คยา
คยา (อังกฤษ: Gaya) คือตำบลหนึ่งในอำเภอคยา จังหวัดมคธ รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ตั้งอยู่ 100 กิโลเมตร ทางใต้ของเมืองปัฏนา ตัวเมืองทอดยาวไปตามชายฝั่งของแม่น้ำเนรัญชรา เมืองแห่งนี้เป็นเมืองสำคัญทั้งของศาสนาพุทธและศาสนาฮินดู เพราะเป็นทั้งที่ตั้งของสถานที่เกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของพระพุทธศาสนา และสถานที่ ๆ ถูกกล่าวถึงในตำนานปรัมปราในคัมภีร์รามายณะของศาสนาฮินดู โดยภูมิประเทศของคยาเต็มไปด้วยภูเขาหินขนาดเล็ก คยาเป็นเมืองที่เป็นทั้งที่ตั้งของคยาสีสะ สถานที่พระพุทธองค์ทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตรเพื่อโปรดแก่เหล่าชฏิล 1,003 รูป และวัดวิษณุบาท วัดฮินดูที่เป็นที่ประดิษฐานของหิน ที่ชาวฮินดูนับถือว่าเป็นรอยบาทของพระวิษณุ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำคัญ 1 ใน 7 แห่งของศาสนาฮินดู
คยา गया | |
---|---|
เขตปริมณฑล | |
ภาพถ่ายทางอากาศของคยา | |
พิกัด: 24°45′N 85°01′E / 24.75°N 85.01°E | |
ประเทศ | อินเดีย |
รัฐ | พิหาร |
แคว้น | มคธ |
เขต | มคธ |
อำเภอ | คยา |
การปกครองสำนักงานเทศบาล | |
• ประเภท | คยานาคารนีกัม |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 50.17 ตร.กม. (19.37 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 111 เมตร (364 ฟุต) |
ประชากร | |
• ทั้งหมด | 463,454 คน |
• ความหนาแน่น | 7,800 คน/ตร.กม. (20,000 คน/ตร.ไมล์) |
เดมะนิม | คยา |
รหัสไปรษณีย์ | 823001 - 06 |
รหัสพื้นที่ | 91-631 |
สถานีรถไฟ | สถานีคยา |
ท่าอากาศยาน | ท่าอากาศยานคยา |
เว็บไซต์ | gaya |
ความสำคัญ
แก้ในอดีตสมัยที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ แถบตำบลนี้เป็นที่อยู่ของชฏิลสามพี่น้องคือ อุรุเวลากัสสปะ, นทีกัสสปะ, คยากัสสปะ และบริวารของตนรวม 1,003 รูป ที่ตั้งสำนักบูชาไฟของตนเรียงกันไปตามแม่น้ำเนรัญชรา เป็นที่เคารพศรัทธาของคนในแคว้นมคธเป็นอย่างมาก พระพุทธองค์ได้เสด็จกลับมาโปรดชฏิลเหล่านี้[2] หลังจากตรัสรู้ที่ตำบลที่ใกล้กับที่ตั้งสำนักของอุรุเวลกัสสปะและบริวาร (อุรุเวลาเสนานิคม) โดยเสด็จไปโปรดปัญจวัคคีย์และจำพรรษาแรกที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันก่อน และทรงกลับมาทรงกระทำการทรมานทิฏฐิมานะของชฏิลด้วยการแสดงอภินิหารหลายประการ[3] จนเหล่าชฏิลทั้งหมดยอมรับนับถือและบรรพชาในพระพุทธศาสนาและพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตรแก่เหล่าชฏิลจนบรรลุเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด ที่ คยาสีสะ ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลคยาในปัจจุบัน
ปัจจุบัน คยาสีสะ สถานที่ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมแก่ชฏิลจนบรรลุพระอรหันต์ ยังคงมีชื่อเรียกว่าคยาสีสะเหมือนในพุทธกาล โดยมีสถูปเล็ก ๆ ตั้งอยู่ในจุดที่ชื่อว่าเป็นสถานที่พระพุทธองค์แสดงธรรมในครั้งนั้นด้วย
นอกจากสถานที่ทางพระพุทธศาสนาแล้ว ยังมีวัดฮินดูชื่อว่าวัดวิษณุบาท ที่ชาวฮินดูเชื่อว่าเป็นสถานที่ประดิษฐานรอยบาทของพระวิษณุ ตามคัมภีร์รามายณะด้วย โดยมีชาวฮินดูมาสักการะเป็นประจำ
ดูเพิ่ม
แก้- อาทิตตปริยายสูตร ธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดง ณ เขาคยาสีสะ
- พุทธคยา (ตำบลพุทธคยา) สถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาที่อยู่ใกล้กับตำบลคยา
อ้างอิง
แก้- ↑ "City Development Plan for Gaya: EXECUTIVE SUMMARY" (PDF). Urban Development and Housing Department, Government of Bihar. p. 4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-09-13. สืบค้นเมื่อ 8 October 2012.
- ↑ พระไตรปิฎกเล่มที่ 25 พระสุตตันตปิฎก เล่ม 17 ขุททกนิกาย อุทาน โพธิวรรค ชฎิลสูตร ชฎิลสูตร . พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก <[1][ลิงก์เสีย]>. เข้าถึงเมื่อ 5-6-52
- ↑ พระไตรปิฎก เล่มที่ 4 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 4 มหาวรรค ภาค 1 ปาฏิหาริย์เก็บผลหว้าเป็นต้น. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก <[2]>. เข้าถึงเมื่อ 5-6-52
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เรื่องราวการโปรดชฏิล 3 พี่น้องของพระพุทธองค์. เว็บไซต์ลานพุทธศาสนา. เรียกข้อมูลเมื่อ 5-6-52
- maps.google