โหมโรง (ภาพยนตร์)
โหมโรง (อังกฤษ: The Overture) เป็นภาพยนตร์ไทยในปี พ.ศ. 2547 ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับดนตรีไทย เนื้อเรื่องได้แรงบันดาลใจมาจากประวัติของหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) กำกับภาพยนตร์โดย อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์[1] อำนวยการผลิตโดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล, สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ และ หม่อมกมลา ยุคล ร่วมอำนวยการผลิตโดย นนทรีย์ นิมิบุตร, ดวงกมล ลิ่มเจริญ, คุณากร เศรษฐี ควบคุมการผลิตโดย อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์, พิศมัย เหล่าดารา
โหมโรง | |
---|---|
กำกับ | อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์ |
ผู้ช่วยผู้กำกับ | |
บทภาพยนตร์ | อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์ พีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริ ดลกมล ศรัทธาทิพย์ |
เนื้อเรื่อง | อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์ |
สร้างจาก | ชีวประวัติของ หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) |
อำนวยการสร้าง | หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ หม่อมกมลา ยุคล ณ อยุธยา |
นักแสดงนำ | อนุชิต สพันธุ์พงษ์ อดุลย์ ดุลยรัตน์ พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง ณรงค์ฤทธิ์ โตสง่า อาระตี ตันมหาพราน ภูวฤทธิ์ พุ่มพวง |
กำกับภาพ | ณัฐวุฒิ กิตติคุณ |
ตัดต่อ | อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์ |
ดนตรีประกอบ | ชาติชาย พงศ์ประภาพันธุ์ ชัยภัค ภัทรจินดา |
บริษัทผู้สร้าง | |
ผู้จัดจำหน่าย | สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล |
วันฉาย | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 |
ความยาว | 104 นาที |
ประเทศ | ไทย |
ภาษา | ไทย |
ทำเงิน | 52.72 ล้านบาท |
ข้อมูลจาก All Movie Guide | |
ข้อมูลจาก IMDb | |
ข้อมูลจากฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย |
นำแสดงโดย อนุชิต สพันธุ์พงษ์, อดุลย์ ดุลยรัตน์, พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง, ณรงค์ฤทธิ์ โตสง่า, อาระตี ตันมหาพราน, ภูวฤทธิ์ พุ่มพวง, สุเมธ องอาจ, สมภพ เบญจาธิกุล และ สมชาย ศักดิกุล
ภาพยนตร์ทำรายได้ 52.72 ล้านบาท[2][3] และได้รับรางวัลต่าง ๆ จากงานประกวดภาพยนตร์จำนวนมาก ในช่วงแรกที่ภาพยนตร์ฉายมีกระแสที่ไม่ค่อยดี ก่อนที่คนตั้งกระทู้ พันทิป.คอม จนภาพยนตร์เริ่มมีทิศทางที่ดี[4][5]
ภายหลังได้รับการดัดแปลงเป็นละครโทรทัศน์ โหมโรง โดยออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เมื่อ พ.ศ. 2555 และเป็นละครเวที โหมโรง เดอะ มิวสิคัล โดย โต๊ะกลมโทรทัศน์ แสดงที่ โรงละครเคแบงก์สยามพิฆเนศ เมื่อ พ.ศ. 2558 และ 2561
