เอกพร รักความสุข
รองศาสตราจารย์ เอกพร รักความสุข (เกิด 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2504) เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม[1] ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ และเป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร
เอกพร รักความสุข | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม | |
ดำรงตำแหน่ง 29 พฤศจิกายน 2539 – 8 พฤศจิกายน 2540 ดำรงตำแหน่งร่วมกับ | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ |
ก่อนหน้า | พูนสวัสดิ์ มูลศาสตรสาทร |
ถัดไป | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย (2566 - ปัจจุบัน) |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | ก้าวหน้า (2529 - 2532) เอกภาพ (2532 - 2539) ความหวังใหม่ (2539 - 2545) ไทยรักไทย (2545 - 2550) พลเมืองไทย (2561 - 2566) |
คู่สมรส | ภัทรภร รักความสุข |
บุตร | เอกธนา รักความสุข ,เอกปัญญา รักความสุข ,บุญญาพร รักความสุข |
บุพการี |
|
ประวัติ
แก้เอกพร เกิดเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล จังหวัดสกลนคร เมื่อปี พ.ศ. 2521 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีนิติศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2525 สำเร็จการศึกษาเนติบัณฑิตไทย จากสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา ในปี พ.ศ. 2528 ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทรัฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาบริหารรัฐกิจ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปี พ.ศ. 2550 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก “ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต” สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
การทำงาน
แก้เอกพร รักความสุข เริ่มต้นทำงานการเมืองในปี พ.ศ. 2529 ด้วยการสมัครเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสกลนคร สังกัดพรรคก้าวหน้า ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2529 แต่เขาได้รับคะแนนเป็นลำดับที่ 7 จำนวน 19,699 คะแนนแต่ไม่ได้รับเลือกตั้งการสมัครในนามพรรคก้าวหน้ามีที่มาจากการที่วีระ รักความสุข ผู้เป็นบิดาเป็นเพื่อนกับหัวหน้าพรรคก้าวหน้า อุทัย พิมพ์ใจชน ต่อมาในปี พ.ศ. 2531 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสกลนคร สังกัดพรรคก้าวหน้า ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 โดยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่อายุน้อยที่สุดของสภาผู้แทนราษฎร เป็นคนเดียวของพรรคก้าวหน้าจากภาคอีสาน และได้รับเลือกตั้งลำดับที่สามของเขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดสกลนคร จำนวน 35,936 คะแนน ขณะที่ลำดับที่ 4 ได้คะแนน 35,793 คะแนน ถือว่ามีคะแนนห่างจากลำดับที่ 4 จำนวน 143 คะแนน
ในปี พ.ศ. 2532 เมื่อพรรคเอกภาพเป็นพรรคการเมืองที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของพรรคก้าวหน้า, พรรครวมไทย, พรรคประชาชนและ พรรคกิจประชาคม เขาจึงได้ย้ายมาสังกัดพรรคเอกภาพ และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสกลนคร ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 ในการเลือกตั้งครั้งนี้เขาได้รับคะแนนเป็นลำดับที่ ภาพได้รับความไว้วางใจเป็นลำดับที่ 1 จำนวน 85,216 คะแนน และในการเลือกตั้งปีเดียวกันเขาได้รับเลือกตั้งเป็นลำดับที่ 1 เช่นเดียวกัน และในการจัดตั้งรัฐบาลในครั้งนั้น เขาได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (อุทัย พิมพ์ใจชน)
ในปี พ.ศ. 2538 เอกพร ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งในสังกัดพรรคเอกภาพ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากคะแนนความนิยมของพรรคเอกภาพในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือลดลงจากเดิม ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสกลนคร สังกัดพรรคความหวังใหม่ ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 โดยได้รับเลือกตั้งเป็นลำดับที่ 1 ของเขตเลือกตั้งที่ 1 จังหวัดสกลนคร จำนวน 124,402 คะแนน
ภายหลังการเลือกตั้ง เขาได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในรัฐบาลของพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ
ในปี พ.ศ. 2544 เขาสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 14 สังกัดพรรคความหวังใหม่ ในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2544 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยพรรคความหวังใหม่ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อจำนวน 8 คน ต่อมาพรรคความหวังใหม่ จึงยุบรวมเข้ากับพรรคไทยรักไทย เขาจึงได้รับเลือกตั้งอีกครั้ง
ในปี พ.ศ. 2549 เขาสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 แต่ปรากฏว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคไทยรักไทย ในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 และตัดสิทธิ์เลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย จำนวน 111 คน เป็นระยะเวลา 5 ปี ในฐานะที่เป็นกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย จึงต้องยุติบทบาททางการเมืองตั้งแต่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
ในปี พ.ศ. 2561 เขาได้ร่วมกับนักการเมืองหลายคนในการสนับสนุนการจัดตั้งพรรคการเมืองใช้ชื่อพรรคพลังพลเมืองไทย[2] โดยรับตำแหน่งเลขาธิการพรรค[3] ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นพรรคพลเมืองไทย และเขารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคอยู่ช่วงระยะหนึ่ง
ปัจจุบัน ได้มาสังกัดพรรคเพื่อไทย และลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 38
งานด้านวิชาการ
แก้รองศาสตราจารย์ เอกพร รักความสุข เป็นอาจารย์ผู้สอนในระดับอุดมศึกษา ประจำมหาวิทยาลัยณิวัฒนา (มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ในปัจจุบัน) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา และเขายังได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2554 และเป็นรองศาสตราจารย์ ในปี พ.ศ. 2558
นอกจากนั้นแล้ว รองศาสตราจารย์ เอกพร ได้ทำหน้าที่เป็นประธานหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น และเป็นคณะผู้วิจัยโดยได้งานวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เรื่อง “นโยบายการแข่งขันทางยุทธศาสตร์ของมหาอำนาจ Asia Pacific จีน สหรัฐอเมริกาและรัสเซีย” โดยรับผิดชอบในประเด็นที่เกี่ยวกับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน รวมทั้งเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยเวสเทิร์น และเป็นประธานมูลนิธิวิทยาลัยชาวบ้าน
งานธุรกิจ
แก้เอกพร เป็นประธานกรรมการบริษัท กันกุล เอนจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 ถึงปี พ.ศ. 2555
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2543 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๙ ราย)
- ↑ "อดีตสส. 30 คน ตั้งพรรคพลังพลเมืองสู้เลือกตั้ง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-25. สืบค้นเมื่อ 2018-03-06.
- ↑ รับตำแหน่งเลขาธิการพรรค
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๒, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