สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยเป็นปัญหาที่ถกเถียงกันมาอย่างยาวนาน โดยเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศแรกที่ลงนามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติใน ค.ศ. 1948 และดูเหมือนมีความมุ่งมั่นที่จะรักษาข้อกำหนด อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ ผู้มีอำนาจมักละเมิดสิทธิมนุษยชนของชาติไทยด้วยการลอยนวลพ้นผิด[1][2] ตั้งแต่ ค.ศ. 1977 ถึง 1988 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (AI) รายงานว่ามีการกลบเกลื่อนคดีฉาวโฉ่เกี่ยวกับการกักขังตามอำเภอใจมากกว่าหนึ่งพันราย การบังคับบุคคลให้สูญหาย 50 ครั้ง และการทรมานและการวิสามัญฆาตกรรมอย่างน้อย 100 ครั้ง นับตั้งแต่ปีนั้น ทาง AI แสดงให้เห็นว่าแทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย และสถิติสิทธิมนุษยชนของไทยโดยรวมยังคงเป็นปัญหา[3]:358-361 รายงานฮิวแมนไรท์วอทช์ใน ค.ศ. 2019 ขยายภาพรวมของ AI ที่เน้นเฉพาะกรณีของประเทศไทย เนื่องจากรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี ประยุทธ์ จันทร์โอชา ดำรงตำแหน่งช่วงกลาง ค.ศ. 2019 สถิติสิทธิมนุษยชนของไทยยังคงไม่มีสัญญาณการเปลี่ยนแปลง[4][5]:7-8
การรับรองในกฎหมาย
แก้สนธิสัญญานานาชาติ
แก้ใน ค.ศ. 1948 ประเทศไทยเป็นหนึ่งในกลุ่มชาติแรกที่ลงนามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ[6] โดยทำตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองในเรื่องเสรีภาพ สิทธิทางการเมือง และเสรีภาพพลเมืองตั้งแต่ ค.ศ. 1997
โครงสร้างการคุ้มครองทางกฎหมายในประเทศ
แก้มีการริเริ่มสิทธิใหม่ ๆ ในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ซึ่งรวมถึงสิทธิในการเข้าถึงการศึกษาแบบให้เปล่า สิทธิในชุมชนท้องถิ่น และสิทธิในการต่อต้านโดยสันติซึ่งการกระทำใด ๆ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ สิทธิเด็ก คนชรา ผู้พิการ และความเสมอภาคทางเพศ เสรีภาพของสารสนเทศ สิทธิในสาธารณสุข การศึกษาและสิทธิผู้บริโภคก็ได้รับการรับรองเช่นกัน รวมแล้ว มีสิทธิที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 รับรอง 40 สิทธิ เปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ที่รับรองเพียง 9 สิทธิ[7]
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2560) ซึ่งร่างขึ้นโดย องค์กรซึ่งได้รับแต่งตั้งจากคณะผู้ยึดอำนาจการปกครองขณะนั้น ระบุไว้ในมาตรา 4 ว่า "ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง"[8] มาตรา 25 ถึง 49 ได้บรรยายขอบเขตของสิทธิเฉพาะในบางด้าน เช่น ความยุติธรรมทางอาญา การศึกษา การไม่เลือกปฏิบัติ ศาสนา และเสรีภาพในการแสดงออก การก้าวก่ายชีวิตส่วนตัว ข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัว โดยจำนวนมาตรา ในเรื่องสิทธิลดลง 14 มาตรา เมื่อเทียบกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันกำหนดสิทธิต่าง ๆ โดยให้อยู่ในหมวด 3 และไม่มีส่วนของสิทธิ ซึ่งแตกต่างกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ที่กำหนดให้มีส่วนของสิทธิแบ่งเป็น 9 ส่วน บททั่วไป ความเสมอภาค สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล สิทธิในกระบวนการยุติธรรม สิทธิในทรัพย์สิน สิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชน สิทธิเสรีภาพในการศึกษา สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิการจากรัฐ
