เฉลิมเดช ชมพูนุท
พลตำรวจเอก เฉลิมเดช ชมพูนุท อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร
เฉลิมเดช ชมพูนุท | |
---|---|
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 14 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 8 สิงหาคม พ.ศ. 2548 | |
นายกรัฐมนตรี | พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | นายจักรภพ เพ็ญแข |
ถัดไป | นายแพทย์ สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 6 มกราคม พ.ศ. 2509 |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ไทยรักไทย |
ประวัติ
แก้เฉลิมเดช ชมพูนุท สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (จปร.) รุ่นที่ 21 รุ่นเดียวกับ นพดล สมบูรณ์ทรัพย์ อชิรวิทย์ สุวรรณเภสัช[1] และผ่านการอบรมหลักสูตรจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่น 39 รุ่นเดียวกับวิษณุ เครืองาม
การทำงาน
แก้เฉลิมเดช ชมพูนุท เริ่มรับราชการตำรวจในปี พ.ศ. 2511 เคยดำรงตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจท่องเที่ยว ผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด ผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล ผู้บัญชาการกองบัญชาการศึกษา และตำแหน่งอื่นๆ อีกหลายตำแหน่ง จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2548 พลตำรวจเอก เฉลิมเดช ชมพูนุท ได้รับการแต่งตั้งเป็นโฆษกสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร [2]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2546 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[5]
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
อ้างอิง
แก้- ↑ "สิ้นลมสงบ! 'ผู้การทอง' อดีตผบก.ป. แฉหลายโรค รุมคร่าชีวิต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-01-14. สืบค้นเมื่อ 2010-10-27.
- ↑ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 45/2548 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมืองราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอนพิเศษ 49ง วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2548
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑๖, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒๘, ๕ มกราคม ๒๕๔๙
ก่อนหน้า | เฉลิมเดช ชมพูนุท | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
จักรภพ เพ็ญแข | โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (14 มีนาคม พ.ศ. 2548- 8 สิงหาคม พ.ศ. 2548) |
นายแพทย์ สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี |