ภาษามคธ [มะ-คด] (𑂧𑂏𑂯𑂲) บางครั้งเรียก มาคธี, มคธี หรือ มคฮี (𑂧𑂏𑂡𑂲) เป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาโภชปุรีและภาษาไมถิลีจัดอยู่ในกลุ่มของภาษาพิหาร ตระกูลอินโด-ยุโรเปียน มีผู้พูด 13 ล้านคนในเขตมคธของรัฐพิหารและบริเวณใกล้เคียงอื่น ๆ รวมถึงบางบริเวณในรัฐเบงกอลตะวันตก เขียนด้วยอักษรเทวนาครี

ภาษามคธ
มคธี
  • 𑂧𑂏𑂯𑂲/𑂧𑂏𑂡𑂲
  • मगही/मगधी
  • মগহী/মগধী
Magahi
ศัพท์ มคธี ในอักษรไกถี[1]
ประเทศที่มีการพูดประเทศอินเดีย
ภูมิภาคมคธ (รัฐพิหารตอนใต้ รัฐฌารขัณฑ์ตอนเหนือ และรัฐเบงกอลตะวันตกฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือ)[2][3][4]
ชาติพันธุ์ชาวมคธ
จำนวนผู้พูด12.6 ล้านคน  (2011 census)[5][6]
(ผู้พูดเพิ่มเติมนับภายใต้ภาษาฮินดี)
ตระกูลภาษา
รูปแบบก่อนหน้า
ภาษาถิ่น
Southern Magahi
Northern Magahi
Central Magahi
ระบบการเขียนอักษรเทวนาครี
อักษรไกถี (อดีต)
สถานภาพทางการ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองในธงของประเทศอินเดีย อินเดีย
รหัสภาษา
ISO 639-2mag
ISO 639-3mag
บริเวณที่มีผู้พูดภาษามคธ

ระบบเสียงใกล้เคียงกับภาษาฮินดีและพอจะเข้าใจกันได้กับผู้พูดภาษาฮินดีหรือภาษาพิหารอื่น ๆ มีนิทานและเพลงพื้นบ้านมาก เชื่อกันว่ารูปแบบโบราณของภาษามคธคือภาษาที่ใช้พูดในสมัยพุทธกาลและในราชอาณาจักรมคธ พุทธศาสนาเถรวาทใช้ภาษาบาลีซึ่งเป็นอีกชื่อหนึ่งของภาษามคธโบราณ ยังมีภาษาที่อยู่ระหว่างภาษาบาลีกับภาษามคธ เรียกว่า ภาษาอรธมาคธี (แปลว่า ภาษากึ่งมคธ) ซึ่งใช้ในคัมภีร์ของศาสนาเชน ความต่างของภาษามคธกับภาษาอรธมาคธี อยู่ในรูปแบบเดียวกับความต่างจากภาษาบาลี

ภาษามคธยังเป็นชื่อของภาษาปรากฤตที่ใช้ในการแสดงละคร และเป็นภาษาที่ใช้พูดในรัฐพิหารในยุคกลาง เป็นต้นกำเนิดของภาษาเบงกอล ภาษาโอริยาและภาษาพิหาร

ประวัติ

แก้

บรรพบุรุษของภาษามคธคือภาษาปรากฤตมคธที่เคยใช้พูดในอินเดียตะวันออก ซึ่งปัจจุบันคือภาคตะวันออกของประเทศอินเดีย บังกลาเทศและเนปาล บริเวณนี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรมคธ ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่รัฐพิหาร และเชื่อว่าเป็นภาษาของพระพุทธเจ้า รวมทั้งภาษาราชการในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช

พัฒนาการของภาษามคธมาสู่รูปแบบปัจจุบันยังไม่ทราบดีนัก นักวิชาการด้านภาษามักจะสรุปว่าภาษามคธ ภาษาไมถิลี ภาษาโภชปุรี ภาษาเบงกอล ภาษาอัสสัม และภาษาโอริยา พัฒนามาจากภาษาปรากฤตมคธหรือภาษาอรธมาคธีในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-16 แต่อาจจะไม่ถูกต้องแน่นอนนัก เพราะจุดเริ่มต้นของภาษาสมัยใหม่ในอินเดียปัจจุบันยังไม่ชัดเจน ภาษาคุชราต ภาษาไมถิลี ภาษาเบงกอล ภาษาอัสสัม ภาษาโอริยา ภาษามราฐี เริ่มมีรูปแบบของวรรณกรรมในราวพุทธศตวรรษที่ 19 แม้ว่าภาษามคธเคยเป็นภาษาราชการในอาณาจักรมคธและมีผู้ใช้เป็นจำนวนมากแต่ไม่เป็นที่สืบเนื่องในอินเดีย ในรัฐพิหาร ภาษาฮินดีเป็นภาษาที่ใช้ทางราชการและการศึกษา ภาษามคธนั้นถูกแทนที่ด้วยภาษาฮินดีเมื่อ พ.ศ. 2504