การจัดอันดับสิทธิและเสรีภาพขององค์การนอกภาครัฐ
แก้ใน ค.ศ. 2020 รายงานสำรวจรายปีของฟรีดอมอินเดอะเวิลด์และรายงานฟรีดอมเฮาส์ของสหรัฐ ซึ่งมีหน้าที่พยายามวัดระดับประชาธิปไตยและเสรีภาพทางการเมืองในทุกประเทศ ปรับปรุงอันดับประเทศไทยจากไม่เสรีเป็นเสรีบางส่วน เนื่องจากข้อจำกัดในการชุมนุมลดลงเล็กน้อยและควบคุมการเลือกตั้งอย่างเข้มงวดได้ยุติช่วงเวลาคณะผู้ยึดอำนาจการปกครองโดยตรง แม้จะพบข้อบกพร่องที่สำคัญก็ตาม[9] อย่างไรก็ตาม มีการปรับจากเสรีบางส่วนเป็นไม่เสรีอีกครั้งจากการยุบพรรคอนาคตใหม่ พรรคฝ่ายค้านที่เป็นที่นิยมในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 2019 และรัฐบาลที่ปกครองโดยทหาร นำโดยนายกรัฐมนตรี ประยุทธ์ จันทร์โอชา การปราบปรามผู้เรียกร้องการปฏิรูปประชาธิปไตยในการประท้วงในประเทศไทย ค.ศ. 2020–2021[10] ใน ค.ศ. 2021 พระมหากษัตริย์และรัฐบาลเผด็จการทำให้เสรีภาพพลเมืองแย่ลงด้วยการใช้กฎหมายความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์อย่างรุนแรงต่อผู้ประท้วง ระบบความยุติธรรมที่ไม่น่าไว้วางใจ จำกัดเสรีภาพในการพูด และไม่มีเสรีภาพในการสมาคม[11] ดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชันก็แย่ลงจากอันดับ 36 ไปเป็น 35 ซึ่งอยู่ในประเทศที่ 110 จาก 180 ประเทศ[12]
ปี | ฟรีดอมเฮาส์ | หน่วยข่าวกรองเศรษฐศาสตร์ | องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ | |||
---|---|---|---|---|---|---|
อันดับในรายงาน | ฟรีดอมอินเดอะเวิลด์ | ดัชนีประชาธิปไตย[note 1] | ดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชัน[note 2] | |||
อันดับเสรีภาพ[note 3] เสรี, เสรีบางส่วน, ไม่เสรี |
สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง |
เสรีภาพของพลเมือง |
ดัชนีประชาธิปไตย ประชาธิปไตยสมบูรณ์, ประชาธิปไตยบกพร่อง, กึ่งอำนาจนิยม, อำนาจนิยม |
คะแนนโดยรวม | การรับรู้ความทุจริต ทางการเมือง | |
2019[16] | เสรีบางส่วน | 6 / 40 | 26 / 60 | ประชาธิปไตยบกพร่อง | 6.32 | 36 |
2020 | ไม่เสรี | 5 / 40 | 25 / 60 | ประชาธิปไตยบกพร่อง | 6.04 | 36 |
2021 | ไม่เสรี | 5 / 40 | 24 / 60 | ประชาธิปไตยบกพร่อง | 6.04 | 35 |
การละเมิดสิทธิมนุษยชน
แก้ในรายงานของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลไทยเป็นต้นเหตุของการละเมิดสิทธิมนุษยชนในหลายกรณี โดยเฉพาะในจังหวัดชายแดนใต้ ในสงครามปราบปรามยาเสพติด ในการจับและจองจำผู้ต้องหา ในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังในเรือนจำ และในการจำกัดเสรีภาพการแสดงออก ในบางครั้งเจ้าหน้าที่ที่กระทำผิดอาจถูกจับและลงโทษหรือปลดออก แต่สิทธิการได้รับยกเว้นโทษตามกฎอัยการศึก พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้เจ้าหน้าที่ไม่ถูกลงโทษตามสมควร ส่วนการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยคนทั่วไปและอาชญากร ได้แก่ การค้ามนุษย์ การบังคับค้าบริการทางเพศ การเลือกปฏิบัติ โดยผู้ถูกละเมิด ได้แก่ ผู้ลี้ภัย แรงงานต่างชาติ แรงงานเด็ก สตรี กลุ่มชาติพันธุ์ ชนกลุ่มน้อย ผู้พิการ[17]
