ประกอบ หุตะสิงห์
ศาสตราจารย์ ประกอบ หุตะสิงห์ (5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 – 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2537) เป็นอดีตประธานศาลฎีกา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รองนายกรัฐมนตรี นายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และองคมนตรีไทย
ประกอบ หุตะสิงห์ | |
---|---|
ประธานศาลฎีกา | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2510 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2515 | |
ก่อนหน้า | สัญญา ธรรมศักดิ์ |
ถัดไป | ทองคำ จารุเหติ |
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 – 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 | |
นายกรัฐมนตรี | สัญญา ธรรมศักดิ์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 | |
ก่อนหน้า | กมล วรรณประภา |
ถัดไป | กิตติ สีหนนทน์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 เมืองพระนคร ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 (82 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
คู่สมรส | ท่านผู้หญิงชวนชื่น หุตะสิงห์ |
อาชีพ | ข้าราชการ นักการเมือง |
ประวัติ
แก้ประกอบ หุตะสิงห์ เกิดเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 เป็นบุตรของพระยาสรรพกิจเกษตรการ (เกียรติ หุตะสิงห์) กับคุณหญิง ศวง สรรพกิจเกษตรการ[1] เข้าศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนวัดสุทธิวราราม สำเร็จการศึกษาเป็น ธรรมศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง และเป็นนักเรียนไทยรุ่นแรก ๆ ที่ไปศึกษาด้านนิติศาสตร์ที่ประเทศเยอรมัน เมื่อ พ.ศ. 2471-72[2] และจบปริญญาเอกเมื่อ พ.ศ. 2480 ที่มหาวิทยาลัยเยนา (Friedrich-Schiller-Universität Jena) โดยทำวิทยานิพนธ์ด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญ ในหัวข้อ "Die Verfassung des Königreichs Siam vom 10. Dezember 1932 und das parlamentarische Regierungssystem"
เขาสมรสกับท่านผู้หญิงชวนชื่น (สกุลเดิม: บุนนาค) (8 ตุลาคม พ.ศ. 2462 - 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556) ธิดาพระยาสุริยานุวงศ์ประวัติ (เต๋า บุนนาค) กับคุณหญิงเยื้อน (สกุลเดิม: ยุกตะนันทน์) มีบุตรธิดา 4 คน คือ สุประดิษฐ์ (ช.), ประตาป (ช.), ประมวล (ช.) และ กอบชื่น (ญ.)[1]
ประกอบมีศักดิ์เป็นหลานอาของพระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) อดีตนายกรัฐมนตรีไทย
การทำงาน
แก้ประกอบ หุตะสิงห์รับราชการศาลยุติธรรมจนดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกา ระหว่าง พ.ศ. 2510 — 2515 ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม[3] และรองนายกรัฐมนตรี[4][5] เมื่อ พ.ศ. 2516-2518 ในรัฐบาลสัญญา ธรรมศักดิ์ ภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา
ศาสตราจารย์ประกอบ หุตะสิงห์ ได้รับการแต่งตังเป็นศาสตราจารย์[6] และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นองคมนตรีเมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2518 และเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[7] อยู่ในตำแหน่งจนถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2537[8]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2518 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)[9]
- พ.ศ. 2510 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[10]
- พ.ศ. 2507 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[11]
- พ.ศ. 2517 – เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา (ร.ด.ม.(ศ)) สาขานิติศาสตร์[12]
- พ.ศ. 2511 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[13]
- พ.ศ. 2522 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 (ภ.ป.ร.1)[14]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "สายเจ้าคุณพระราชพันธุ์นวลชั้นที่ 7 สายพระยาสุริยานุวงศ์ประวัติ (เต๋า บุนนาค) บุตรเจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต)". ชมรมสายสกุลบุนนาค. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-28. สืบค้นเมื่อ 12 Nov 2014.
- ↑ "นักเรียนนายร้อยในในเยอรมันยุคไกเซอร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-25. สืบค้นเมื่อ 2007-11-03.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2007-11-03.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (๓๐ ราย)
- ↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ ๓๔, ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๑๗ - ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๘". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-03. สืบค้นเมื่อ 2007-11-03.
- ↑ ได้รับการแต่งตังเป็นศาสตราจารย์
- ↑ คำสั่งหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ที่ ๔๓/๒๕๑๙ เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหามหาวิทยาลัย อธิการบดีและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ↑ จีรวัฒน์ ครองแก้ว. องคมนตรี ศักดิ์ศรีแผ่นดิน. กรุงเทพ : มูลนิธิทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ, พ.ศ. 2550. 269 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-7362-09-1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๒ ตอนที่ ๙๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒, ๑๖ พฤษภาคม ๒๕๑๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๑๒๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๘, ๓๐ ธันวาคม ๒๕๑๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๔๙ ง หน้า ๗๐๐, ๑๙ มีนาคม ๒๕๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๒๔๙, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๕๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๑๓ กันยายน ๒๕๒๒