พงษ์เทพ หนูเทพ
พลเรือเอก พงษ์เทพ หนูเทพ (เกิด 29 สิงหาคม 2500) ชื่อเล่น นิค องคมนตรีไทยท่านเดียวที่เป็นทหารเรือในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ประธานคณะกรรมการบริหารมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์[1] กรรมการในคณะกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช[2] อดีตรอง ปลัดกระทรวงกลาโหม และอดีตผู้บัญชาการ โรงเรียนนายเรือ
พงษ์เทพ หนูเทพ | |
---|---|
องคมนตรี | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 8 มิถุนายน 2560 (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days) | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 29 สิงหาคม พ.ศ. 2500 จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย |
คู่สมรส | อินทริยา หนูเทพ |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพเรือไทย กองบัญชาการกองทัพไทย กระทรวงกลาโหม |
ประจำการ | - 2560 |
ยศ | พลเรือเอก |
บังคับบัญชา | กองบัญชาการกองทัพไทย กระทรวงกลาโหม |
ประวัติ
แก้พลเรือเอกพงษ์เทพหรือ บิ๊กนิค เกิดเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2500 ที่ อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี เป็นบุตรของเรือเอกโยธิน และ นางผจง หนูเทพ ปัจจุบันสมรสแล้วกับคุณ อินทริยา หนูเทพ มีบุตร-ธิดา ทั้งสิ้น 3 คน เป็นชาย 1 หญิง 2 คือ น.ส. อริยพร หนูเทพ , นายพิริยพงษ์ หนูเทพ และ น.ส. อรัชพร หนูเทพ
การศึกษา
แก้พลเรือเอกพงษ์เทพ หนูเทพ จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนสัตหีบ จากนั้นจึงเข้าศึกษาต่อที่ โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 16 และ โรงเรียนนายเรือ รุ่น 73
รับราชการ
แก้พลเรือเอกพงษ์เทพรับราชการในหลายตำแหน่งอาทิ ผู้บังคับการเรือ ต. 97 ต้นหนรับเรือหลวงสุโขทัย ผู้บังคับการเรือหลวงอุดมเดช ผู้บังคับการเรือหลวงรัตนโกสินทร์ ราชองครักษ์เวร ผู้บังคับการกรมนักเรียนนายเรือรักษาพระองค์ ผู้บัญชาการโรงเรียนนายเรือ ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพเรือ กระทั่งได้รับโปรดเกล้า ฯ ให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงกลาโหม เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 ก่อนจะได้รับโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งองคมนตรี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2562 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2567 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[5]
- พ.ศ. 2550 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[6]
- พ.ศ. 2533 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[7]
- พ.ศ. 2562 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 10 ชั้นที่ ๓ (ว.ป.ร.๓)[3]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประธานคณะกรรมการบริหารมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
- ↑ กรรมการในคณะกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช
- ↑ 3.0 3.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก และเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๓๖ ตอนที่ ๔๖ ข หน้า ๒, ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๖, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๓๐ ข หน้า ๑๖, ๖ ธันวาคม ๒๕๕๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๗๘ ข หน้า ๒, ๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๒๔ ตอนที่ ๑๒ ข หน้า ๑๑, ๕ กันยายน ๒๕๕๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๑๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘๙, ๒๒ มิถุนายน ๒๕๓๔