คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อังกฤษ: Faculty of Journalism and Mass Communication, Thammasat University) เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กระทรวงศึกษาธิการ โดยเป็นคณะที่เปิดสอนด้านวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนแห่งแรกของประเทศไทย หรือที่เรียกทั่วไปภายหลังเรียกว่า "นิเทศศาสตร์" ทั้งยังเป็นที่ตั้งของสมาคมวารสารศาสตร์แห่งประเทศไทยด้วย คณะวารสารศาสตร์ฯ ยังเป็นหนึ่งในคณะที่มีคะแนนแอดมิชชั่นกลางและอัตราส่วนการแข่งขันสูงสุดในประเทศไทย โดยรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีคะแนนสอบแอดมิชชั่นทั้งประเทศสูงสุด 1 ใน 10 ของประเทศทุกๆ ปี (โดยปี พ.ศ. 2559 รับนักเรียนที่มีคะแนนสูงสุดอันดับ 1 ของประเทศ) ปัจจุบันคณะวารสารฯ มุ่งพันธกิจอันเป็นสถาบันชั้นนำของประเทศ ที่ผลิตบุคลากรแถวหน้าเพื่อยกระดับวิชาชีพและวิชาการด้านสื่อสารมวลชนทั้งแวดวงสื่ออิสระและสื่อกระแสหลัก

คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Faculty of Journalism and Mass Communication,
Thammasat University
ชื่อย่อJC
สถาปนา26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497 (70 ปี)
คณบดีผศ.ดร.อัจฉรา ปัณฑรานุวงศ์
ที่อยู่
ท่าพระจันทร์
ตึกคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน
2 ถนนพระจันทร์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
ศูนย์รังสิต
อาคารเรียนและที่ทำการคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน
99 หมู่ 18 ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12121
วารสารวารสารศาสตร์
สี  สีม่วงเม็ดมะปราง
มาสคอต
นกพิราบ (ไม่เป็นทางการ)
สถานปฏิบัติ
  • อาคารปฏิบัติการสื่อสารมวลชน
  • โรงภาพยนตร์คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน
เว็บไซต์www.jc.tu.ac.th

ประวัติคณะ

แก้

คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน เป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดสอนวิชาการด้านสื่อสารมวลชน (นิเทศศาสตร์) ในระดับปริญญาตรี โดยแรกเริ่มนั้นจัดตั้งขึ้นในฐานะแผนกวารสารศาสตร์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ เพื่อเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกในประเทศไทยที่เปิดสอนวิชาการสาขาวารสารศาสตร์ ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2497 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 71 ตอนที่ 11 วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497) มีหลักการและเหตุผลโดยย่อว่า

เพื่อส่งเสริมการศึกษาในด้านการสังคมสงเคราะห์และวารสารศาสตร์ให้มีมาตรฐานเทียบเท่ามหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ดังนั้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2495 และมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2497 สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้ตราข้อบังคับให้แบ่งแยกแผนกวิชาภายในคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ออกเป็น 2 แผนก คือ แผนกสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ และแผนกวารสารศาสตร์ ให้เปิดการศึกษาวิชาทั้งสองแผนกดังกล่าวตั้งแต่ปีการศึกษา พ.ศ. 2497 (ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการแบ่งแยกแผนกวิชาภายในคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ พ.ศ. 2497 ประกาศ ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497) โดยกำหนดเรียกชื่อปริญญาและอักษรย่อไว้ดังต่อไปนี้

ผู้ที่สอบไล่ได้ครบทุกลักษณะวิชาตามหลักสูตรในแผนกวิชาวารสารศาสตร์ จะได้รับปริญญาดังต่อไปนี้

  1. ผู้ได้ปริญญาตรี เรียกว่า "วารสารศาสตร์บัณฑิต" ใช้อักษรย่อว่า "ว.บ."
  2. ผู้ได้ปริญญาโท เรียกว่า "วารสารศาสตร์มหาบัณฑิต" ใช้อักษรย่อว่า "ว.ม."
  3. ผู้ได้ปริญญาเอก เรียกว่า "วารสารศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต" ใช้อักษรย่อว่า "ว.ด."

