พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารำไพประภา

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารำไพประภา (25 กรกฎาคม พ.ศ. 2450 – 14 มิถุนายน พ.ศ. 2522) เป็นพระธิดาใน สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ประสูติแต่หม่อมเล็ก ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา (สกุลเดิม ยงใจยุทธ) เมื่อประสูติมีพระยศที่ หม่อมเจ้า ต่อมาเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารำไพประภา
พระวรวงศ์เธอ ชั้น 4
พระองค์เจ้าชั้นตรี
ประสูติ25 กรกฎาคม พ.ศ. 2450
สิ้นพระชนม์14 มิถุนายน พ.ศ. 2522 (71 ปี)
พระสวามีหม่อมเจ้าธานีเสิกสงัด ชุมพล
พระบุตรหม่อมราชวงค์เรืองรำไพ อิศรางกูร
หม่อมราชวงค์หทัยธานี ชุมพล
ราชสกุลภาณุพันธุ์ (ประสูติ)
ชุมพล (เสกสมรส)
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาสมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
พระมารดาหม่อมเล็ก ภาณุพันธุ์ ณ อยุธยา

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารำไพประภา เสกสมรสกับหม่อมเจ้าธานีเสิกสงัด ชุมพล พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ มีพระโอรสและธิดา 2 คน ได้แก่

  • หม่อมราชวงค์เรืองรำไพ อิศรางกูร สมรสกับหม่อมเจ้าสุรฉัตร ฉัตรชัย ภายหลังได้สมรสใหม่กับจงรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
  • หม่อมราชวงศ์หทัยธานี ชุมพล สมรสกับ หม่อมราชวงศ์ดวงใจ (ราชสกุลเดิม จิตรพงศ์) ธิดาหม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์ กับ หม่อมจักลิน ดูบัวส

พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้ารำไพประภา ทรงปรีชาการดนตรีไทย และเคยทรงจะเข้ในวงปี่พาทย์ราชสำนักพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในเวลาว่างโปรดการปลูกต้นไม้ ทรงเป็นผู้นำต้นสแปนิชมอส เข้ามาแพร่พันธุ์ในประเทศไทยจากรัฐฟลอริดา สหรัฐ โดยพกติดองค์มาในกล่องไม้ขีด ภายหลังต้นมอสชนิดนี้ เรียกกันว่า มอสรำไพฯ พระองค์เป็นสตรีคนแรก ๆ ของไทยที่เล่นกีฬากอล์ฟ และเทนนิส อีกทั้งยังโปรดถักนิตติ้งและโครเชต์ จนทรงนิพนธ์ตำราการถักนิตติ้ง ในนามปากกา พชพ

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารำไพประภา สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2522 สิริพระชันษา 71 ปี พระราชทานเพลิงพระศพ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2522 ณ พระเมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส

พระอิสริยยศ แก้

  • 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2450 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470 : หม่อมเจ้ารำไพประภา
  • 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2470 – 14 มิถุนายน พ.ศ. 2522 : พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารำไพประภา

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

พงศาวลี แก้

อ้างอิง แก้

  1. "แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2521" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 95 (51 ฉบับพิเศษ): หน้า 10. 12 พฤษภาคม 2521. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2564. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพายและชั้นต่ำกว่าสายสะพาย เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 7 เหรียญจักรมาลา เหรียญจักรพรรดิมาลา เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 7 ประจำปี 2470" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 44: หน้า 2567. 20 พฤศจิกายน 2470. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-23. สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2558. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)