การค้ามนุษย์
แก้การค้ามนุษย์เป็นปัญหาสำคัญในประเทศไทย ซึ่งมีทั้งการล่อลวงและการลักพาชายจากกัมพูชาโดยนักค้ามนุษย์และขายให้แก่เรือประมงผิดกฎหมายซึ่งจับปลาในอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ ชายเหล่านี้ได้รับสัญญาว่าจะได้ทำงานที่มีรายได้ดีกว่า แต่กลับถูกบังคับให้ทำงานเป็นทาสบนเรือนานถึง 3 ปี[18] การค้าเด็กก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่สำคัญในประเทศไทยเช่นกัน โดยการบังคับให้เด็กที่ถูกลักพาซึ่งมีอาจมีอายุน้อยเพียง 4 ปีเป็นทาสเพื่อบริการทางเพศในนครใหญ่อย่างกรุงเทพมหานครและภูเก็ต กิจกรรมดังกล่าวแพร่กระจายมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชนบทของประเทศ[19] อย่างไรก็ตามในวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2562 รัฐบาลประสบความสำเร็จในการพัฒนาสิทธิมนุษยชนด้านการประมง โดยคณะกรรมาธิการยุโรปได้ให้ใบเขียวแก่ประเทศไทย เพื่อยืนยันว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ให้ความร่วมมือในการต่อต้านการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม[20]
สิทธิทางการเมือง
แก้หลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ประชาชนถูกลิดรอนเสรีภาพในการแสดงออกและเดินทางอย่างรุนแรง มีบุคคลหนีคำสั่งเรียกให้มารายงานตัวและหมายจับของศาลทหารไปต่างประเทศหลายคน กองทัพสั่งห้ามการชุมนุมทางการเมืองและกิจกรรมของพรรคการเมือง พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 เป็นกฎหมายการชุมนุมฉบับใหม่ที่ออกมาหลังรัฐประหาร และมีเนื้อหาละเมิดสิทธิในการชุมนุมอย่างชัดเจน[21]
ในการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 มีการใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เพื่อจำกัดการชุมนุม ทั้งที่ก่อนหน้านี้อ้างว่าใช้เพื่อควบคุมการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศเท่านั้น[22]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
เสรีภาพสื่อ
แก้พันธมิตรสื่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAPA) หมายเหตุว่า สภาพแวดล้อมด้านสื่อของประเทศไทยก่อนเกิดรัฐประหารถือว่าเป็นสื่อที่เสรีและมีชีวิตชีวาที่สุดประเทศหนึ่งในเอเชีย แต่เสื่อมลงอย่างรวดเร็วหลังการยึดอำนาจของฝ่ายทหาร พันธมิตรสื่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ชี้ว่า มีการปิดสถานีวิทยุชุมชนราว 300 แห่งทั่วประเทศ การสกัดกั้นช่องข่าวเคเบิลเป็นระยะ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อปรากฏข่าวเกี่ยวกับทักษิณ ชินวัตร หรือวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์) และการระงับเว็บไซต์ไทยบางเว็บที่อภิปรายถึงการเข้าแทรกแซงประชาธิปไตยไทยของกองทัพ SEAPA ยังชี้ว่า ขณะที่ดูเหมือนจะไม่มีการปราบปรามนักหนังสือพิมพ์ และผู้สื่อข่าวทั้งต่างชาติและชาวไทยเหมือนจะมีอิสระที่จะสัญจร สัมภาษณ์ และรายงานรัฐประหารตามที่เห็นสมควร แต่การเซ็นเซอร์ตัวเองยังเป็นปัญหาอยู่ในห้องข่าวของไทย สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ยังได้ออกกฎหมาย พระราชบัญญัติ การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 เพื่อควบคุมการชุมนุม ในปี พ.