ในปีการศึกษา 2509 สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้อนุมัติให้คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์เปิดการศึกษาวิชาการหนังสือพิมพ์ภาคค่ำขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมวิทยฐานะของนักหนังสือพิมพ์อาชีพให้สูงขึ้น รวมทั้งพัฒนาการสื่อสารมวลชนทางด้านหนังสือพิมพ์ และขยายบริการการศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยให้มีหลักสูตรการศึกษา 3 ปี ผู้ที่สอบไล่ได้ครบทุกลักษณะวิชาตามหลักสูตรนี้จะได้รับประกาศนียบัตรวิชาการหนังสือพิมพ์

ในปีการศึกษา 2512 มีการปรับปรุงการศึกษาภาคค่ำของแผนกวารสารศาสตร์ใหม่ โดยระงับการรับสมัครเข้าศึกษาวิชาการหนังสือพิมพ์ภาคค่ำ และเปิดสอนระดับปริญญาตรีแทนในปีการศึกษาเดียวกันนั้น โดยใช้เวลาในการศึกษา 6 ปี ผู้ที่สอบไล่ได้ครบทุกลักษณะวิชาตามหลักสูตรจะได้รับปริญญาวารสารศาสตร์บัณฑิต มีศักดิ์และสิทธิ์เหมือนวารสารศาสตร์บัณฑิตหลักสูตรการศึกษา 4 ปี ทุกประการ การศึกษาในด้านวารสารศาสตร์ได้เจริญก้าวหน้ามาเป็นลำดับ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2513 แผนกวารสารศาสตร์ จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นแผนกอิสระวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ดังราชกิจจานุเบกษา เล่ม 87 ตอนที่ 116 วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2513 ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งแผนกอิสระวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2513 ให้ไว้ ณ วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2513

เนื่องจากการศึกษาในสาขาวิชาสื่อสารมวลชนได้เจริญก้าวหน้าและขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงได้มีการยกฐานะแผนกอิสระวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนขึ้นเป็น "คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน" ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 เป็นต้นมา ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเรียกชื่อปริญญา การใช้อักษรย่อสำหรับปริญญาและครุยวิทยฐานะในคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2522 ให้ไว้ ณ วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2522 ดังราชกิจจานุเบกษา เล่ม 96 ตอนที่ 201 วันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2522 และประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง การแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ "ให้มีสำนักงานเลขานุการในคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน" ประกาศ ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2522

สีประจำคณะ

แก้

ในคราวประชุมคณบดี ครั้งที่ 7/2533 เมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2533 ได้มีมติให้คณะใหม่ไปพิจารณาเลือกสีประจำคณะที่ไม่ซ้ำกับคณะเก่า สำหรับคณะเก่าก็ขอให้กำหนดสีที่ชัดเจนด้วย คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนจึงนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ โดยมติประชุมกำหนดให้สีม่วงเม็ดมะปรางเป็นสีประจำคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนนับแต่นั้นเป็นต้นมา

ปริญญา

แก้

ในปี พ.ศ. 2534 มีพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะและเข็มวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยรวบรวมการเรียกชื่อปริญญาและสีประจำสาขาวิชาทั้งของสาขาวิชาเดิมและสาขาวิชาใหม่ไว้ในพระราชกฤษฎีกาฉบับเดียวกัน และพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ได้มีการสะกดชื่อปริญญาของคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนแตกต่างไปจากเดิมเล็กน้อย โดยตัดเครื่องหมายทัณฑฆาตท้ายคำว่า "ศาสตร์" ออก ดังพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะและเข็มวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2534 ให้ไว้ ณ วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 108 ตอนที่ 122 วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 (7) สาขาวิชาวารสารศาสตร์ มีปริญญาสามชั้น ได้แก่

  1. ผู้ได้ปริญญาตรี เรียกว่า "วารสารศาสตรบัณฑิต" ใช้อักษรย่อว่า "ว.บ."
  2. ผู้ได้ปริญญาโท เรียกว่า "วารสารศาสตรมหาบัณฑิต" ใช้อักษรย่อว่า "ว.ม."
  3. ผู้ได้ปริญญาเอก เรียกว่า "วารสารศาสตรดุษฎีบัณฑิต" ใช้อักษรย่อว่า "ว.ด."