เรื่องย่อ
แก้เหตุการณ์เริ่มขึ้นราวพุทธศักราช 2429 ในประเทศสยาม ศร เด็กหนุ่มที่มีความผูกพันกับดนตรีไทยมาตั้งแต่เกิด ได้รับการถ่ายทอดฝีมือในการตีระนาดเอกจาก ครูสิน ผู้ซึ่งเป็นทั้งบิดาและครูสอนดนตรีไทย ผู้มีปมในชีวิต หลังการสูญเสียพี่ชายของศรผู้ซึ่งถูกนักเลงระนาดคู่ปรับฆ่า เป็นเหตุให้ครูสินตัดสินใจหยุดการสอนดนตรีไทยลง แต่ด้วยคำเตือนสติจากหลวงพ่อ ทำให้ครูสินกลับมาสอนดนตรีไทยอีกครั้ง เพื่อไม่เป็นการปิดกั้นโอกาสและการพัฒนาพรสวรรค์ในการตีระนาดของศร ศรจึงได้รับการถ่ายทอดฝีมือตีระนาดจากบิดา และมีทิว เพื่อนสนิทที่คอยช่วยเหลือมาตลอดเวลา
ศร กลายเป็นดาวเด่นในเชิงระนาดเมื่อก้าวเข้าสู่วัยหนุ่ม ฝีมือของศรยากหาใครทัดเทียมในอัมพวา หลังจากชนะประชันครั้งแล้วครั้งเล่า ศรจึงเกิดความลำพองในฝีมือของตนเอง จนเมื่อศรเดินทางเข้ามายังบางกอก เขาพ่ายแพ้เป็นครั้งแรกต่อขุนอิน ผู้มีฝีมือการเล่นระนาดในระดับสูง และมีทางระนาดที่ดุดัน ศรกลายเป็นคนที่สูญเสียความภาคภูมิใจในตัวเอง แต่เขาก็กลับมามุมานะฝึกปรือฝีมืออีกครั้ง และคิดค้นทางระนาดแบบใหม่ที่ไม่ซ้ำใคร จนในที่สุด ศรก็ได้รับการอุปถัมป์ให้เป็นนักดนตรีประจำวังบูรพาภิรมย์ของสมเด็จฯ และได้พบกับ แม่โชติ สตรีผู้สูงศักดิ์ที่กลายมาเป็นคู่ชีวิตของศรในเวลาต่อมา
ในที่สุด หลังจากผ่านการบ่มเพาะทั้งฝีมือและจิตใจจากครูเทียน ครูดนตรีมีฝีมือที่สมเด็จฯจัดหามาเพื่อดูแลฝึกสอน ศรก็สามารถมีชัยเหนือขุนอินได้สำเร็จ
ล่วงเข้าสู่วัยชราของศร เขากลายเป็นครูดนตรีอาวุโสที่มีลูกศิษย์มากมาย ขณะที่บ้านเมืองเข้าสู่ยุคของการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม ในยุครัฐบาลทหารของ จอมพลป. ซึ่งมีนโยบายปรับปรุงประเทศให้มีเป็นอารยะตามแบบตะวันตก และออกระเบียบมาปิดกั้นควบคุมศิลปะแขนงต่าง ๆ รวมทั้งดนตรีไทย โดยมี พันโทวีระ นายทหารหนุ่มที่รับหน้าที่ดูแลนโยบายดังกล่าว ครูศร ผู้ผ่านการแข่งขันแพ้-ชนะมานับครั้งไม่ถ้วน จึงต้องพบกับช่วงบั้นปลายชีวิตอันปวดร้าว ในวันที่ดนตรีไทยถูกคุกคามจากผู้มีอำนาจ
นักแสดงนำ
แก้- อนุชิต สพันธุ์พงษ์ เป็น ศร ในวัยหนุ่ม
- อดุลย์ ดุลยรัตน์ เป็น ศร ในวัยชรา
- พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง เป็น พันโทวีระ
- ณรงค์ฤทธิ์ โตสง่า เป็น ขุนอิน
- อาระตี ตันมหาพราน เป็น แม่โชติ
- ภูวฤทธิ์ พุ่มพวง เป็น เทิด
- สุเมธ องอาจ เป็น ประสิทธิ์
- สมภพ เบญจาธิกุล เป็น สมเด็จพระราชปิตุลา บรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
- สมชาย ศักดิกุล เป็น ครูเทียน
- เกริกเกียรติ พันธุ์พิพัฒน์ เป็น ครูสิน
- ชุมพร เทพพิทักษ์ เป็น ทิว
- บุ๋มบิ๋ม สามโทน เป็น นายขวด
- อุดม ชวนชื่น เป็น ช่างซ่อมเครื่องดนตรีไทย
งานสร้างภาพยนตร์
แก้ที่มาของภาพยนตร์
