ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์

ศาสตราจารย์ ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา[1] อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานท์ ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ประธานสภาพัฒนาการเมือง [2]กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี[3]และกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ[4]

ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
9 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์
ก่อนหน้าสุรนันทน์ เวชชาชีวะ
ถัดไปชูศักดิ์ ศิรินิล
จักรภพ เพ็ญแข
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 (69 ปี)
คู่สมรสพิมลพรรณ เสรีรังสรรค์
บุตรนางสาวธีรพิมล เสรีรังสรรค์
นางสาวจิตพิมล เสรีรังสรรค์

ประวัติ

แก้

ศ.ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ หรือ ศ.ดร.ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ เกิดเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 จบการศึกษาระดับปริญญาเอกจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มทำงานด้วยเป็นนักข่าวที่หนังสือพิมพ์สยามรัฐ และเป็นผู้ก่อตั้ง บรรณาธิการนิตยสาร "สู่อนาคต" ซึ่งเป็นนิตยสารรายสัปดาห์ที่ได้รับรางวัลดีเด่นสำหรับเยาวชนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมเยาวชนแห่งชาติ เมื่อปี 2524 หลังจากนั้นจึงเข้ารับราชการเป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จนกระทั่งได้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์หรือตำแหน่งคณบดี ส่วนตำแหน่งอื่นๆที่สำคัญในมหาวิทยาลัย ได้แก่ ผู้ช่วยอธิการบดี ผู้อำนวยการสำนักการศึกษาต่อเนื่อง เป็นต้น

นอกจากนั้นเคยได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมรัฐศาสตร์แห่งประเทศไทย 2 สมัย เป็นกรรมการวิชาการ สถาบันพระปกเกล้า กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มีผลงานวิจัยหลายชิ้นอันเป็นที่มาของการปฏิรูปการเมืองไทยหลายประการ อาทิ การจัดตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เป็นต้น

งานการเมือง

แก้

สำหรับบทบาทที่เกี่ยวข้องทางด้านการเมือง เคยดำรงตำแหน่งที่ปรึกษา นักวิชาการ ผู้ชำนาญการประจำคณะกรรมาธิการสามัญของสภาผู้แทนราษฎรหลายคณะ และยังได้รับการทาบทามจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งบุคคลแรกๆ ของแนวคิดในการจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ ซึ่งต่อมาจึงเป็น 1 ใน 23 บุคคลที่ร่วมกันจัดตั้งพรรคไทยรักไทยขึ้นในปี พ.ศ. 2541 ก่อนที่จะแยกตัวออกมาเนื่องจากความคิดเห็นไม่ตรงกันในเวลาต่อมา และในช่วงวิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2549 ศ.ดร. ธีรภัทร์ เป็นหนึ่งในบรรดานักวิชาการที่แสดงความไม่เห็นด้วยกับแนวทางของรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร

ดร.ธีรภัทร ได้ร่วมลงนามทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอนายกรัฐมนตรีพระราชทาน เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2549 โดยอ้างอิงความตามมาตรา 7 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540[5]

ภายหลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะที่ปรึกษาฝ่ายการเสริมสร้างสมานฉันท์และความเป็นธรรมในสังคมของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (คปค.) ตามคำสั่งของคณะฉบับที่ 17 รวมทั้งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ด้วย [6]

หลังพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรี

แก้

หลังจากหมดวาระการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีดังกล่าวจึงกลับมารับราชการในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเช่นเดิม และยังเป็นอาจารย์พิเศษให้แก่มหาวิทยาลัยต่างๆทั้งของรัฐและเอกชนหลายแห่ง และในปี พ.ศ. 2553 ได้รับแต่งตั้งเป็น ศาสตราจารย์ ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช[7]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. กรรมการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง
  2. ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ เป็น ประธานสภาพัฒนาการเมือง
  3. กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  4. กรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ
  5. นายกรัฐมนตรีพระราชทาน
  6. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (คณะรัฐมนตรี ชุดที่มี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี)
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (จำนวน ๑๙ ราย)
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2013-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๙ ตอนที่ ๓๕ ข หน้า ๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๕
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2010-10-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๙, ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๑๗๑, ๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๗

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  • กองบรรณาธิการมติชน. รัฐประหาร 19 กันยา '49 เรียบแต่ลึก. กรุงเทพฯ : มติชน, 2549. ISBN 947-323-851-4