ทวีศักดิ์ เสนาณรงค์
ทวีศักดิ์ เสนาณรงค์ (17 พฤษภาคม พ.ศ. 2478 - 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564) อดีตประธานกรรมการ บริษัท บางสะพานบาร์มิล จำกัด (มหาชน) อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการ[1] อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาเอกชน อดีตรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และอดีตอธิบดีกรมศิลปากร
ทวีศักดิ์ เสนาณรงค์ | |
---|---|
ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2537 – พ.ศ. 2538 | |
ก่อนหน้า | โกวิท วรพิพัฒน์ |
ถัดไป | สุรัฐ ศิลปอนันต์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2478 |
เสียชีวิต | 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 (86 ปี) |
คู่สมรส | ท่านหญิงปัทมนรังษี เสนาณรงค์ |
บุตร | ปัทมศักดิ์ เสนาณรงค์ ปัทมนิฐิ เสนาณรงค์ ปัทมวดี เสนาณรงค์ |
ประวัติ
แก้ทวีศักดิ์ เสนาณรงค์ เกิดเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2478 เป็นบุตรของหลวงเสนาณรงค์สมรสกับท่านหญิงปัทมนรังษี เสนาณรงค์ (พระนามเดิม:หม่อมเจ้าปัทมนรังษี ยุคล) พระธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการกับหม่อมอุบล ยุคล ณ อยุธยา มีบุตรธิดา 3 คน คือ ปัทมศักดิ์ เสนาณรงค์ ปัทมนิฐิ เสนาณรงค์ และปัทมวดี เสนาณรงค์
ทวีศักดิ์ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 สิริอายุรวม 86 ปี
วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมฯ ให้ นาย ชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา เข้าร่วมพิธีพระราชทานเพลิงศพ ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร
การศึกษา
แก้- เข้าศึกษาในคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ เมื่อปี พ.ศ. 2496 เป็นนักศึกษารุ่นที่ 10 ของคณะฯ
- สำเร็จการศึกษาศิลปบัณฑิต สาขาจิตรกรรม เมื่อ พ.ศ. 2511 ไดรับประกาศนียบัตรศิลปะ (L’ Accademia di Belle Arti di Roma, Italy)
การทำงาน
แก้ทวีศักดิ์ เข้ารับราชการครั้งแรกในตำแหน่งนายช่างตรี กรมศิลปากร รับราชการจนได้เป็นผู้อำนวยการกองสังคีต รองอธิบดีกรมศิลปากร อธิบดีกรมศิลปากร รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาเอกชน และตำแหน่งสุดท้ายคือปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ผลงาน
แก้เป็นคณะกรรมการงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ซ่อมแซมบูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระบรมมหาราชวัง จัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 จัดสร้างพระพุทธพระประธานพุทธมณฑล รวมถึงสังเวชนียสถาน 4 ตำบล ณ พุทธมณฑล จัดตั้งหอภาพยนตร์แห่งชาติ เปิดอุทยานประวัติศาสตร์ 8 แห่ง[2]
รางวัล
แก้- ได้รับรางวัลกิติคุณสัมพันธ์ "สังข์เงิน" ประจำปี 2528 สาขาส่งเสริมเอกลักษณ์ของชาติ
- ได้รับรางวัล "MIN – ON ARTS AWARD" จากประเทศญี่ปุ่น
- เป็นศิษย์เก่าดีเด่น วิทยาเขตเพาะช่าง ปี พ.ศ. 2533
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2529 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[5]
- พ.ศ. 2538 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ[6]
- พ.ศ. 2526 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[7]
- พ.ศ. 2516 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ท.9)[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ แนะนำกระทรวง เก็บถาวร 2015-02-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กระทรวงศึกษาธิการ
- ↑ "ทวีศักดิ์ เสนาณรงค์" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-13. สืบค้นเมื่อ 2015-01-14.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๓๐ ง หน้า ๑๖๖๕, ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕, ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๑, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๓๘, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๘ ข หน้า ๒๔, ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๑๑๓, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชุจิ, เล่ม ๙๐ ตอนที่ ๕๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๙, ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๑๖