ชุดตัวหนังสือพยางค์เชโรกี

ชุดตัวหนังสือพยางค์เชโรกี เป็นชุดตัวหนังสือพยางค์ที่ประดิษฐ์โดยซีโควยาแห่งเผ่าเชโรกีในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1810 ถึงต้นคริสต์ทศวรรษ 1820 เพื่อเขียนภาษาเชโรกี สิ่งประดิษฐ์ของเขาเป็นสิ่งที่น่าสังเกตเป็นพิเศษเนื่องจากเขาไม่รู้หนังสือจนกระทั่วประดิษฐ์อักษรนี้ขึ้นมา[3] ตอนแรกเขาทดลองด้วยตัวหนังสือคำ แต่ภายหลังระบบของเขาพัฒนาไปเป็นชุดตัวหนังสือพยางค์ ในระบบนี้ แต่ละสัญลักษณ์ทำหน้าที่เป็นพยางค์แทนที่จะเป็นหน่วยเสียงเดียว ตัวอักษร 85 ตัว (เดิมมี 86 ตัว)[4] ให้วิธีการที่เหมาะสมสำหรับการเขียนภาษาเชโรกี ถึงแม้ว่าสัญลักษณ์บางส่วนดูเหมือนอักษรละติน, กรีก, ซีริลลิก และกลาโกลิติก ทั้งหมดไม่ได้แทนเสียงเดียวกัน

เชโรกี
Tsa-la-gi ("เชโรกี") เขียนด้วยชุดตัวหนังสือพยางค์เชโรกี
ชนิด
ช่วงยุค
คริสต์ทศวรรษ 1820[1] – ปัจจุบัน[2]
ทิศทางซ้ายไปขวา Edit this on Wikidata
ภาษาพูดภาษาเชโรกี
ISO 15924
ISO 15924Cher (445), ​Cherokee
ยูนิโคด
ยูนิโคดแฝง
Cherokee
ช่วงยูนิโคด
 บทความนี้ประกอบด้วยสัญกรณ์การออกเสียงในสัทอักษรสากล (IPA) สำหรับคำแนะนำเบื้องต้นเกี่ยวกับสัญลักษณ์ IPA โปรดดู วิธีใช้:สัทอักษรสากล สำหรับความแตกต่างระหว่าง [ ], / / และ ⟨ ⟩ ดูที่ สัทอักษรสากล § วงเล็บเหลี่ยมและทับ

รายละเอียด

แก้

ตัวหนังสือเชโรกีเป็นตัวหนังสือพยางค์ แต่ละตัวแทนหนึ่งพยางค์คล้ายคานะในภาษาญี่ปุ่น แต่เดิมมี 86 ตัวยกเลิกไป 1 ตัวเหลือ 85 ตัว มีสระหลักหกเสียงได้แก่ a, e, i, o, u, v เมื่อต้องการสร้างคำก็นำหลายพยางค์มารวมกัน เช่นคำว่า "วิกิพีเดีย" เขียนได้ว่า ᏫᎩᏇᏗᏯ ประกอบด้วย (wi) + (gi) + (que) + (di) + (ya) เป็นต้น ตัวหนังสือบางตัวคล้ายอักษรละตินแต่ออกเสียงต่างกันโดยสิ้นเชิง

ตารางข้างล่างแสดงชุดตัวหนังสือพยางค์ตามลำดับการอ่าน ซ้ายไปขวา บนลงล่าง ซึ่งจัดเรียงโดย Samuel Worcester พร้อมกับคำทับศัพท์ที่ใช้กันทั่วไป[5][6]

ตารางข้างล่างใช้อักษรยูนิโคดจากบล็อก Cherokee สำหรับภาพอีกรูปแบบ ดู File:Cherokee Syllabary.svg
พยัญชนะ a e i o u v [ə̃]
Ø a   e   i   o u v
g / k ga ka   ge   gi   go gu gv
h ha   he   hi   ho hu hv
l la   le   li   lo lu lv
m ma   me   mi   mo mu Ᏽ* mv
n / hn na hna nah ne   ni   no nu nv
qu
[kʷ]
qua   que   qui   quo quu quv
s s sa   se   si   so su sv
d / t da ta   de te di ti do du dv
dl / tl
[d͡ɮ] / [t͡ɬ]
dla tla   tle   tli   tlo tlu tlv
ts
[t͡s]
tsa   tse   tsi   tso tsu tsv
w
[ɰ]
wa   we   wi   wo wu wv
y
[j]
ya   ye   yi   yo yu yv
* อักษร Ᏽ เคยทำหน้าที่เป็นพยางค์ mv แต่ปัจจุบันเลิกใช้งานแล้ว[note 1]

อักษรละติน 'v' ที่ถอดเสียงในคอลัมน์สุดท้าย ทำหน้าที่เป็นสระนาสิก /ə̃/

ยูนิโคด

แก้

ภาษาเชโรกีได้รับการบรรจุลงในยูนิโคดเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1999 ในรุ่น 3.0 จากนั้นหลังการเผยแพร่รุ่น 8.0 ในวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 2015 ภาษาเชโรกีจึงถูกจัดเป็นอักษรสองขนาด (bicameral script) โดยมีการขยายรวมอักษรเชโรกีตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด และรวมอักษรที่เลิกใช้งานด้วย (Ᏽ)