ศ. 2560 เอกชัย หงส์กังวาน ได้แสดงความจำนงผ่านเว็บไซด์เฟซบุ๊คว่าเขาจะใส่เสื้อสีแดง ในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ซึ่งตรงกับพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ถูกควบคุมตัว[23] ในปี พ.ศ. 2561 รัฐบาลประสบความสำเร็จในการห้ามการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ประชาชนชาวไทยส่วนหนึ่งแม้ไม่เห็นด้วยต่อสถาบันกษัตริย์แต่สื่อมวลชนในประเทศไทยเลือกที่จะไม่รายงานข่าวมากกว่ารายงานข่าวที่เป็น ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์อาทิทรงประทับอยู่ที่ต่างประเทศมากกว่าอยู่ภายในประเทศ นับตั้งแต่ทรงขึ้นครองราชย์[ต้องการอ้างอิง]
การใช้กำลังเกินกว่าเหตุของกำลังความมั่นคง
แก้สงครามยาเสพติดของรัฐบาลเมื่อ พ.ศ. 2546 เป็นเหตุให้มีวิสามัญฆาตกรรมกว่า 2,500 คน ที่ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ค้ายาเสพติด[24] สภาพเรือนจำและศูนย์กักกันผู้อพยพประจำจังหวัดบางแห่งมีคุณภาพไม่ดี ใน พ.ศ. 2547 กว่า 1,600 คนเสียชีวิตในเรือนจำหรือในการควบคุมตัวของตำรวจ ในจำนวนนี้ 131 คน เสียชีวิตเพราะการกระทำของตำรวจ เจ้าหน้าที่ตำรวจทหารในภาคเหนืออาทิที่จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย ยังทำการวิสามัญฆาตกรรม คนร้ายที่ทำการขนส่งยาเสพติดมากกว่า 30 คน[ต้องการอ้างอิง]
มีการรายงานปัญหาต่าง ๆ ในจังหวัดภาคใต้ เกี่ยวกับความไม่สงบในภาคใต้ของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ได้รับความสนใจมาก ทนายความสิทธิมนุษยชนมุสลิม สมชาย นีละไพจิตร มีรายงานว่าถูกก่อกวน ขู่ จนหายสาบสูญโดยถูกบังคับไปในท้ายที่สุด เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2547 หลังเขากล่าวหาว่าถูกทรมานโดยกำลังความมั่นคงของรัฐ[25] ในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2547 ได้เกิดเหตุการณ์ทั่ว 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีผู้เสียชีวิตรวม 113 ศพ แบ่งเป็นประชาชนในพื้นที่หรือผู้ก่อความไม่สงบ 108 ศพ ทหารตำรวจ 5 ศพ ท่ามกลางการประกาศกฎอัยการศึกของกองทัพ แม้ว่าผู้เสียชีวิตทั้ง 108 รายเป็นผู้ก่อการไม่สงบแต่เจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารได้สังหารพวกเขาในวันดังกล่าว[ต้องการอ้างอิง]
ใน พ.ศ. 2549 นายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร กล่าวว่า เขาเชื่อว่า สมชาย นีละไพจิตร เสียชีวิต และกำลังความมั่นคงของรัฐดูเหมือนจะมีส่วนรับผิดชอบ[26] จนสุดท้ายมีตำรวจถูกกล่าวหาว่ามีส่วนในการเสียชีวิตของสมชาย นีละไพจิตร 5 นาย แม้ว่าการไต่สวนจะจบด้วยการพิพากษาลงโทษ 1 คน ซึ่งมีการกลับคำพิพากษาในชั้นอุทธรณ์ ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554[27] คำตัดสินดังกล่าวถูกคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนเอเชียประณาม[28] และอังคณา นีละไพจิตร ภรรยาของสมชาย ประกาศเจตนาของเธอว่าจะอุทธรณ์คดีต่อไปถึงชั้นฎีกา[27] ต่อมาในวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ศาลฎีกาได้พิพากษา ยกฟ้อง[29]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