กลุ่มสาขาวิชา

แก้

เพื่อให้การศึกษาและวิจัยทางวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนในแขนงต่างๆ แก่นักศึกษา ให้ได้มีความรู้ความชำนาญ สามารถวินิจฉัยและตัดสินปัญหาของสังคมในส่วนที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะไปใช้ในการประกอบวิชาชีพวารสารศาสตร์ มีจริยธรรมและสำนึกต่อสังคม มีความรู้และทักษะในวิชาชีพ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 6 กลุ่มสาขาวิชา ดังนี้

หลักสูตรที่เปิดสอน

แก้
ระดับปริญญาตรี
  • หลักสูตรวารสารศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556)
  • หลักสูตรวารสารศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561)
  • หลักสูตรวารสารศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสื่อมวลชนศึกษา (หลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2556
  • หลักสูตรวารสารศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสื่อศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561


ระดับปริญญาโท
  • หลักสูตรวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารมวลชน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559)
  • หลักสูตรวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564)
  • หลักสูตรวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสื่อสารมวลชน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559)
  • หลักสูตรวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสื่อและเนื้อหา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564)
  • หลักสูตรวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการสื่อสารองค์กร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559)
  • หลักสูตรวารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการสื่อสารองค์กร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564)


ระดับปริญญาเอก
  • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสื่อสารวิทยา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559)
  • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสื่อและการสื่อสาร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564)

บุคคลสำคัญคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน

แก้

รายนามคณบดี[1]

แก้

หัวหน้าแผนกอิสระแผนกอิสระวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน

แก้
คำนำหน้าชื่อ รายชื่อ ดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
อาจารย์ ดร. เกษม ศิริสัมพันธ์ พ.ศ. 2514 – 2517 หัวหน้าแผนกอิสระ
รองศาสตราจารย์ ดร. สมควร กวียะ พ.ศ. 2517 – 2522 หัวหน้าแผนกอิสระ

คณบดีคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน

แก้
คำนำหน้าชื่อ รายชื่อ ดำรงตำแหน่ง หมายเหตุ
รองศาสตราจารย์ ดร. บุญเลิศ ศุภดิลก พ.ศ. 2522 – 2526
ศาสตราจารย์ สุธี นาทวรทัต พ.ศ. 2526 – 2527 ผู้รักษาการแทนในตำแหน่งคณบดี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชวลิต ปัญญาลักษณ์ พ.ศ. 2527 – 2529
รองศาสตราจารย์ ดร. เสรี วงษ์มณฑา พ.ศ. 2529 – 2531
ศาสตราจารย์ ดร. บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา พ.ศ. 2531 – 2534
รองศาสตราจารย์ อรทัย ศรีสันติสุข พ.ศ. 2534 – 2537
รองศาสตราจารย์ ดร. สุรัตน์ เมธีกุล พ.ศ. 2537 – 2540
รองศาสตราจารย์ ปิยกุล เลาวัณย์ศิริ พ.ศ. 2540 – 2546
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธนัญญา เชรษฐา พ.ศ. 2546 – 2549
รองศาสตราจารย์ มาลี บุญศิริพันธ์ พ.ศ. 2549 – 2551
รองศาสตราจารย์ ดร. พรจิต สมบัติพานิช พ.ศ. 2551 – 2554
รองศาสตราจารย์ พรทิพย์ สัมปัตตะวนิช พ.ศ. 2555 – 2560
รองศาสตราจารย์ ดร. อัจฉรา ปัณฑรานุวงศ์ พ.ศ. 2561 – 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
รองศาสตราจารย์ ปัทมา สุวรรณภักดี 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 – 7 กันยายน พ.ศ. 2563 ผู้รักษาการแทนในตำแหน่งคณบดี
รองศาสตราจารย์ ประไพพิศ มุทิตาเจริญ 8 กันยายน พ.ศ. 2563 – 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 ผู้รักษาการแทนในตำแหน่งคณบดี
รองศาสตราจารย์ กัลยกร วรกุลลัฎฐานีย์ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2563 - ปัจจุบัน

