นาลันทา (สันสกฤต: नालंंदा ISO: Nālandā, ออกเสียง [naːlən̪d̪aː]) เป็นอดีตพุทธวิทยาลัยในอาณาจักรมคธ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในรัฐพิหาร ประเทศอินเดีย[4] เอกสารทางศาสนาพุทธปรากฏเรียกนาลันทาว่าเป็น มหาวิหาร จนกระทั่งราว ค.ศ. 400 มหาวิทยาลัยเริ่มกลายเป็นของศาสนาพราหมณ์เป็นหลัก ตามด้วยนิกายมหายานในภายหลัง วิชาการอย่าง พระเวท, เวทางคะ, ไวยากรณ์ (วยากรณะ), ดาราศาสตร์ (ชโยติศะ), ตรรกะ (ตรรกะ) มีการศึกษาในนาลันทามหาวิหาร ปัจจุบันโบราณสถานนาลันทาตั้งอยู่ราว 95 กิโลเมตร (59 ไมล์) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองปัฏนา และเป็นหนึ่งในศูนย์กลางด้านการศึกษาที่ใหญ่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่งในคริสต์ศตวรรษที่ห้าถึง ค.ศ. 1200[5] ยูเนสโกรับรองสถานะแหล่งมรดกโลกให้กับนาลันทามหาวิหารในปี ค.ศ. 2016[6][7]

นาลันทา
ซากปรักหักพังของนาลันทามหาวิหาร
นาลันทาตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย
นาลันทา
แสดงที่ตั้งภายในประเทศอินเดีย
นาลันทาตั้งอยู่ในรัฐพิหาร
นาลันทา
นาลันทา (รัฐพิหาร)
ที่ตั้งอำเภอนาลันทา, รัฐพิหาร, ประเทศอินเดีย
ภูมิภาคมคธ
พิกัด25°08′12″N 85°26′38″E / 25.13667°N 85.44389°E / 25.13667; 85.44389
ความยาว240 m (800 ft)
ความกว้าง490 m (1,600 ft)
พื้นที่12 ha (30 เอเคอร์)
ความเป็นมา
ผู้สร้างราชากุมารคุปตะที่หนึ่ง
สร้างศตวรรษที่ 5
ละทิ้งศตวรรษที่ 13
วัฒนธรรมศาสนาพุทธ, ศาสนาฮินดู
เหตุการณ์ปล้นสะดมโดยบาขตียาร์ ขาลจี เมื่อ ป. 1200
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่
ขุดค้น1915–1937, 1974–1982[1]
ผู้ขุดค้นเดวิด บี. สปูนเนอร์, หิรานันท์ สาสตรี, Palak shahJ.A. Page, M. Kuraishi, จี.ซี. จันทระ, N. Nazim, อมาลานันท์ โฆษ[2]
การเปิดให้เข้าชมใช่
เว็บไซต์ASI
ASI No. N-BR-43[3]
ชื่อทางการแหล่งโบราณคดีนาลันทามหาวิหาร (มหาวิทยาลัยนาลันทา) ที่รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย
เกณฑ์พิจารณาวัฒนธรรม: iv, vi
อ้างอิง1502
ขึ้นทะเบียน2016 (สมัยที่ 40th)
พื้นที่23 ha
พื้นที่กันชน57.88 ha

อ้างอิง

แก้
  1. "Nalanda". Archaeological Survey of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 กันยายน 2014. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2014.
  2. Le 2010, p. 59.
  3. "Alphabetical List of Monuments – Bihar". Archaeological Survey of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2011. สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2014.
  4. "History of Nalanda". Nalanda District. National Informatics Centre, Ministry of Electronics & Information Technology, Government of India.
  5. Scharfe 2002, p. 149.
  6. "Four sites inscribed on UNESCO's World Heritage List". whc.unesco.org (ภาษาอังกฤษ). UNESCO World Heritage Centre. 15 กรกฎาคม 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 กรกฎาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2016.
  7. "Chandigarh's Capitol Complex makes it to UNESCO's World Heritage List". Economic Times. 18 กรกฎาคม 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 กรกฎาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม 2016.

บรรณานุกรม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  •   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Nalanda