สิทธิของผู้ต้องหา
แก้ผู้ต้องหาคดีความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยเผชิญกับอุปสรรคในการขอประกันตัวก่อนการพิจารณาคดี ทำให้หลายคนถูกคุมขังเป็นเวลาหลายเดือนก่อนมีการพิจารณาคดี[30] มีผู้ต้องขังเสียชีวิตในการคุมขัง ทั้งแขวนคอตัวเอง และอีกคนผลชันสูตรพลิกศพแจ้งว่าติดเชื้อในกระแสเลือด เช่น สุริยัน สุจริตพลวงศ์ (หมอหยอง)[31] ผู้ต้องขังในคดีนี้มักพบเห็นว่าเดินเท้าเปล่าและมีโซ่ล่ามข้อเท้าเมื่อนำตัวมาศาล[32]
สิทธิของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ
แก้ประเทศไทยขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่อดกลั้นและเป็นมิตรต่อกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศมากที่สุดประเทศหนึ่งในทวีปเอเชีย[33] โดยที่กิจกรรมทางเพศของเพศเดียวกันนั้นชอบด้วยกฎหมายมาตั้งแต่ พ.ศ. 2500[34] รัฐบาลไทยยังส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติท่องเที่ยวในประเทศไทยเพราะเป็นประเทศที่ต้อนรับกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศอย่างดี[35] ทว่า การเลือกปฏิบัติและการดูถูกเหยียดหยามกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศก็ยังปรากฏอยู่กว้างขวางในสังคมไทย[36]
การปฏิบัติต่อทหารเกณฑ์
แก้องค์การนิรโทษกรรมสากลออกรายงานในปี 2562 อ้างอดีตทหารเกณฑ์ชาวไทย ระบุว่า ในกองทัพไทยมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนทหารเกณฑ์หลายกรณีเป็นเรื่องปกติ เช่น การธำรงวินัยด้วยการทำร้ายร่างกายด้วยอาวุธ การล่วงละเมิดทางเพศ การลงโทษที่ดูหมิ่นศักดิ์ศรี รวมทั้งการข่มขืนกระทำชำเราทหารที่เป็นเกย์[37] และในเดือนมีนาคม 2563 กล่าวหาว่าทหารเกณฑ์ของไทยเผชิญกับการละเมิดอย่างเป็นสถาบันแต่ถูกทางการทหารปิดปากอย่างเป็นระบบ[38]
การปฏิบัติต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน
แก้ในเดือนธันวาคม 2566 ประเทศไทยได้ถูกประณามจากเหตุการณ์ผู้ป่วยชาวต่างชาติ (ไต้หวัน) ประสบอุบัติเหตุ หน่วยกู้ภัยได้นำส่งโรงพยาบาลแต่เนื่องจากเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลพูดว่าเบิกไม่ได้ จึงไม่ให้การรักษาพยาบาลแต่อย่างใด (ตาย) กรณีจึงชัดแจ้งว่าความเป็นมนุษย์ถูกละเมิดร้ายแรง นานาชาติกล่าวขานถึงเหตุการณ์สะเทือนขวัญนี้อย่างกว้างขวาง[39][40]
หมายเหตุ
แก้- ↑ จากอันดับหน่วยข่าวกรองเศรษฐศาสตร์ใน ค.ศ. 2010[13] ประชาธิปไตยสมบูรณ์มีคะแนนโดยรวมที่ 10 ถึง 8 ประชาธิปไตยบกพร่องมีคะแนนโดยรวมที่ 7.9 ถึง 6 กึ่งอำนาจนิยมมีคะแนนโดยรวมที่ 5.9 ถึง 4 และอำนาจนิยมมีคะแนนโดยรวมที่ 3.9 ถึง 1 ยิ่งคะแนนมากขึ้นเท่าใด มีความเป็นประชาธิปไตยจึงมากขึ้นเท่านั้น
- ↑ ตามดัชนีการรับรู้การทุจริตระหว่างประเทศเพื่อความโปร่งใสรายปี[14] ขอบเขตคะแนนตั้งแต่ 100 (ทุจริตน้อย) ถึง 0 (ทุจริตมาก)
- ↑ จากการจัดอันดับของฟรีดอมเฮาส์ใน ค.ศ. 2021[15]
อ้างอิง
แก้- ↑ Fenn, Mark (22 January 2015). "Thailand's Culture of Impunity". The Diplomat. สืบค้นเมื่อ 19 August 2019.