แก้ภาพยนตร์เรื่องโหมโรง สร้างโดย สหมงคลฟิล์ม, พร้อมมิตร โปรดักชั่น, ภาพยนตร์หรรษา และ กิมมิคฟิล์ม ด้วยแรงบันดาลใจจากชีวิตของ หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) บรมครูของนักดนตรีไทย ผู้ผ่านยุคทองที่รุ่งเรืองอย่างสูงสุด และยุคสมัยที่กล่าวได้ว่า เป็นช่วงเวลาที่ตกต่ำที่สุดของวงการดนตรีไทย ภาพยนตร์เรื่องโหมโรงเป็นผลงานกำกับอีกครั้งของ อิทธิสุนทร วิชัยลักษณ์ เคยสร้างผลงานภาพยนตร์เรื่อง ลูกบ้าเที่ยวล่าสุด เมื่อปี พ.ศ. 2536 และมีผลงานกำกับละครโทรทัศน์เรื่อง พระจันทร์ลายกระต่าย เมื่อปี พ.ศ. 2542 และงานเขียนอย่าง เพียงความทรงจำเอาไว้เลย [6]
ก่อนที่จะมาใช้ชื่อภาพยนตร์ว่า โหมโรง ระหว่างการถ่ายทำ อิทธิสุนทรได้ตั้งชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า The Overture โดยยังไม่มีชื่อภาษาไทย ต่อมาเมื่อต้องมีการโปรโมท จึงตัดสินใจใช้ชื่อภาษาไทยว่า โหมโรง ตามความหมายเดียวกับคำว่า The Overture คือ ทั้งสองคำต่างเป็นศัพท์ของการเล่นดนตรีเพื่อเปิดการแสดง เพื่อประกาศว่าดนตรีจะเริ่มแล้ว และเพื่อวอร์มอัพนักดนตรีในวง
นักแสดง
แก้ภาพยนตร์เรื่องนี้นำแสดงโดย อนุชิต สพันธุ์พงษ์ รับบท ศร ในสมัยรัชกาลที่ 5, อดุลย์ ดุลยรัตน์ รับบท ท่านครู หรือ ศร ในยุคสมัยรัชกาลที่ 8, พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง รับบท พันโทวีระ นายทหารหนุ่มผู้ยึดมั่นในคำสั่งของรัฐบาล ในการปรับปรุงวัฒนธรรม ให้เทียบเท่าอารยะธรรมตะวันตก, อาระตี ตันมหาพราน รับบท แม่โชติ สตรีในวังผู้สูงศักดิ์ ผู้เป็นกำลังใจให้ศร, สุเมธ องอาจ รับบท ประสิทธิ์ ลูกชายของบรมครูทางด้านดนตรีไทยผู้ยิ่งใหญ่, ภูวฤทธิ์ พุ่มพวง รับบท เทิด ลูกชายทิวเพื่อนสนิทของศร, อาจารย์ณรงค์ฤทธิ์ โตสง่า จากวง บอยไทย รับบทเป็น ขุนอิน ร่วมด้วย สมภพ เบญจาธิกุล รับบทสมเด็จฯ เจ้านายจากในวัง ผู้ทรงโปรดปรานในความงดงามของดนตรีไทย และเป็นผู้ผลักดันให้นักระนาดหนุ่มผู้ทะนงตนอย่างศร ได้กลายเป็นระนาดเอกมือหนึ่ง, ชุมพร เทพพิทักษ์ รับบท ทิว เพื่อนรักที่เป็นกำลังใจและคอยอยู่เคียงข้างศร, บุ๋มบิ๋ม สามโทน รับบทเป็นนายขวด มือระนาดจอมอู้แห่งบางกอก ที่เปิดโอกาสให้ศรได้ประชันกับขุนอินเป็นครั้งแรก, อุดม ชวนชื่น นักแสดงตลกรุ่นอาวุโสมารับบทเป็นช่างซ่อมเครื่องดนตรีไทยในยุคสงครามโลก, สมชาย ศักดิกุล มาเป็นอีกหนึ่งนักแสดงรับเชิญ รวมไปถึงเหล่านักแสดง และอาจารย์ผู้คร่ำหวอดทางด้านดนตรีไทย อาทิเช่น อ. เกริกเกียรติ พันธุ์พิพัฒน์, ลูกปู ดอกกระโดน, มืด ไข่มุก, อ. อภิธาร สมานมิตร และ วัชรากร บุญเพ็ง
ตัวเอกของภาพยนตร์
