รายชื่อแหล่งมรดกโลกในประเทศไทย
บทความรายชื่อวิกิมีเดีย
องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลกของประเทศไทยทั้งสิ้น 8 แหล่ง[1] ประกอบด้วยแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม 5 แหล่ง และแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ 3 แหล่ง
ที่ตั้ง
แก้สถานที่ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก
แก้แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม
แก้- *หมายเหตุ: ระบุชื่อสถานที่ตามที่ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
สถานที่ | ภาพ | ที่ตั้ง | ประเภท | พื้นที่ (เฮกตาร์) |
ปีขึ้นทะเบียน (พ.ศ./ค.ศ.) |
ข้อมูลโดยสังเขป | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|---|
เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร | สุโขทัยและกำแพงเพชร 17°0′26″N 99°47′23″E / 17.00722°N 99.78972°E |
วัฒนธรรม: (i), (iii) |
11,852 | 2534/1991 | กรุงสุโขทัยเป็นราชธานีแห่งแรกของชาวสยามในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 และ 14 สิ่งก่อสร้างจำนวนมากแสดงถึงจุดเริ่มต้นของสถาปัตยกรรมไทย อารยธรรมอันยิ่งใหญ่ได้พัฒนาขึ้นในอาณาจักรสุโขทัยผ่านการซึมซับอิทธิพลและประเพณีท้องถิ่นโบราณไว้มากมาย การผสมผสานอย่างรวดเร็วขององค์ประกอบเหล่านี้ ก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า 'รูปแบบสุโขทัย' | 574 | |
นครประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา |
พระนครศรีอยุธยา 14°20′52″N 100°33′38″E / 14.34778°N 100.56056°E |
วัฒนธรรม: (iii) |
289 | 2534/1991 | สถาปนาราว ค.ศ. 1350 กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีแห่งที่สองของชาวสยามต่อจากกรุงสุโขทัย ถูกทำลายโดยกองทัพพม่าในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซากปรักหักพังสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เช่น ปรางค์ และอารามขนาดใหญ่แสดงถึงความงดงามและความเจริญรุ่งเรืองในอดีต | 576 | |
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง | อุดรธานี 17°32′55″N 103°47′23″E / 17.54861°N 103.78972°E |
วัฒนธรรม: (iii) |
30; พื้นที่กันชน 760 |
2535/1992 | บ้านเชียงถือเป็นที่ตั้งถิ่นฐานยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งเท่าที่มีการค้นพบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แสดงให้เห็นถึงก้าวสำคัญของวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมสังคมและเทคโนโลยีของมนุษย์ แหล่งมรดกนี้ได้แสดงหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดของ การเกษตร การผลิต และการใช้โลหะ ในภูมิภาค | 575 | |
เมืองโบราณศรีเทพ และโบราณสถาน สมัยทวารวดีที่เกี่ยวข้อง |
เพชรบูรณ์ 15°29′12.5″N 101°08′40.2″E / 15.486806°N 101.144500°E |
วัฒนธรรม: (ii), (iii) |
866.471; พื้นที่กันชน 3,824.148 |
2566/2023 | ประกอบด้วย สามพื้นที่สำคัญของวัฒนธรรมทวารวดีในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 6-10 ได้แก่ 1. เมืองใน (เมืองชั้นใน) และเมืองนอก (เมืองขั้นนอก) ที่ล้อมรอบด้วยคูน้ำ 2. โบราณสถานเขาคลังนอก อนุสรณ์สถานสมัยทวารวดีที่ใหญ่ที่สุดที่ยังหลงเหลืออยู่ และ 3. ถ้ำเขาถมอรัตน์ อารามถ้ำของศาสนาพุทธนิกายมหายานที่แสดงให้เห็นถึงตัวอย่างศิลปะและปฏิมากรรมสมัยทวารวดีที่สำคัญ | 1662 | |
ภูพระบาท ประจักษ์พยานแห่งวัฒนธรรมสีมา สมัยทวารวดี |
อุดรธานี 17°43′51.8″N 102°21′22.6″E / 17.731056°N 102.356278°E |
วัฒนธรรม: (iii), (v) |
585.955; พื้นที่กันชน 598.806 |
2567/2024 | ประกอบด้วยอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทและแหล่งวัฒนธรรมสีมา ณ วัดพระพุทธบาทบัวบาน ครอบคลุมพื้นที่ 3,661 ไร่เศษ | 1507 |
แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ
แก้- *หมายเหตุ: ระบุชื่อสถานที่ตามที่ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกโลก
สถานที่ | ภาพ | ที่ตั้ง | ประเภท | พื้นที่ (เฮกตาร์) |
ปีขึ้นทะเบียน (พ.ศ./ค.ศ.) |
ข้อมูลโดยสังเขป | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|---|
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง |
กาญจนบุรี ตาก และอุทัยธานี 15°20′N 98°55′E / 15.333°N 98.917°E |
ธรรมชาติ: (vii), (ix), (x) |
622,200 | 2534/1991 | ตั้งอยู่ตามแนวชายแดนกับประเทศพม่า เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซึ่งค่อนข้างสมบูรณ์ ประกอบด้วยผืนป่าเกือบทุกประเภทที่มีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นบ้านของสัตว์หลากหลายชนิด ซึ่งรวมถึง 77% ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ (โดยเฉพาะช้างและเสือโคร่ง) 50% ของนกขนาดใหญ่ และ 33% ของสัตว์มีกระดูกสันหลังบกที่พบในภูมิภาคนี้ | 591 | |
กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ | สระบุรี นครราชสีมา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว และบุรีรัมย์ 14°20′N 102°3′E / 14.333°N 102.050°E |
ธรรมชาติ: (x) |
615,500 | 2548/2005 | มีความยาว 230 กม. ระหว่างอุทยานแห่งชาติตาพระยาติดชายแดนกับประเทศกัมพูชาทางทิศตะวันออก และอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ทางทิศตะวันตก พื้นที่แห่งนี้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์กว่า 800 ชนิด ได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำนวน 112 สายพันธุ์ (ในจำนวนนี้มีชะนีสองสายพันธุ์) สัตว์ชนิดนก 392 สายพันธุ์ สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกกว่า 200 สายพันธุ์ การอนุรักษ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์ปีก และสัตว์เลื้อยคลานที่ทั่วโลกกำลังคุกคามและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มีความสำคัญในระดับนานาชาติ โดยในจำนวนนี้มี 19 สายพันธุ์ ที่มีความเสี่ยง 4 สายพันธุ์ที่เสี่ยงมาก และ 1 สายพันธุ์ที่เสี่ยงขั้นวิกฤต พื้นที่ดังกล่าวมีระบบนิเวศป่าดิบชื้นที่สำคัญและอุดมสมบูรณ์ซึ่งสามารถเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยเพื่อการอยู่รอดในระยะยาวของสัตว์สายพันธุ์เหล่านี้ | 590 | |
กลุ่มป่าแก่งกระจาน | ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ 13°14′N 5°5′E / 13.233°N 5.083°E |
ธรรมชาติ: (x) |
408,940 | 2564/2021 | ตั้งอยู่ตามแนวเทือกเขาตะนาวศรีด้านประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสันเขาหินแกรนิตและหินปูนในแนวเหนือ-ใต้ลงสู่คาบสมุทรมลายู ตั้งอยู่ที่ทางแยกระหว่างเทือกเขาหิมาลัย อินโดจีนและเกาะสุมาตรา เป็นดินแดนแห่งสัตว์และดอกไม้ มีความหลากหลายทางชีวภาพมากมาย ทั้งป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ป่าดิบเขา และป่าเต็งรัง มีรายงานพันธุ์พืชและสัตว์ป่าเฉพาะถิ่นและที่ใกล้สูญพันธุ์ทั่วโลกในพื้นที่นี้ ซึ่งทับซ้อนกับพื้นที่นกสำคัญ 2 แห่ง และขึ้นชื่อว่ามีนกหลากหลายชนิด รวมถึงสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ทั่วโลก 8 ชนิด สถานที่แห่งนี้เป็นที่อยู่ของจระเข้สยาม หมาใน วัวแดง ช้างเอเชีย เต่าเหลือง และเต่าหก รวมทั้งสัตว์อีกหลายชนิด นกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสายพันธุ์อื่นที่อ่อนแอ ที่พิเศษคือที่นี่ยังเป็นที่อยู่ของแมว 8 สายพันธุ์ ได้แก่ เสือโคร่ง เสือปลา เสือดาว เสือไฟ เสือลายเมฆ แมวลายหินอ่อน แมวป่า และแมวดาว | 1461 |
สถานที่ที่ได้ขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น
แก้ปัจจุบัน ประเทศไทยมีสถานที่ที่ขึ้นทะเบียนในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) เพื่อพิจารณาขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกในอนาคตทั้งสิ้น 6 แห่ง ดังนี้[2]