คณาจารย์ที่มีชื่อเสียง

แก้
คำนำหน้าชื่อ รายชื่อ เกียรติประวัติ
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน
หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช (อดีตอาจารย์พิเศษ) นักปราชญ์ นักเขียน นักการเมือง ศิลปินแห่งชาติ และอดีตนายกรัฐมนตรี อาจารย์พิเศษคณะวารสารฯ สมัยที่ยังเป็นแผนกอิสระ
สุภา ศิริมานนท์ (อดีตอาจารย์) นักประพันธ์ นักหนังสือพิมพ์ และนักวารสารศาสตร์คนสำคัญของประเทศไทย และผู้สื่อข่าวสงครามคนแรกของประเทศไทย
ดร. เกษม ศิริสัมพันธ์ (อดีตอาจารย์) หัวหน้าแผนกอิสระคนแรกของคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน พ.ศ. 2514–2517 สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ สมาชิกวุฒิสภา ผู้มีบทบาทต่อวิชาชีพสื่อมวลชนไทย
รองศาสตราจารย์ มาลี บุญศิริพันธ์ (ศิษย์เก่า,อดีตอาจารย์) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสื่อสารมวลชน นักวารสารศาสตร์ อดีตคณบดีคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน และประธานกรรมการนโยบาย ไทยพีบีเอส
ศาสตราจารย์ ดร. สุรพงษ์ โสธนะเสถียร (อาจารย์) ศาสตราจารย์ประจำคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน นักวิจัยทางสังคมศาสตร์ นักวิชาการด้านการบริหารและการจัดการทางด้านการสื่อสาร และการสื่อสารทางการเมือง รางวัลเมธีวิจัยอาวุโส สกว. พ.ศ. 2547, 2550 , อาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ, เหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา
ศาสตราจารย์ ดร. บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา (ศิษย์เก่า,อาจารย์) ศาสตราจารย์ท ศิลปวิทยาางวิชาการของภาพยนตร์ศึกษาและการวิจารณ์ภาพยนตร์ นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน อดีตคณบดีคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน อาจารย์ประจำกลุ่มวิชาภาพยนตร์และภาพถ่าย
รองศาสตราจารย์ ดร. เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนและการตลาด อดีตคณบดีคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน นักพูด นักบรรยาย นักแสดง และพิธีกร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วันชัย ธนะวังน้อย (ศิษย์เก่า, อาจารย์) อดีตผู้ประกาศข่าวโทรทัศน์ และผู้ประกาศวิทยุ-โทรทัศน์ นักแสดง
ชิน คล้ายปาน (อดีตอาจารย์) ช่างภาพ ผู้กำกับภาพยนตร์

บุคคลสำคัญอื่นๆ

แก้
คำนำหน้าชื่อ รายชื่อ เกียรติประวัติ
สรรพสิริ วิริยศิริ

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง (ปริญญาโท)

