบลแม่สุก ในชื่อของสวนส้มเพชรล้านนา แต่ต่อมาเจอภาวะภัยแล้งจนทำให้ต้องเลิกทำส้ม จนเปลี่ยนมาเป็นเกษตรผสมผสานที่มีทั้งปศุสัตว์ ผลไม้ และพืชผัก โดยได้ทำการเกษตรแบบเกษตรอินทรีย์ คือไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและปุ๋ยเคมี และได้เปลี่ยนชื่อเป็น " ฟาร์มเกษตรอินทรย์เพชรล้านนา" เมื่อ พ.ศ. 2544 เข้าเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย ได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมคนแรกระหว่างปี พ.ศ. 2545 - 2547 [7]

ช่วงวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2549 นายประพัฒน์ ได้ลาออกจากตำแหน่งในคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และสมาชิกพรรคไทยรักไทย[8] แล้วย้ายมาสังกัดพรรคชาติไทย[9] ในปี พ.ศ. 2551 ได้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคชาติไทยซึ่งถูกยุบในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2551[10] ในระหว่างที่อยู่ในแวดวงการเมืองอยู่นั้น ฟาร์มที่จังหวัดลำปาง ก็ยังคงดำเนินกิจการอยู่ และเมื่อเว้นวรรคทางการเมืองได้กลับมาพัฒนางานด้านการเกษตรในพื้นที่และระดับชาติอย่างต่อเนือง จนได้รับความไว้วางใจได้รับเลือกจากเกษตรกรจังหวัดลำปาง ให้เป็น "ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดลำปาง" และได้รับเลือกเป็น "ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ "ในปี 2555 เป็นประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติคนแรกของประเทศไทย

หลัง รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เขาดำรงตำแหน่ง กรรมการในคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการมันสำปะหลัง ตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 105/2557 กรรมการอื่นในคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม[11]กรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร[12]ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการเตรียมการยุทธศาสตร์ชาติ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 8/2560 [13]กรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ตามพรบ.การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560

ใน วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2560 เขาพ้นจากตำแหน่ง กรรมการอื่นในคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม[14]ใน วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2560 เขาพ้นจากตำแหน่ง กรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร[15]และได้รับแต่งตั้งเป็น ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการเตรียมการยุทธศาสตร์ชาติ ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 8/2560 [16]

ในวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2562 นาย องอาจ ปัญญาชาติรักษ์ บุตรชายของ ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม[17] และในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 จากการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สุวิทย์ เมษินทรีย์ ลาออกจากตำแหน่ง [18] จึงทำให้ นาย องอาจ ปัญญาชาติรักษ์ พ้นจากตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปพร้อมกัน

เหตุการณ์ 14 ตุลา แก้

ก่อนช่วงเหตุการณ์ 14 ตุลา พ.ศ. 2516 นายประพัฒน์เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองของนักศึกษาหลายครั้ง ทั้งการประท้วงกรณีล่าสัตว์ที่ทุ่งใหญ่นเรศวร การประท้วงต่อต้านสินค้าญี่ปุ่น การเรียกร้องรัฐธรรมนูญ

นายประพัฒน์เป็นบุคคลในภาพถ่ายที่มีชื่อเสียง ในช่วงเหตุการณ์เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 เวลาประมาณเที่ยงวัน นายประพัฒน์ถือไม้หน้าสาม ประจัญหน้ากับทหารที่โอบล้อมเข้ามา และถูกยิงล้มลงบริเวณหน้าโรงแรมรัตนโกสินทร์ มีนักข่าวหลายคนจับภาพนี้ได้ และเป็นภาพที่เป็นที่จดจำในเหตุการณ์ 14 ตุลา จากภาพถ่ายนี้ทำให้ได้รับฉายาว่า "ไอ้ก้านยาว"[19]

รูปภาพ แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/242/26.PDF
  2. "นายกฯ เซ็น ตั้ง 39 ผู้ทรงคุณวุฒิ ป.ย.ป.แล้ว คนดังเพียบ!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-19. สืบค้นเมื่อ 2017-07-31.
  3. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/079/1.PDF
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-05. สืบค้นเมื่อ 2007-10-22.
  5. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/122/4.PDF
  6. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/044/6.PDF
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-11-12. สืบค้นเมื่อ 2007-10-22.
  8. http://www.komchadluek.net/2006/08/31/k001_42740.php?news_id=42740
  9. http://www.parliament.go.th/news/news_detail.php?prid=29011[ลิงก์เสีย]
  10. "เปิดชื่อ 109 กก.บริหาร "พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ" ถูกยุบ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 2011-06-10.
  11. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/122/4.PDF
  12. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/044/6.PDF
  13. "นายกฯ เซ็น ตั้ง 39 ผู้ทรงคุณวุฒิ ป.ย.ป.แล้ว คนดังเพียบ!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-19. สืบค้นเมื่อ 2017-07-31.
  14. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/122/4.PDF
  15. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/044/6.PDF
  16. "นายกฯ เซ็น ตั้ง 39 ผู้ทรงคุณวุฒิ ป.ย.ป.แล้ว คนดังเพียบ!". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-19. สืบค้นเมื่อ 2017-07-31.
  17. ตรวจสอบรายชื่อที่นี่! มติครม.13 ส.ค. ‘แต่งตั้ง ขรก.การเมือง – วิปรัฐบาล’ ครบทุกตำแหน่ง
  18. https://www.prachachat.net/politics/news-491873
  19. บันทึกเหตุการณ์ 14 ตุลา เก็บถาวร 2008-03-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สารคดีฉบับพิเศษ "รวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย", พ.ศ. 2541
  20. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๓, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
  21. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2015-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๙, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

ก่อนหน้า ประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ถัดไป
เริ่มตำแหน่ง    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(3 ตุลาคม พ.ศ. 254510 มีนาคม พ.ศ. 2547)
  สุวิทย์ คุณกิตติ