แก้อนุชิต สพันธุ์พงษ์ นักแสดงจากภาพยนตร์เรื่อง 15 ค่ำ เดือน 11 มารับบท ศร ตัวเอกของเรื่อง ซึ่งเขาต้องใช้เวลาในการหัดเล่นเครื่องไม้เครื่องมือ และฝึกซ้อมดนตรีไทยประเภทต่างๆ อาทิ ซอ ฆ้อง ระนาดทุ้ม ฉิ่ง โดยเฉพาะระนาดนานถึง 8 เดือน เพราะต้องสวมบทมือระนาดเอกฝีมือดี ที่มีแนวทางในการเล่นระนาดแนวใหม่ในสมัยนั้น นั้นคือการเล่นระนาดเชิงพริ้วไหว ซึ่งต้องโชว์ลีลาในการสะบัดข้อมือ ลงระนาดด้วยตัวเอง ไม่เพียงเท่านั้น ยังต้องกล้อนผมแต่งเนื้อแต่งตัวให้เข้ากับยุคสมัย โดยต้องนุ่งโจงกระเบน เพราะตัวละครที่เขาแสดง เดินเรื่องราวชีวิตอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทำให้ต้องมีการเตรียมพร้อมอย่างเต็มที่ในการแสดง โดยเฉพาะการโชว์ฝีไม้ลายมือ ในการเล่นระนาดได้อย่างสมจริง ซึ่งกว่าจะได้อย่างที่เห็นในภาพยนตร์ ก็ต้องใช้ความสามารถ และพึ่งพาความอดทน ในการฝึกซ้อมอย่างจริงจัง
ทีมงานสร้าง
แก้ทีมงานสร้างประกอบด้วย ผู้กำกับภาพ ณัฐวุฒิ กิตติคุณ, บันทึกเสียงโดย คอนราด แบรดลี่ สเตเลอร์, ฝึกสอนดนตรีโดย อาจารย์ถาวร ศรีผ่อง ผู้เล่นระนาดเอกให้กับมหาราชาคอนแชร์โต และเป็นมือระนาดที่สามารถเล่นระนาดโชว์ พร้อมกันทีเดียวถึง 4 ราง, ที่ปรึกษาดนตรีโดย อัษฎาวุธ สาคริก อาจารย์ผู้สอนและทำงานเผยแพร่ดนตรีไทย ในมูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ, ที่ปรึกษาการแสดงโดย อรชุมา ยุทธวงศ์, กำกับศิลป์โดย รัชชานนท์ ขยันงาม, นวชาติ สำเภาเงิน, เกียรติชัย คีรีศรี, ออกแบบเครื่องแต่งกายโดย พราวเพลิน ตั้งมิตรเจริญ, ออกแบบหน้า-ผมโดย มนตรี วัดละเอียด, ผู้ช่วยผู้กำกับได้แก่ พีระศักดิ์ ศักดิ์ศิริ, สวนีย์ อุทุมมา, นฤมล สุทัศนะจินดา และ ศรีรัตน์ บุญวัธนะศักดิ์, ดนตรีประกอบโดย ชาติชาย พงษ์ประภาพันธุ์ และ ชัยภัค ภัทรจินดา
รางวัลและเกียรติคุณ
แก้- รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 14 ประจำปี พ.ศ. 2547
- ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
- ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
- บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
- กำกับภาพยอดเยี่ยม
- ลำดับภาพยอดเยี่ยม
- นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (อดุลย์ ดุลยรัตน์)
- บันทึกเสียงยอดเยี่ยม
- รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 27 ประจำปี พ.ศ. 2547
- ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
- ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
- บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
- กำกับภาพยอดเยี่ยม
- ลำดับภาพยอดเยี่ยม
- นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (อดุลย์ ดุลยรัตน์)
- บันทึกเสียงยอดเยี่ยม
- ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม
- เพลงนำภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (เพลง'อัศจรรย์')
- แต่งหน้ายอดเยี่ยม
- รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 13 ประจำปี พ.ศ. 2547
- ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
- ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
- ลำดับภาพยอดเยี่ยม
- นักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม (พงษ์พัฒน์ วชิระบรรจง)
- ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม
- รางวัล Audience Award (Popular Vote) จาก Miami International Film Festival 2005
- ตัวแทนภาพยนตร์จากประเทศไทย ส่งประกวด รางวัลออสการ์ ครั้งที่ 77 สาขาภาพยนตร์ภาษาต่างประเทศ
- ได้รับเลือกเป็น 1 ใน 70 เรื่อง สุดยอดภาพยนตร์ไทยในสมัยรัชกาลที่ 9 เมื่อปี 2561
- ได้รับการขึ้นทะเบียน มรดกภาพยนตร์ของชาติ เมื่อปี 2556
เพลงประกอบภาพยนตร์
แก้- "อัศจรรย์" – 4:40
- เพลงที่ 1 เป็นเพลงร้อง ขับร้องโดย เกียรติศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์, ทำนองและเรียบเรียงโดย เพชร มาร์, เนื้อร้องโดย พิจิกา
- "แขกบรเทศ" – 0:53
- "ต้นวรเชษฐ์" – 1:35
- "คำหวาน" – 1:34
- "กระต่ายเต้น" – 1:18
- "ลาวดวงเดือน" – 1:10
- "โหมโรงประเดิมชัย" – 1:39
- "โหมโรงอัฐมบาท" – 1:37
- "โหมโรงช่อผกา" – 1:22
- "โหมโรงจีนตอกไม้" – 1:55
- "แสนคำนึง" – 3:11
- เพลงที่ 2-11 เป็นเพลงดนตรีไทย โดย ชัยภัค ภัทรจินดา, วงกอไผ่ และ ณรงค์ฤทธิ์ โตสง่า
- "แรกพบ" – 2:12
- "เติบโต" – 2:38
- "เบิกบาน" – 0:50
- "สำนึก"– 1:10
- "ชัยชนะ" – 2:10
- "ความหวัง" – 2:23
- เพลงที่ 12-17 เป็นดนตรี Original Score โดย ชาติชาย พงษ์ประภาพันธ์
การดัดแปลง
แก้ละครโทรทัศน์
แก้ภาพยนตร์เรื่องนี้มีการนำกลับมาทำใหม่ในลักษณะละครโทรทัศน์ ในปี พ.ศ. 2555 บทโทรทัศน์โดย ภูเขา และกำกับการแสดงโดย วินัย ปฐมบูรณ์ นำแสดงโดย ธนาวุฒิ ศรีวัฒนะ และ นพพล โกมารชุน รับบท ศร ทวีศักดิ์ อัครวงษ์ รับบท ขุนอิน ร่วมด้วย เกรียงไกร อุณหะนันท์, อรรถพร ธีมากร, ปิติศักดิ์ เยาวนานนท์, วิทยา เจตะภัย, วุฒิสิทธิ์ สืบสุวรรณ, ปริศนา กล่ำพินิจ, ปานเลขา ว่านม่วง, ณัทธมนกาญจน์ ศรีนิกรโชติ, นันทรัตน์ ชาวราษฎร์ ออกอากาศทุกวันจันทร์-วันอังคาร เวลา 20.25 - 21.15 น. เริ่มออกฉายวันแรกทางไทยพีบีเอส วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555[7]
ละครเวที โหมโรง เดอะ มิวสิคัล
แก้ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ โหมโรง ใน IMDB
- ↑ 100 อันดับหนังไทย ที่ทำรายได้สูงที่สุด
- ↑ หนังคนดนตรีที่คุณไม่ควรพลาด : โหมโรง (2004)
- ↑ "PANTIP.COM : A8187027 ใครพอจะช่วยเล่าเหตุการณ์ "พันทิป-โหมโรง" ให้ฟังหน่อยครับ [ภาพยนตร์]". topicstock.pantip.com.
- ↑ panyanut(cherry) (2024-02-05). "20 ปี 'โหมโรง' หนังไทยที่ฟื้นคืนชีพได้ด้วยพลังมหาชนและจุดกระแสดนตรีไทยฟีเวอร์". The Cloud.
- ↑ http://www.siamzone.com/movie/m/1951/โหมโรง
- ↑ http://www.thaipbs.or.th/s1000_obj/front_page/page/1656.html?content_id=310300[ลิงก์เสีย]