แก้
คำนำหน้าชื่อ รายชื่อ เกียรติประวัติ
บุษบา ดาวเรือง : เล็ก รองประธานกรรมการ / ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
ชิบ จิตนิยม สมาชิกวุฒิสภา ชุดที่ 13
อดีตผู้ประกาศข่าว ช่อง 3 เอชดี
สุภิญญา กลางณรงค์ อดีตคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
แอน ทองประสม พิธีกร, นักแสดง, ผู้จัดละครโทรทัศน์ ช่อง 3 เอชดี และอดีตทูตUNICEF
ดร. อริสรา กำธรเจริญ : หมวย (อดีตอาจารย์ประจำคณะ) รองสาวแพรวปี พ.ศ. 2539 นักแสดง ผู้ประกาศข่าว และผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ ช่อง 3 เอชดี, Thai PBS, ช่อง 9 เอ็มคอต เอชดี และ TNN (ศิษย์เก่าปริญญาตรี–โท–เอก)
ฐปณีย์ เอียดศรีไชย : แยม ผู้สื่อข่าวภาคสนาม รายการข่าว 3 มิติ ช่อง 3 เอชดี และเจ้าของเพจ The Reporter
จิรายุ ห่วงทรัพย์ นักการเมือง อดีตผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ไอทีวี และสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ปัจจุบันเป็นนักการเมือง ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการสวัสดิการและกิจการธุรกิจของกองทัพ ฯ โฆษกกระทรวงกลาโหม
ชมพูนุช ตัณฑเศรษฐี (สุวรรณบุปผา) : เจ็ม อดีตผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี, ช่อง 7 เอชดี และช่องเวิร์คพอยท์ทีวี ปัจจุบันเป็น Content Creator ด้านสื่อสารมวลชนในแอพลิเคชั่น Tiktok
ธัญญาเรศ เองตระกูล (รามณรงค์) : ธัญญ่า นักแสดงและพิธีกรอิสระ
มีสุข แจ้งมีสุข : ไก่ อดีตผู้ประกาศข่าว รายการผู้หญิงถึงผู้หญิง ช่อง 3 เอชดี
ดร. อิศริยา สายสนั่น : เอ๊ะ นักแสดง พิธีกร ผู้จัดละครโทรทัศน์ช่อง 8 (ศิษย์เก่าปริญญาโท-เอก)
รินลณี ศรีเพ็ญ : จอย นักแสดง และพิธีกรสังกัดช่อง 3 เอชดี
สกาวใจ พูนสวัสดิ์ : อ๋อม นักแสดง, อดีตผู้ดำเนินรายการ อดีตผู้จัดรายการโทรทัศน์ และอดีตนักการเมืองสังกัดพรรคเพื่อไทย
ดร. ปริศนา กัมพูสิริ : โบว์ลิ่ง นางสาวไทยประจำปี พ.ศ. 2555 อดีตผู้ประกาศข่าวช่อง 9 เอ็มคอต เอชดี ปัจจุบันดำเนินรายการโทรทัศน์ทางช่อง 8
ปาลิตา โกศลศักดิ์ : ปลา นางแบบ และนักแสดงสังกัดค่ายช่อง 7 เอชดี
สุฐิตา เรืองรองหิรัญญา : นิหน่า นักร้อง นักแสดง พิธีกร อดีตผู้ประกาศข่าวกีฬาช่อง 7 เอชดี ปัจจุบันเป็นผู้ประกาศข่าวช่องช่องพีพีทีวี (ศิษย์เก่าปริญญาตรี-โท)
ผึ้งนภา คล่องพยาบาล : ผึ้ง ผู้ประกาศข่าว Thai PBS
ราณี แคมเปน : เบลล่า นักแสดง ช่อง 3 เอชดี

ศิษย์ที่มีชื่อเสียง (ปริญญาตรี)