สถานที่ | ภาพ | ที่ตั้ง | ประเภท | พื้นที่ (เฮกตาร์) |
ปี พ.ศ./ค.ศ. | หมายเหตุ | อ้างอิง |
---|---|---|---|---|---|---|---|
วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช | นครศรีธรรมราช 24°47′N 99°57′E / 24.783°N 99.950°E |
วัฒนธรรม: (i), (ii), (vi) |
137 | 2555/2012 | [3] | ||
อนุสรณ์สถานแหล่งต่าง ๆ และภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเชียงใหม่ นครหลวงล้านนา | เชียงใหม่ 18°47′43″N 98°59′55″E / 18.79528°N 98.99861°E |
วัฒนธรรม: (i), (ii), (iii), (vi) |
ไม่มีข้อมูล | 2558/2015 | ประกอบด้วย พื้นที่แหล่งมรดกเชียงใหม่ 18.30 ตร.ก.ม. แบ่งเป็น เขตเมืองเก่าเชียงใหม่ 5.13 ตร.ก.ม. เขตเวียงสวนดอก 0.32 ตร.ก.ม. เขตวัดเจ็ดยอด พระอารามหลวง 0.05 ตร.ก.ม. และเขตดอยสุเทพ-เวียงเจ็ดลิน 12.61 ตร.ก.ม. และพื้นที่กันชน ซึ่งเป็นพื้นล้อมรอบพื้นที่แหล่งมรดกเชียงใหม่ อีก 182.85 ตร.ก.ม. รวมทั้งสิ้น 201.15 ตร.ก.ม. | [4][5] | |
พระธาตุพนม และสิ่งก่อสร้างทางประวัติศาสตร์และภูมิทัศน์ที่เกี่ยวข้อง | นครพนม 16°56′33″N 104°43′26″E / 16.94250°N 104.72389°E |
วัฒนธรรม: (i), (ii), (iv) |
ไม่มีข้อมูล | 2560/2017 | ประกอบด้วย วัดพระธาตุพนม องค์พระธาตุพนม และสิ่งก่อสร้างโดยรอบพื้นที่วัด | [6] | |
กลุ่มเทวสถานปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำ และปราสาทปลายบัด | บุรีรัมย์ | วัฒนธรรม: (iii) (iv) (v) |
ไม่มีข้อมูล | 2562/2019 | [7][8] | ||
แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามัน | พังงา ภูเก็ต และระนอง | ธรรมชาติ (vii) (ix) (x) |
115,955 | 2564/2021 | ประกอบด้วย 6 อุทยานแห่งชาติ (อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน หมู่เกาะระนอง แหลมสน หมู่เกาะสุรินทร์ เขาลำปี-หาดท้ายเหมือง และสิรินาถ) และป่าชายเลนระนอง (ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง และพื้นที่ป่าชายเลนนอกอุทยานแห่งชาติที่เกี่ยวข้อง) |
[9][10][11] | |
สงขลาและชุมชนที่เกี่ยวเนื่องริมทะเลสาบสงขลา | สงขลา | วัฒนธรรม (ii) (iv) (v) |
ไม่มีข้อมูล | 2567/2024 | ประกอบด้วย เมืองโบราณพังยาง เมืองโบราณพะโคะ และเมืองโบราณสีหยัง เมืองโบราณสทิงพระ เมืองป้อมค่ายซิงกอร่า ณ เขาแดงและแหลมสน และเมืองเก่าสงขลา ณ บ่อยาง | [12][13] |
สถานที่ที่อาจเสนอขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น
แก้สถานที่ | ภาพ | ที่ตั้ง | ประเภท |
---|---|---|---|
กลุ่มสถาปัตยกรรมของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์[14][15] | กรุงเทพมหานคร | วัฒนธรรม | |
วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหารและเสาชิงช้า[14][15] | กรุงเทพมหานคร | วัฒนธรรม | |
ภูมิทัศน์วัฒนธรรมแม่น้ำเจ้าพระยา [14] | กรุงเทพมหานคร | วัฒนธรรม | |
วัดราชนัดดารามและพื้นที่เกี่ยวเนื่อง[14] | กรุงเทพมหานคร | วัฒนธรรม | |
พระปฐมเจดีย์[16] | นครปฐม | วัฒนธรรม | |
ทางรถไฟสายมรณะ[14] | กาญจนบุรี | วัฒนธรรม | |
เมืองเก่าลพบุรี[17] | ลพบุรี พื้นที่เมืองเก่าลพบุรี ขนาดเนื้อที่ 1.729 ตร.กม. ประกอบด้วย กลุ่มพระนารายณ์ราชนิเวศน์ พระปรางค์สามยอด กลุ่มวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ปรางค์แขก วัดนครโกษา วัดปืน วัดบันไดหิน วัดสันเปาโล บ้านหลวงรับราชทูต(บ้านวิชาเยนทร์) สะพานเรือก แนวคูเมืองป้อมปราการและประตูค่ายเมืองลพบุรี และซากโบราณสถานอื่น ๆ | วัฒนธรรม | |
แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์และแหล่งวัฒนธรรมของน่าน[14] | น่าน | วัฒนธรรม | |
แหล่งโบราณคดีเมื่อเก่าเมืองเชียงแสนและสุวรรณโคมคำ[14] | เชียงราย และ แขวงบ่อแก้ว (ร่วมกับ ลาว) | วัฒนธรรม | |