บล็อก

แก้

บล็อกยูนิโคดแรกสำหรับภาษาเชโรกีอยู่ที่ U+13A0–U+13FF ประกอบด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด 86 ตัว และตัวพิมพ์เล็ก 6 ตัว:[note 2]

เชโรกี[1][2]
Official Unicode Consortium code chart (PDF)
  0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F
U+13Ax
U+13Bx
U+13Cx
U+13Dx
U+13Ex
U+13Fx
หมายเหตุ
1.^ แม่แบบ:Unicode version
2.^ พื้นที่สีเทาคือจุดที่ไม่ลงรหัส


บล็อกเชโรกี ส่วนขยายอยู่ที่ U+AB70–U+ABBF ประกอบด้วยตัวพิมพ์เล็กที่เหลือ 80 ตัว

เชโรกี ส่วนขยาย[1]
Official Unicode Consortium code chart (PDF)
  0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F
U+AB7x ꭿ
U+AB8x
U+AB9x
U+ABAx
U+ABBx ꮿ
หมายเหตุ
1.^ แม่แบบ:Unicode version

หมายเหตุ

แก้
  1. ข้อมูลส่วนใหญ่ ซึ่งรวมถึงสื่อที่ผลิตโดย Cherokee Nation ระบุว่าตัวอักษรนี้ทำหน้าที่เป็นพยางค์ mv[7][8][9] อย่างไรก็ตาม Worcester เขียนว่าอักษรนี้มีพยางค์คล้ายกับ hv แต่เปิดมากกว่า[10]
  2. ตารางยูนิโคด PDF แสดงรูปสมัยใหม่ของอักษร do

อ้างอิง

แก้
  1. Sturtevant & Fogelson 2004, p. 337.
  2. "Cherokee language". www.britannica.com. Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 22 May 2014.
  3. Diamond, Jared (1999). Guns, Germs, and Steel: The Fates of Human Societies. New York: Norton. p. 228. ISBN 0393317552.
  4. Sturtevant & Fogelson 2004, p. 337.
  5. Walker & Sarbaugh 1993, pp. 72, 76.
  6. Giasson 2004, p. 42.
  7. "Syllabary Chart" (PDF). Cherokee Nation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 15 January 2018. สืบค้นเมื่อ 22 December 2020.
  8. Cushman 2013, p. 93.
  9. "Cherokee: Range: 13A0–13FF" (PDF). The Unicode Standard, Version 9.0. สืบค้นเมื่อ 10 June 2017.
  10. Walker & Sarbaugh 1993, pp. 77, 89–90.

บรรณานุกรม

แก้
  • Bender, Margaret. 2002. Signs of Cherokee Culture: Sequoyah's Syllabary in Eastern Cherokee Life. Chapel Hill: University of North Carolina Press.
  • Bender, Margaret. 2008. Indexicality, voice, and context in the distribution of Cherokee scripts. International Journal of the Sociology of Language 192:91–104.
  • Cushman, Ellen (2010), "The Cherokee Syllabary from Script to Print" (PDF), Ethnohistory, 57 (4): 625–49, doi:10.1215/00141801-2010-039, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-12-22, สืบค้นเมื่อ 2015-12-13
  • Cushman, Ellen (2013), Cherokee Syllabary: Writing the People's Perseverance, University of Oklahoma Press, ISBN 978-0806143736.
  • Daniels, Peter T (1996), The World's Writing Systems, New York: Oxford University Press, pp. 587–92.
  • Foley, Lawrence (1980), Phonological Variation in Western Cherokee, New York: Garland Publishing.
  • Giasson, Patrick (2004). The Typographic Inception of the Cherokee Syllabary (PDF) (วิทยานิพนธ์). The University of Reading. สืบค้นเมื่อ October 1, 2016.
  • Kilpatrick, Jack F; Kilpatrick, Anna Gritts (1968), New Echota Letters, Dallas: Southern Methodist University Press.
  • McLoughlin, William G. (1986), Cherokee Renascence in the New Republic, Princeton, NJ: Princeton University Press.
  • Scancarelli, Janine (2005), "Cherokee", ใน Hardy, Heather K; Scancarelli, Janine (บ.ก.), Native Languages of the Southeastern United States, Bloomington: Nebraska Press, pp. 351–84.
  • Tuchscherer, Konrad; Hair, PEH (2002), "Cherokee and West Africa: Examining the Origins of the Vai Script", History in Africa, 29: 427–86, doi:10.2307/3172173, JSTOR 3172173, S2CID 162073602.
  • Sturtevant, William C.; Fogelson, Raymond D., บ.ก. (2004), Handbook of North American Indians: Southeast, vol. 14, Washington, DC: Smithsonian Institution, ISBN 0160723000.
  • Walker, Willard; Sarbaugh, James (1993), "The Early History of the Cherokee Syllabary", Ethnohistory, 40 (1): 70–94, doi:10.2307/482159, JSTOR 482159, S2CID 156008097.

อ่านเพิ่ม

แก้
  • Cowen, Agnes (1981), Cherokee Syllabary Primer, Park Hill, OK: Cross-Cultural Education Center, ASIN B00341DPR2.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้