แก้
คำนำหน้าชื่อ รายชื่อ เกียรติประวัติ
ภาคภูมิ ร่มไทรทอง : มาย นักแสดง มีชื่อเสียงจากละครเรื่อง คินน์พอร์ช
อติคุณ อดุลโภคาธร : เอิร์ธ นักแสดง มีชื่อเสียงจากซีรีส์ ฮอร์โมนส์ วัยว้าวุ่น
ยุทธนา มุกดาสนิท : หง่าว ผู้กำกับภาพยนตร์ นักเขียน และนักเขียนบทละครเวทีและภาพยนตร์ อดีตกรรมการผู้จัดการบริษัท แกรมมี่ภาพยนตร์ จำกัด และบริษัท มาสเตอร์แพลน จำกัด และศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ภาพยนตร์และละครโทรทัศน์) พ.ศ. 2560[2]
มารุต สาโรวาท : ต้อ (อดีตอาจารย์พิเศษ) ผู้สร้างและผู้กำกับภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์
ดร. อริสรา กำธรเจริญ : หมวย (อดีตอาจารย์ประจำคณะ) รองสาวแพรวปี พ.ศ. 2539 นักแสดง ผู้ประกาศข่าว และผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ช่อง 3 เอชดี, Thai PBS, ช่อง 9 เอ็มคอต เอชดี และ TNN (ศิษย์เก่าปริญญาตรี–โท–เอก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รุจน์ โกมลบุตร (อาจารย์ประจำคณะ) อดีตนักหนังสือพิมพ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน
รสนา โตสิตระกูล วุฒิสมาชิกกรุงเทพมหานคร นักสิทธิมนุษยชน นักเขียน
วสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และอดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ช่อง 9 อสมท.
พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร อดีตผู้บริหารบริษัทเครือมติชน อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ช่อง 9 อสมท.
กนก รัตน์วงศ์สกุล พิธีกร ผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ อดีตผู้ประกาศข่าว และอดีตอำนวยการส่วนงานผู้ประกาศข่าว เนชั่นทีวี ของบริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ปัจจุบันเป็นผู้ประกาศข่าวช่องเจเคเอ็น 18 สังกัด ท็อปนิวส์
ปาริฉัตร ศาลิคุปต์ นักเขียนนวนิยาย เจ้าของนามปากกา: กิ่งฉัตร
สันติ เศวตวิมล (แม่ช้อยนางรำ) นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ นักวิจารณ์อาหาร และพิธีกรชาวไทย ผู้ก่อตั้ง เปิปพิสดาร
ศุภรัตน์ นาคบุญนำ ผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และอดีตผู้ประกาศข่าวช่อง 7 เอชดี
เขมทัตต์ พลเดช อดีตกรรมการผู้อำนวยการใหญ่บมจ.อสมท ปัจจุบันดำรงตำแหน่งนายกสมาคมวารสารศาสตร์ ธรรมศาสตร์
วิศาล ดิลกวณิช อดีตผู้ประกาศข่าว ช่อง 3 เอชดี และอดีตพิธีกรรายการบ่ายนี้มีคำตอบทางช่อง 9 เอ็มคอต เอชดี
ปิยวดี มาลีนนท์ : ตู่ ผู้จัดละครโทรทัศน์ ช่อง 3 เอชดี, กรรมการผู้จัดการบริษัท เวฟ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด และผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่ม บมจ. บีอีซี เวิลด์
ศศิธร วัฒนกุล : ลอร่า พิธีกรรายการโทรทัศน์
สุฐิตา ปัญญายงค์ : นิหน่า นักร้อง นักแสดง พิธีกร อดีตผู้ประกาศข่าวกีฬาช่อง 7 เอชดี ปัจจุบันเป็นผู้ประกาศข่าวช่องช่องพีพีทีวี (ศิษย์เก่าปริญญาตรี-โท)
พริมรตา เดชอุดม : จ๊ะจ๋า พิธีกร นักแสดงสังกัดช่อง 3 เอชดี และเจ้าของธุรกิจร้านดอกไม้ JajaFlowers
พงศธร จงวิลาส : เผือก ครีเอทีฟโฆษณา, นักแสดงภาพยนตร์และละครซิทคอม ปัจจุบันเป็นดีเจอยู่ที่ 94 อีเอฟเอ็ม และพิธีกรรายการโทรทัศน์
ณัฏฐพงษ์ ชาติพงศ์ : ฟรอยด์ นักแสดง และพิธีกรรายการโทรทัศน์
วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล : พิช นักร้อง นักแสดง (อดีตนักร้องนำวงออกัส)
ราณี แคมเปน : เบลล่า ดารานักแสดง ช่อง 3 เอชดี (ศิษย์เก่าปริญญาตรี-โท)
ธนษิต จุตรภุช : ต้น (AF8) นักร้อง, นักแสดง ผู้ชนะเลิศนักล่าฝันจากรายการ ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย ซีซั่นที่ 8
อุทัย ปุญญมันต์ : เค้ก (บีไฟว์) นักร้องวงบีไฟว์ (B5)
ปวีณา ตันฑ์ศรีสุโรจน์ : ปอย นักแสดง และพิธีกรรายการโทรทัศน์
โศธิดา โชติวิจิตร : ทราย ผู้สื่อข่าว รายการข่าว 3 มิติ ช่อง 3 เอชดี
ทิฆัมพร อยู่กำเหนิด : แนส อดีตผู้ประกาศข่าว ช่อง 3 เอชดี ปัจจุบันเป็นผู้ประกาศข่าวช่อง 8