- ↑ "Culture of impunity and the Thai ruling class: Interview with Puangthong Pawakapan". Prachatai English. 3 October 2016. สืบค้นเมื่อ 19 August 2019.
- ↑ Amnesty International Report 2017/18; The State of the World's Human Rights (PDF). London: Amnesty International. 2018. ISBN 9780862104993. สืบค้นเมื่อ 24 November 2018.
- ↑ McDonald, Taylor (25 July 2019). "Thailand fails to address rights abuse: HRW". ASEAN Economist. สืบค้นเมื่อ 25 July 2019.
- ↑ To Speak Out is Dangerous; Criminalization of Peaceful Expression in Thailand (PDF). New York: Human Rights Watch. October 2019. ISBN 9781623137724. สืบค้นเมื่อ 26 October 2019.
- ↑ "Human Rights: UDHR: Universal Declaration of Human Rights". Concordian International School. สืบค้นเมื่อ 2018-11-24.
- ↑ Thanet Aphornsuvan, The Search for Order: Constitutions and Human Rights in Thai Political History เก็บถาวร 2008-02-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 2001 Symposium: Constitutions and Human Rights in a Global Age: An Asia Pacific perspective
- ↑ "Draft Constitution of the Kingdom of Thailand 2016 Unofficial English Translation" (PDF). Office of the United Nations Resident Coordinator in Thailand. United Nations. June 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-08-16. สืบค้นเมื่อ 29 September 2016.
- ↑ "Thailand: Freedom in the World 2020 Country Report". Freedom House (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Thailand: Freedom in the World 2021 Country Report". Freedom House (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Thailand: Freedom in the World 2022 Country Report". Freedom House (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "2021 Corruption Perceptions Index - Explore the results". Transparency.org (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "Democracy Index 2010" (PDF). 2010. สืบค้นเมื่อ 2 December 2010.
- ↑ "Corruption Perceptions Index 2020". Transparency International.
- ↑ "Freedom in the World Research Methodology". Freedom House (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 28 November 2021.
- ↑ "Democracy Index 2020: In sickness and in health?". EIU.com. สืบค้นเมื่อ 2 February 2021.
- ↑ Country Reports on Human Rights Practices for 2015
- ↑ "Forced to Fish: Cambodia's sea slaves". The Guardian Weekly, Jan. 30, 2009.
- ↑ " New York Review", 25 June 2008
- ↑ ไทยเฮ! อียูปลดใบเหลืองแล้ว หลังไทยแก้ปัญหาประมงตามหลักสากล
- ↑ "รายงานหน้า2 : พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ กับปัญหาสิทธิเสรีภาพ". มติชนออนไลน์. 22 November 2020. สืบค้นเมื่อ 5 June 2021.
- ↑ "ครบ 1 ปี ใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินคุมโควิด-19 ควรไปต่อหรือพอแค่นี้". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 7 April 2021.
