อักษรไกถี
อักษรไกถี (कैथी), หรืออักษรกยถี หรืออักษรกยัสถี เป็นชื่อของอักษรที่เคยใช้ในอินเดียเหนือสมัยโบราณ โดยเฉพาะบริเวณที่ต่อมาจะเป็นจังหวัดตะวันตกเฉียงเหนือ อวัธ และ พิหาร ซึ่งเคยใช้เป็นตัวอักษรในทางกฎหมาย การบริหาร และบันทึกส่วนตัว [1]
อักษรไกถี | |
---|---|
ชนิด | |
ช่วงยุค | พุทธศตวรรษที่ 21 - 25 |
ทิศทาง | ซ้ายไปขวา |
ภาษาพูด | ภาษาอังคิกา, ภาษาอวัธ, ภาษาโภชปุระ, ภาษามคธ, ภาษาไมถิลี, ภาษาอูรดู |
อักษรที่เกี่ยวข้อง | |
ระบบแม่ | |
ระบบลูก | อักษรสิเลฏินาครี |
ระบบพี่น้อง | อักษรเทวนาครี |
ISO 15924 | |
ISO 15924 | Kthi (317), Kaithi |
ยูนิโคด | |
ยูนิโคดแฝง | Kaithi |
ช่วงยูนิโคด | U+11080-U+110CF |
ที่มา
แก้ชื่อของอักษรไกถีได้มาจากคำว่า กยัสถะ ซึ่งเป็นกลุ่มทางสังคมในอินเดีย [2] ชุมชนกยัสถะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเจ้านครรัฐและรัฐบาลอาณานิคมในอินเดียเหนือ อักษรจึงมีชื่อว่าอักษรไกถี
ประวัติ
แก้เอกสารที่เขียนด้วยอักษรไกถิที่ตรวจสอบได้พบตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 21 อักษรนี้ใช้มากในสมัยจักรวรรดิโมกุล ในราว พ.ศ. 1933 ในสมัย บริติชราช อักษรนี้เป็นอักษรทางการในศาลของพิหาร ซึ่งนิยมใช้อักษรไกถีมากกว่าอักษรเทวนาครี แต่ต่อมา ความนิยมใช้ได้ลดลง
ยูนิโคด
แก้Kaithi[1] Unicode.org chart (PDF) | ||||||||||||||||
0 | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | A | B | C | D | E | F | |
U+1108x | 𑂀 | 𑂁 | 𑂂 | 𑂃 | 𑂄 | 𑂅 | 𑂆 | 𑂇 | 𑂈 | 𑂉 | 𑂊 | 𑂋 | 𑂌 | 𑂍 | 𑂎 | 𑂏 |
U+1109x | 𑂐 | 𑂑 | 𑂒 | 𑂓 | 𑂔 | 𑂕 | 𑂖 | 𑂗 | 𑂘 | 𑂙 | 𑂚 | 𑂛 | 𑂜 | 𑂝 | 𑂞 | 𑂟 |
U+110Ax | 𑂠 | 𑂡 | 𑂢 | 𑂣 | 𑂤 | 𑂥 | 𑂦 | 𑂧 | 𑂨 | 𑂩 | 𑂪 | 𑂫 | 𑂬 | 𑂭 | 𑂮 | 𑂯 |
U+110Bx | 𑂰 | 𑂱 | 𑂲 | 𑂳 | 𑂴 | 𑂵 | 𑂶 | 𑂷 | 𑂸 | 𑂹 | 𑂺 | 𑂻 | 𑂼 | | 𑂾 | 𑂿 |
U+110Cx | 𑃀 | 𑃁 | ||||||||||||||
Notes
|