อรวรรณ กริ่มวิรัตน์กุล พิธีกรรายการโทรทัศน์
ยุวดี ธัญญสิริ นักหนังสือพิมพ์ ผู้สื่อข่าวอาวุโส ประจำทำเนียบรัฐบาล
นันทขว้าง สิรสุนทร : เกี๊ยง นักวิจารณ์ภาพยนตร์และนักเขียนเกี่ยวกับวัฒนธรรมร่วมสมัย และผู้ประกาศข่าวกีฬาช่องเนชั่นทีวี, ท็อปนิวส์ และอมรินทร์ทีวี
ธนชาติ ศิริภัทราชัย : เบ๊น นักเขียนสำนักพิมพ์แซลมอน มีชื่อเสียงจากการเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง "NEW YORK 1st TIME นิวยอร์กตอนแรกๆ"
วาสนา นาน่วม นักข่าวสายทหาร มีชื่อเสียงจากการเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง "ลับ ลวง พราง"
ราเชนทร์ ลิ้มตระกูล ผู้สร้างและกำกับภาพยนตร์ เช่น โลกทั้งใบให้นายคนเดียว, มือปืน/โลก/พระ/จัน, จีจ้า ดื้อสวยดุ และฝัน-หวาน-อาย-จูบ ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตอาวุโส จีเอ็มเอ็ม ทีวี บริษัทในเครือ จีเอ็มเอ็ม มีเดีย (จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่)
มานุสส วรสิงห์ ผู้กำกับภาพยนตร์ นักถ่ายทำและตัดต่อวิดีโอต่างๆ รวมไปถึงงานภาพยนตร์สั้นและรายการโทรทัศน์
กมลวรรณ ตรีพงศ์ : แอน อดีตผู้ประกาศข่าว Thai PBS, สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี, ช่อง 3 เอสดี และช่อง 3 เอชดี
จีรชาตา เอี่ยมรัศมี  : จี ผู้ประกาศข่าว Thai PBS อดีตผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี
เบญจมาลัญช์ ทิพย์ขันทอง  : ทราย อดีตผู้ประกาศข่าวช่อง Thai PBS, ช่อง 3 เอสดี และช่อง 3 เอชดี
สุธาศินี หาญทองไชย  : นี ผู้ประกาศข่าว Thai PBS
เอกราช อุดมอำนวย ผู้สื่อข่าว Thai PBS
เจนไวยย์ ทองดีนอก ผู้กำกับภาพยนตร์ความสุขของกะทิ (ภาพยนตร์) และดำรงตำแหน่ง Production Supervisor ของบริษัทสหมงคลฟิล์ม
ธนนท์ สัตตะรุจาวงษ์ อดีตนักเรียนทุนอานันทมหิดล คนแรกของประเทศในคณะวารสารศาสตร์ ฯ สาขาภาพยนตร์
พัฒนะ จิรวงศ์ : ตั้ม ผู้กำกับสารคดี ผู้กำกับภาพยนตร์/ผู้เขียนบทภาพยนตร์ พุ่มพวง (พ.ศ. 2554)
วิทิต คำสระแก้ว ผู้กำกับภาพยนตร์ กั๊กกะกาวน์ และเขาชนไก่
ปรัชนันท์ ลิ้มรัตน์ : หมู รองนางสาวไทยอันดับ 2 ประจำปี พ.ศ. 2547
พรวดี พงษ์สถิตย์ : มิ้นท์ นางแบบและนักแสดง มีชื่อเสียงจากภาพยนตร์เรื่อง เดอะเมีย (2005)
หัสสยา อิสริยะเสรีกุล : แพรว (Preppy G) นักแสดงและศิลปินสังกัด GMM Grammy ช่อง Play Channel
ฐิตวินน์ คำเจริญ : ปาล์ม นักจัดรายการวิทยุและนักแสดง มีชื่อเสียงจากภาพยนตร์เรื่อง 6:66 ตายไม่ได้ตาย
รฐา โกกิลานนท์ : แท๊บบี้ (AF6) นักร้อง นักล่าฝันจากรายการ ทรู อะคาเดมี่ แฟนเทเชีย ซีซั่นที่ 6
อัทธนียา เอี่ยมวสันต์ : ออม อดีตนักแสดงสังกัด โพลีพลัส ปัจจุบันทำธุรกิจส่วนตัว
ธีรดนย์ ศุภพันธุ์ภิญโญ : เจมส์ (ศิษย์ปัจจุบัน) นักแสดง ผู้รับบท "ซัน" จากซีรีส์ ฮอร์โมนส์ วัยว้าวุ่น
ธนบดี ใจเย็น : ภีม (ศิษย์ปัจจุบัน) ศิลปินสังกัด MBO Teen Entertainment ในเครือ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
ณัชคุณ นุตตานนท์ : ปลื้ม (V.R.P) (ศิษย์ปัจจุบัน) ศิลปินสังกัด กามิกาเซ่
พีรวิชญ์ อรรถชิตสถาพร : มีน นักแสดง
นะเพียร เพิ่มสมบัติ : นะ (ศิษย์ปัจจุบัน) นักแสดง มีชื่อเสียงจากซีรีส์เรื่อง "Love Sick the series season 2"
ฉัตรฑริกา สิทธิพรม : แคร์ รองชนะเลิศอันดับที่ 2 มิสไทยแลนด์เวิลด์ และนักแสดงสังกัด ช่อง 3 เอชดี
ศลิษา มาเซียค : เจด (เจนนี่) นักแสดง มีชื่อเสียงจากละครเรื่อง น้องใหม่ร้ายบริสุทธิ์
เจนนี่ ฟิโลเมน่า : เมน่า นักแสดงสังกัดช่อง 3 เอชดี
อาทิตยา ทองวิชิต : แองเจิ้ล นักแสดงสังกัดช่อง 7 HD
จิดาภา ศิริบัญชาวรรณ : จิด้า นักแสดงและนักร้อง สังกัด MBO Teen Entertainment ในเครือ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
แก้วใส คริสตัล : แก้วใส นักแสดงสังกัดช่อง 7 HD
วชิรวิชญ์ วัฒนภักดีไพศาล : ริว อดีตนักกีฬาเทเบิลเทนนิสเยาวชนทีมชาติไทย และนักแสดงสังกัดช่อง 3 เอชดี