- ↑ 'เอกชัย' ถูกทหารเชิญ 'ไปเที่ยวกาญจนบุรี' หลังโพสต์เฟซบุ๊กจะใส่เสื้อแดงวันที่ 26
- ↑ ดู:
- "Thailand War on Drugs Turns Murderous, 600 Killed This Month -- Human Rights Groups Denounce Death Squads, Executions". Drug War Chronicle, Feb. 21, 2003.
- "A Wave of Drug Killings Is Linked to Thai Police". By Seth Mydans. April 8, 2003. New York Times. [1] เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Amnesty International report: Thailand: Grave developments - Killings and other abuses เก็บถาวร 2011-07-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Human Rights Watch. Detailed report: Thailand: Not Enough Graves: IV. Human Rights Abuses and the War on Drugs
- Matthew Z Wheeler. "From Marketplace to Battlefield: Counting the Costs of Thailand's Drug War." [2] เก็บถาวร 2013-10-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [3] [4] เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. May 28, 2003. ICWA Letters เก็บถาวร 2013-10-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Institute of Current World Affairs.
- "Thailand: Not Smiling on Rights" เก็บถาวร 2011-07-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. July 18, 2005. Asian Centre for Human Rights. See page 24, the section called "Killings in the war against drugs".
- "US-Thailand's 'License To Kill'. 2274 Extra-Judicial Killings In 90 Days". The Akha Journal of the Golden Triangle. By Matthew McDaniel. Vol. 1. No. 2. October 2003. Relevant section of journal 2: 2p6.pdf เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Cover and first part of journal 2: 2p1.pdf เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Link list for all parts of the journals เก็บถาวร 2016-04-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
- Timeline of Thailand's "War on Drugs". July 7, 2004. Human Rights Watch.
- "Letter from Asia; She Tilts Against Power, but Don't Call Her Quixotic." By Jane Perlez. July 7, 2004. New York Times.
- Thailand 2003. Extrajudicial drug-war killings of innocent people. Photo gallery. Press/media links, and human rights reports.
- "Institutionalised torture, extrajudicial killings & uneven application of law in Thailand" เก็บถาวร 2012-05-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. April 2005. See Annex 5 for a "Partial list of persons reported killed during the 'war on drugs' (revised)." Asian Legal Resource Centre. From Vol. 04 - No. 02: "Special Report: Rule of Law vs. Rule of Lords in Thailand" เก็บถาวร 2007-09-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
- Bangkok Post, August 3, 2007. "Kanit to chair extrajudicial killings probe" เก็บถาวร 2007-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
- "Most of those killed in war on drug not involved in drug". November 27, 2007. The Nation (an English-language newspaper in Thailand). [5] เก็บถาวร 2012-09-11 ที่ archive.today
- "Southeast Asia: Most Killed in Thailand's 2003 Drug War Not Involved With Drugs, Panel Finds". November 30, 2007. Drug War Chronicle.
- "Thailand's drug wars. Back on the offensive". January 24, 2008. The Economist.
- ↑ "Missing Thai lawyer 'harassed'". BBC News. 9 August 2005. สืบค้นเมื่อ 24 April 2011.
- ↑ "Missing Thai lawyer 'harassed'". BBC News. 13 January 2006. สืบค้นเมื่อ 24 April 2011.
- ↑ 27.0 27.1 "Policeman acquitted in Somchai case". Bangkok Post. 12 March 2011. สืบค้นเมื่อ 24 April 2011.
- ↑ "THAILAND: Verdict on Somchai's case--his wife, daughter could not be plaintiffs; not enough evidence to convict accused". Asian Human Rights Commission. 17 March 2011. สืบค้นเมื่อ 24 April 2011.
- ↑ "ศาลฎีกายกฟ้อง 5 ตำรวจ คดีอุ้มทนายสมชายปี47". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-14. สืบค้นเมื่อ 2017-05-08.
- ↑ World Report 2014: ประเทศไทย. Human Rights Watch.
