อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ศาสตราจารย์พิเศษ อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ (24 สิงหาคม 2487 - ) องคมนตรีอาจารย์พิเศษประจำ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[1] อดีตประธานศาลฎีกา (1 ต.ค. 2545 - 30 ก.ย. 2547) ประธานสมาคมกฎหมายอาเซียน
อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ | |
---|---|
องคมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 16 สิงหาคม 2550 – 6 ธันวาคม 2559 (9 ปี 112 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 6 ธันวาคม 2559 (7 ปี 289 วัน) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ประธานศาลฎีกา คนที่ 34 | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม 2545 – 30 กันยายน 2547 (1 ปี 364 วัน) | |
ก่อนหน้า | นายสันติ ทักราล |
ถัดไป | นายศุภชัย ภู่งาม |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 24 สิงหาคม พ.ศ. 2487 |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | นางสุดใจ ดิษฐอำนาจ |
ประวัติ
แก้นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ เข้าศึกษาชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยและโรงเรียนเทพศิรินทร์ เมื่อ ปี พ.ศ. 2500 เลขประจำตัว 8526 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, เนติบัณฑิตไทย (สอบได้อันดับที่ 3 ของสมัยที่ 18) ปี 2508 และจบปริญญาโทด้านกฎหมาย จาก Harvard Law School ประเทศสหรัฐอเมริกา
นายอรรถนิติสมรสกับ นางสุดใจ ดิษฐอำนาจ
การทำงาน
แก้หลังสำเร็จการศึกษาสอบเข้าเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษาได้เมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2513 โดยระหว่างรับราชการได้เริ่มต้นเป็นผู้พิพากษาประจำศาลจังหวัดภูเขียว (ชัยภูมิ) เมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2514 และได้เป็นผู้พิพากษาประจำจังหวัดนครราชสีมา เมื่อปี 2515 และได้เข้ามาเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2517 โดยระหว่างปฏิบัติหน้าที่ได้รับความก้าวหน้าในหน้าที่การงานมาโดยตลอด ซึ่งเมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2520 ได้เป็นผู้ช่วยเลขานุการ รมว.ยุติธรรม และเมื่อวันที่ 2 ต.ค. 2529 ได้ดำรงตำแหน่งเป็นเลขานุการศาลฎีกา กระทั่งปี 2530 ได้เป็นเลขาธิการส่งเสริมงานตุลาการ ซึ่งเป็นงานด้านบริหาร จากนั้นเมื่อเดือน ต.ค. ปี 2535 ก็ได้กลับไปดำรงตำแหน่งเป็นรองอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง และเป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญาธนบุรี ปี 2542 และในเดือน ต.ค. ปีเดียวกัน ได้เป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลแพ่ง กระทั่งเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2544 ได้ขึ้นเป็นประธานศาลอุทธรณ์ ซึ่งขณะนั้นเป็นตำแหน่งสำคัญที่จะได้ถูกเสนอชื่อเป็นประธานศาลฎีกาได้ โดยเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2545 จึงได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นประธานศาลฎีกา ประมุขศาลยุติธรรม คนที่ 34 โดย นายอรรถนิติ ดำรงตำแหน่งเป็นประธานศาลฎีกานานถึง 2 ปี โดยเกษียณราชการเมื่ออายุครบ 60 ปี ในวันที่ 30 ก.ย. 2547
และแม้นว่าจะเกษียณราชการแล้ว นายอรรถนิติ ยังคงปฏิบัติงานด้านกฎหมาย เป็นศาสตราจารย์พิเศษ ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[2] และปัจจุบันเป็นประธานสมาคมกฎหมายอาเซียน ตลอดระยะเวลาการปฏิบัติหน้าที่ นายอรรถนิติ ได้รับพระราชทานเครื่องอิสริยาภรณ์หลายลำดับชั้น รวม 10 ลำดับ โดยก่อนเกษียณราชการได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ เมื่อวันที่ 5 พ.ย. 2547 นอกจากนั้น ยังได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นกรรมการกฤษฎีกา ตั้งแต่ พ.ศ. 2543
นายอรรถนิติได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2550[3]
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการมูลนิธิเพชรรัตน-สุวัทนา
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2533 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2562 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[6]
- พ.ศ. 2538 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[7]
- พ.ศ. 2562 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 10 ชั้นที่ ๓ (ว.ป.ร.๓)[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ "รายชื่ออาจารย์พิเศษ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-16. สืบค้นเมื่อ 2019-10-16.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์พิเศษ (นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งองคมนตรี (นายอรรถนิติ ดิษฐอำนาจ)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
- ↑ 6.0 6.1 ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2019-08-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๔๖ ข หน้า ๑, ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๔ ข, หน้า ๔๕๐, ๑๕ มีนาคม ๒๕๓๙
ก่อนหน้า | อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
นายสันติ ทักราล | ประธานศาลฎีกา (คนที่ 34) (1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 - 30 กันยายน พ.ศ. 2547) |
นายศุภชัย ภู่งาม |