ละคอนวารสารฯ ธรรมศาสตร์

แก้

สำหรับประวัติละคอนวารสารฯนั้น ในปี พ.ศ. 2523 หลังจากที่ทางคณะวารสารศาสตร์ฯ ได้ยกฐานะจากแผนกอิสระวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน เป็น "คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน" ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทางนักศึกษาคณะวารสารศาสตร์ฯ ก็ได้ผลิตและจัดแสดงละครเวทีออกมาอย่างต่อเนื่อง และเริ่มนับลำดับเรื่องอย่างจริงจัง โดยมีชื่อเรื่อง ดังนี้

  • ปี พ.ศ. 2523 เรื่อง หมอผีครองเมือง

ละครเวทีทุกเรื่องข้างต้นจะแฝงไปด้วยแก่นสาระ แนวคิดต่างๆของนักศึกษา ที่ต้องการจะสื่อสารออกไปให้ผู้ชมในโรงละครได้ซึมซับสิ่งต่างๆ ผ่านความบันเทิง โดยสิ่งที่เหล่านี้ล้วนกลั่นกรองมาจากสภาพสังคมและปัญหาในปัจจุบันจากมุมมองในฐานะคนรุ่นใหม่ที่กำลังเติบโตอยู่ในสังคมไทยและในฐานะนักศึกษาด้านสื่อสารมวลชนที่พร้อมจะทำหน้าที่เป็นกระจกเงาสะท้อนสังคม ซึ่งในบางครั้งความคิดเหล่านี้ชี้ให้เห็นปัญหาในสังคม และถูกหยิบยกขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์ต่อบนเวทีสาธารณะ นับว่าเป็นความประสบความสำเร็จและเป็นความภูมิใจอย่างยิ่งสำหรับนักศึกษาที่ทำละครเวที

สำหรับชื่อของละคอนวารสารนั้น จะเห็นว่าใช้คำว่า “ละคอน” แทนคำว่า “ละคร” ซึ่งเป็นคำที่ราชบัณฑิตยสถานจัดเก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับปัจจุบันนั้น (คำว่า “ละคอน” และ “ละคร” นั้นมีความหมายเหมือนกัน และมักใช้สลับกันจนสับสนแก่ผู้อ่านตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ทางราชบัณฑิตยสถานจึงเลือกเก็บคำว่าละคร เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว) เนื่องจากต้องการสร้างเอกลักษณ์ให้แก่ละคอนวารสารฯ และยังคงสืบทอดคำว่า “ละคอนวารสารฯ” นี้จวบจนปัจจุบัน

นอกจากนี้นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2551 ละคอนวารสารถูกพัฒนาให้มีลักษณะกึ่งละครเพลง เพิ่มสีสันให้กับการแสดง และการประชาสัมพันธ์ สอบถามข้อมูลละคอนวารสารฯ คลิกที่นี่

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-04-15. สืบค้นเมื่อ 2022-04-15.
  2. "ยุทธนา มุกดาสนิท". culture.go.th. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-27. สืบค้นเมื่อ 24 July 2024.
  3. "รายงานประจำปี". www.jc.tu.ac.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-15. สืบค้นเมื่อ 2022-04-15.