สันติ ทักราล
สันติ ทักราล (8 มีนาคม พ.ศ. 2485 – 29 เมษายน พ.ศ. 2554) เป็นผู้พิพากษาชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งองคมนตรีและประธานศาลฎีกา
สันติ ทักราล | |
---|---|
ประธานศาลฎีกา คนที่ 33 | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม 2544 – 30 กันยายน 2545 | |
ก่อนหน้า | ธวัชชัย พิทักษ์พล |
ถัดไป | อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 มีนาคม พ.ศ. 2485 จังหวัดแพร่ ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 29 เมษายน พ.ศ. 2554 (69 ปี) โรงพยาบาลกรุงเทพ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ศาสนา | ซิกข์ |
ประวัติ
แก้สันติ ทักราล เกิดที่ตำบลน้ำชำ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ เป็นชาวไทยเชื้อสายอินเดีย นับถือศาสนาซิกข์ บิดามารดามีอาชีพขายผ้า เป็นบุตรคนสุดท้องในบรรดาพี่น้อง 6 คน ในสมัย รสช. ขณะดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลฎีกา สันติเป็นผู้รับผิดชอบคดี ยึดทรัพย์นักการเมือง 13 ราย
สันติ ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี เมื่อ พ.ศ. 2548[1]
สันติ ทักราล ถึงแก่อนิจกรรมจากภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554 สิริอายุได้ 69 ปี โดยในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554 เวลา 15.45 น. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ ไปยังศาลา 9 วัดเทพศิรินทราวาส ในการพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ และวางพวงมาลาหลวง พวงมาลาของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่หน้าโกศศพ
และในวันเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ในการพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
การศึกษา
แก้- ระดับมัธยมศึกษา จากโรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก
- พ.ศ. 2506 – ปริญญาตรีนิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- พ.ศ. 2507 – เนติบัณฑิต สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
- พ.ศ. 2516 – ประกาศนียบัตร Academy of American and International Law, S.M.U., สหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2516 – ประกาศนียบัตรการอบรมผู้พิพากษา National College of State Judiciary, มหาวิทยาลัยเนวาดา สหรัฐอเมริกา
- พ.ศ. 2520 – ประกาศนียบัตร Administration of Criminal Justice, United Nations Asia and Far East Institute for the Prevention of Crime and Treatment of Offender, ประเทศญี่ปุ่น
- พ.ศ. 2523 – ปริญญาโทรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- พ.ศ. 2546 – ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ตำแหน่งที่สำคัญในอดีต
แก้- ประธานศาลฎีกา (2544–2545)
- รองประธานศาลฎีกา (2542–2544)
- ผู้พิพากษาหัวหน้าแผนกคดีภาษีอากรในศาลฎีกา (2541–2542)
- อธิบดีผู้พิพากษาศาลภาษีอากรกลาง (2539–2541)
- ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา (2536–2539)
- องคมนตรี (2548–2554)
- กรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล
- กรรมการกฤษฎีกา คณะที่ ๓
- ผู้พิพากษาอาวุโสศาลภาษีอากรกลาง (2545–2548)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2533 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
- พ.ศ. 2550 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[4]
- พ.ศ. 2536 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งองคมนตรี (นายสันติ ทักราล และ พลเรือเอก ชุมพล ปัจจุสานนท์)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2011-08-23.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2010-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๒๔๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2008-12-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๖ ข หน้า ๒, ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๔๒๓, ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗
ก่อนหน้า | สันติ ทักราล | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ธวัชชัย พิทักษ์พล | ประธานศาลฎีกา คนที่ 33 (1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 – 30 กันยายน พ.ศ. 2545) |
อรรถนิติ ดิษฐอำนาจ |