ภาษาฮินดีได้แพร่หลายเข้ามาในรัฐพิหาร และเข้ามาแทนที่ภาษาอูรดูในการเป็นภาษาราชการของรัฐ มีการต่อสู้เพื่อแย่งชิงการเป็นภาษาราชการของรัฐระหว่างภาษาฮินดีกับภาษาอูรดู แต่ไม่มีการพูดถึงภาษาแม่ในบริเวณนั้น อีก 3 ภาษาคือ ภาษามคธ ภาษาโภชปุรี และภาษาไมถิลี หลังจากได้รับเอกราช ภาษาฮินดีเป็นภาษาราชการของรัฐพิหาร ตามข้อตกลงภาษาราชการของพิหาร พ.ศ. 2493

บริเวณที่มีการใช้ภาษามคธ

แก้

ภาษามคธเคยใช้พูดในบริเวณที่เคยเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรมคธ เช่น ปัตนา นาลันทา คยา และนวทา เป็นต้น นอกจากนั้น มีผู้พูดบ้างในรัฐเบงกอลตะวันตก มุมไบ และเดลฮี

อักษรและวรรณกรรมพื้นบ้าน

แก้

ภาษามคธโดยทั่วไป เขียนด้วยอักษรเทวนาครี อักษรที่เคยใช้เขียนภาษานี้คืออักษรไกถี แทบจะไม่ได้ใช้แล้วในปัจจุบัน วรรณกรรมพื้นบ้านภาษามคธ ส่วนใหญ่เป็นเพลงพื้นบ้านและมีวรรณกรรมในรูปแบบปัจจุบันอยู่บ้าง นิตยสารภาษามคธ Magadhi เริ่มตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2495 ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น Bihan หมายถึง วันพรุ่งนี้

หมายเหตุ

แก้
  1. ภาษาทางการเพิ่มเติมของรัฐฌารขัณฑ์

อ้างอิง

แก้
  1. Grierson, George Abraham. Linguistic Survey Of India, Volume 5.2. p. 10.
  2. Grierson, G.A. (1927). "Magahi or Magadhi". Internet Archive.
  3. "Magahi". Omniglot.
  4. Atreya, Lata. "Magahi and Magadh: Language and the People" (PDF). Global Journal of Interdisciplinary Social Sciences.
  5. "Magahi". ethnologue.
  6. "Scheduled Languages in descending order of speaker's strength - 2011" (PDF). Registrar General and Census Commissioner of India. 29 June 2018.
  7. "झारखंड : रघुवर कैबिनेट से मगही, भोजपुरी, मैथिली व अंगिका को द्वितीय भाषा का दर्जा". Prabhat Khabar (ภาษาฮินดี). 21 March 2018. สืบค้นเมื่อ 17 November 2018.

อ่านเพิ่ม

แก้
  • Munishwar Jha - "Magadhi And Its Formation," Calcutta Sanskrit College Research Series, 1967, 256 pp
  • Saryu Prasad - "A Descriptive Study of Magahi Phonology", PhD thesis submitted to Patna University.
  • A.C. Sinha (1966) - "Phonology and Morphology of a Magahi Dialect", PhD awarded by the University of Poona.(now Pune)
  • G.A. Grierson Essays on Bihari Declension and Conjugation, Journal of the Asiatic Society of Bengal, vol. iii, pp. 119–159
  • Hoernle, A.F. Rudolf & Grierson, G.A. A Comparative Dictionary of the Bihari Language
  • Prasad, Swarnlata (1959) Juncture and Aitch in Magahi, Indian Linguistics, Turner Jubilee Volume, 1959 pp. 118–124.
  • Sweta Sinha (2014) - "The Prosody of Stress and Rhythm in Magahi", PhD thesis submitted to Jawaharlal Nehru University, New Delhi.
  • Sweta Sinha (2018)- "Magahi Prosody", Bahri Publications: New Delhi. ISBN 978-93-83469-14-7.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้