- ↑ รมว.ยธ. แถลง'หมอหยอง'เสียชีวิตแล้ว ติดเชื้อในกระแสเลือด
- ↑ The Draconian Legal Weapon Being Used to Silence Thai Dissent. Time.
- ↑ Top gay-friendly destinations เก็บถาวร 2015-02-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Lonely Planet
- ↑ Assessment of sexual health needs of males who have sex with males in Laos and Thailand หมายเหตุ: ในรายงานได้ระบุว่าโทษผิดธรรมดามนุษย์ (Offences against the human order) ที่ได้มีการบัญญัติไว้ในกฎหมายลักษณะอาญาฯ นั้นได้ถูกยกเลิกไปในปี พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) แต่ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 ซึ่งเป็นกฎหมายแทนที่กฎหมายลักษณะอาญาฯ เริ่มมีผลบังคับใช้จริงตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) เป็นต้นไป
- ↑ "Go Thai. Be Free". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-19. สืบค้นเมื่อ 2019-04-06.
- ↑ Rising LGBT discrimination challenges Thailand’s culture of tolerance เก็บถาวร 2014-11-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Asian Correspondent
- ↑ ""เราก็แค่ของเล่นของพวกเขา" เปิดรายงานการล่วงละเมิดทหารเกณฑ์ในไทย". BBC ไทย. 23 March 2020. สืบค้นเมื่อ 27 March 2021.
- ↑ "Weeks after Korat massacre, Amnesty report describes conscript abuses". Bangkok Post. Reuters. 23 March 2020. สืบค้นเมื่อ 23 March 2020.
- ↑ "Taiwanese man dies after hospital in Thailand refuses to treat him". Petch Petpailin. Thaiger. 12 December 2023. สืบค้นเมื่อ 23 December 2023.
- ↑ "Probe launched into Bangkok hospital's rejection of severely injured tourist". mdsmqlk29. nationthailand news (cited in Raddit.com). 12 December 2023. สืบค้นเมื่อ 23 December 2023.
บรรณานุกรม
แก้ข่าว
แก้- Glahan, Surasak (11 October 2016). "Impunity breeds political violence" (Opinion). Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 19 August 2019.
- Horn, Robert (16 December 2013). "Thai politics ruled by 'culture of impunity'". Al Jazeera. สืบค้นเมื่อ 19 August 2019.
- Neelapaijit, Angkhana (12 March 2019). "Impunity remains victims' obstacle to real justice" (Opinion). Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 19 August 2019.
หนังสือ
แก้- Haberkorn, Tyrell (23 July 2019). In Plain Sight: Impunity and Human Rights in Thailand. University of Wisconsin Press. ISBN 978-0-299-31444-6.
- Muntarbhorn, Vitit (7 October 2016). The Core Human Rights Treaties and Thailand (ภาษาอังกฤษ). BRILL. ISBN 978-90-04-32667-5.
- Selby, Don (May 2018). Human Rights in Thailand (ภาษาอังกฤษ). University of Pennsylvania Press. ISBN 978-0-8122-5022-0.
- Sorajjakool, Siroj (15 October 2013). Human Trafficking in Thailand: Current Issues, Trends, and the Role of the Thai Government. Silkworm Books. ISBN 978-1-63102-194-7.
- Streckfuss, David (13 September 2010). Truth on Trial in Thailand: Defamation, Treason, and Lèse-Majesté. Routledge. ISBN 978-1-136-94203-7.
- "Thailand". Human RIghts in Asia-Pacific: Review of 2019 (PDF). London: Amnesty International. 2020. pp. 62–64. สืบค้นเมื่อ 31 January 2020.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Freedom of expression in Thailand - IFEX
- Asian Human Rights Commission - Thailand homepage
- Rule of Lords Weekly column on human rights & the rule of law in Thailand and Burma
- Royal Thai Police catalogue or torture and murder
- Thailand 2003. Extrajudicial drug-war killings of innocent people. December 6, 2009. Photo gallery. Press/media links, and human rights reports.