ชำนาญ ยุวบูรณ์
ชำนาญ ยุวบูรณ์ (20 ตุลาคม พ.ศ. 2457 - 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558) เป็นอดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนแรก (ขณะนั้นใช้ชื่อว่า นายกเทศมนตรีนครกรุงเทพ[1]) ซึ่งมาจากการแต่งตั้งโดยกระทรวงมหาดไทย[2] ก่อนเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงมาใช้ระบบการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนในปีพ.ศ. 2518
ชำนาญ ยุวบูรณ์ | |
---|---|
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 1 มกราคม พ.ศ. 2516 – 22 ตุลาคม พ.ศ. 2516 (0 ปี 295 วัน) | |
ถัดไป | อรรถ วิสูตรโยธาภิบาล |
หัวหน้าพรรคท้องถิ่นก้าวหน้า | |
ดำรงตำแหน่ง 15 มกราคม 2514 – 17 พฤศจิกายน 2514 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 20 ตุลาคม พ.ศ. 2457 จังหวัดอ่างทอง ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 (100 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | พรรคท้องถิ่นก้าวหน้า (2514) |
คู่สมรส | วลี ยุวบูรณ์ |
บุตร | 8 คน |
ประวัติ
แก้ชำนาญ ยุวบูรณ์ เกิดวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2457 ที่อำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง[3] เข้าศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนวัดราชาธิวาสและโรงเรียนวัดสุทธิวราราม เคยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการปกครอง นายกสมาคมธรรมศาสตร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และประธานบริหารบรษัท สามพราน ริเวอร์ไซด์ (สวนสามพราน) จำกัด รวมถึงเคยตั้งพรรคการเมืองขึ้นในปีพ.ศ. 2514 ชื่อว่าพรรคท้องถิ่นก้าวหน้า
ชีวิตครอบครัวสมรสกับ คุณหญิงวลี ยุวบูรณ์ มีบุตรธิดา 8 คน
ชำนาญ ยุวบูรณ์ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ด้วยโรคชรา สิริอายุได้ 100 ปี 8 เดือน[4] มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ณ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้ชำนาญ ยุวบูรณ์ ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งไทยและต่างประเทศ ดังนี้
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย
แก้- พ.ศ. 2510 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2507 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
- พ.ศ. 2508 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[7]
- พ.ศ. 2513 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[8]
- พ.ศ. 2501 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[9]
- พ.ศ. 2502 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[10]
- พ.ศ. 2510 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[11]
- พ.ศ. 2499 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 3 (ภ.ป.ร.3)[12]
- พ.ศ. 2511 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ท.9)[13]
- พ.ศ. 2493 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 9 (ร.ร.ศ.9)
- พ.ศ. 2500 – เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
- พ.ศ. ไม่ปรากฎ – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้- อาร์เจนตินา :
- พ.ศ. 2505 – เครื่องอิสริยาภรณ์นายพลซาน มาร์ติน ผู้ปลดปล่อย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์[14]
- เยอรมนีตะวันตก :
- พ.ศ. 2506 – เครื่องอิสริยาภรณ์คุณธรรมแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ชั้นที่ 2[15]
- เนเธอร์แลนด์ :
- พ.ศ. 2507 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา ชั้นที่ 2[16]
- เดนมาร์ก :
- พ.ศ. 2507 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์แดนเนอโบร ชั้นที่ 3[17]
- เบลเยียม :
- พ.ศ. 2507 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎเบลเยียม ชั้นที่ 2[18]
- มาเลเซีย :
- พ.ศ. 2507 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ปังกวน เนการา ชั้นที่ 3[19]
- เกาหลีใต้ :
- พ.ศ. 2509 – เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณด้านการบริการ ชั้นที่ 1[20]
- สวีเดน :
- พ.ศ. 2509 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาวขั้วโลก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์[20]
- นอร์เวย์ :
- พ.ศ. 2509 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์นักบุญโอลาฟ ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์[20]
- ออสเตรีย :
- พ.ศ. 2510 – เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย ชั้นที่ 1 มหาอิสริยาภรณ์เงิน[21]
อ้างอิง
แก้- ↑ คนสนิทป๋าเปรมปัดข่าวลือ ยังแข็งแรงดี-มีภารกิจปกติ
- ↑ การแต่งตั้งโดยกระทรวงมหาดไทย
- ↑ "หนังสือประวัติ ชำนาญ ยุวบูรณ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2017-03-01.
- ↑ ปิดตำนาน ไทยรัฐ สืบค้นเมื่อ 4 กรกฎาคม 2558
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๑๒๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๘, ๓๐ ธันวาคม ๒๕๑๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๓๙ ง หน้า ๑๔๐๒, ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๐๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๙๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๖, ๒๑ ตุลาคม ๒๕๑๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๗๕ ตอนที่ ๕๐ ง หน้า ๑๘๗๔, ๑ กรกฎาคม ๒๕๐๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๗๖ ตอนที่ ๑๑๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๓๗, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๐๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๘๐ ง หน้า ๒๔๔๗, ๒๙ สิงหาคม ๒๕๑๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๕ ง หน้า ๑๒๑, ๘ มกราคม ๒๕๐๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๘๕ ตอนที่ ๒๕ ง หน้า ๘๙๔, ๑๙ มีนาคม ๒๕๑๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๗๙ ตอนที่ ๑๐๙ ง หน้า ๒๖๓๐, ๑๑ ธันวาคม ๒๕๐๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๐ ตอนที่ ๔๑ ง หน้า ๑๓๒๓, ๓๐ เมษายน ๒๕๐๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๒๐ ง หน้า ๔๘๙, ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๒๒ ง หน้า ๕๘๑, ๓ มีนาคม ๒๕๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๒๙ ง หน้า ๙๖๕, ๓๑ มีนาคม ๒๕๐๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๑ ตอนที่ ๘๘ ง หน้า ๒๔๐๐, ๑๕ กันยายน ๒๕๐๗
- ↑ 20.0 20.1 20.2 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๘๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๕, ๑ ตุลาคม ๒๕๐๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๔ ตอนที่ ๘๐ ง หน้า ๒๔๔๕, ๒๙ สิงหาคม ๒๕๑๐