เมืองเก่าภูเก็ต[18] | ภูเก็ต | วัฒนธรรม | |
เส้นทางวัฒนธรรมไชยาถึงไทรบุรี[14] | สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี และ รัฐเกอดะฮ์ (ไทรบุรี) | วัฒนธรรม | |
พระราชวังจันทน์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร และพื้นที่เกี่ยวเนื่อง | พิษณุโลก[20] | วัฒนธรรม | |
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี | เพชรบุรี[21] | วัฒนธรรม | |
แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด | นครราชสีมา[22] | วัฒนธรรม | |
ผืนป่าฮาลา-บาลา[23] | ยะลา และนราธิวาส ประกอบด้วย เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา อุทยานแห่งชาติบางลาง และสวนป่าพระนามาภิไธยภาคใต้ (พื้นที่ส่วนที่ 2) รวมเนื้อที่กว่า 836,000 ไร่ | ธรรมชาติ | |
กลุ่มป่าคลองแสง-เขาสก[24] | สุราษฎร์ธานี และพังงา ประกอบด้วย อุทยานแห่งชาติเขาสก อุทยานแห่งชาติศรีพังงา อุทยานแห่งชาติแก่งกรุง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองยัน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา รวมเนื้อที่ราว 2,300,000 ไร่ | ธรรมชาติ | |
พื้นที่กลุ่มป่าเทือกเขาเพชรบูรณ์ [25] | เพชรบูรณ์ | ธรรมชาติ |
สถานที่เคยเสนอขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น
แก้สถานที่ | ภาพ | ที่ตั้ง | ประเภท | ปีที่เสนอขึ้นบัญชีฯ | ปีที่ถอนจากบัญชีฯ |
---|---|---|---|---|---|
เกาะรัตนโกสินทร์[26] | กรุงเทพมหานคร | วัฒนธรรม | พ.ศ. 2532 | พ.ศ. 2539 | |
ตะรุเตา[27] | สตูล | ธรรมชาติ | พ.ศ. 2534 | พ.ศ. 2534 | |
เส้นทางวัฒนธรรมพิมาย ปราสาทพนมรุ้งและปราสาทเมืองต่ำ[28] | บุรีรัมย์ นครราชสีมา และสุรินทร์ 15°13′N 102°29′E / 15.217°N 102.483°E |
วัฒนธรรม: (i), (ii), (iii), (iv), (vi) |
พ.ศ. 2547 | พ.ศ. 2562 |
ผลการดำเนินงานของประเทศไทยในยูเนสโก
แก้โครงการยูเนสโก | จำนวนรายการที่ขึ้นทะเบียน | จำนวนรายการที่ขึ้นทะเบียนร่วมกับรัฐอื่น |
---|---|---|
เครือข่ายพื้นที่สงวนชีวมณฑลโลก (World Network of Biosphere Reserves) | 5 | — |
แหล่งมรดกโลก (World Heritage Sites) | 8 | — |
ความทรงจำแห่งโลก (Memory of the World) | 6 | — |
เครือข่ายอุทยานธรณีโลก (Global Geoparks Network) | 2 | — |
เครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ (Creative Cities Network) | 7 | — |
มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (Intangible Cultural Heritage Lists) | 6 | 1 |
อ้างอิง
แก้- ↑ "World Heritage Properties in Thailand". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2012.
- ↑ "Tentative Lists: Thailand". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2024.
- ↑ "Wat Phra Mahathat Woramahawihan, Nakhon Si Thammarat". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2012.
- ↑ ภูมิภาค - เชียงใหม่ระดมถก-สู่มรดกโลก. ข่าวสด.
- ↑ "Monuments, Sites and Cultural Landscape of Chiang Mai, Capital of Lanna". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2015.
- ↑ "Phra That Phanom, its related historic buildings and associated landscape". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 18 March 2017.
- ↑ "Ensemble of Phanom Rung, Muang Tam and Plai Bat Sanctuaries". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2019.
- ↑ คุณค่าขององค์ประกอบทางภูมิทัศน์กลุ่มเทวสถานปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำ และปราสาทปลายบัด จังหวัดบุรีรัมย์ จุลนาถ วรรณโกวิท ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ↑ ส่วนมรดกโลกทางธรรมชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
- ↑ ผู้แทนไทยจ่อเสนอ 'พื้นที่อนุรักษ์ทะเลอันดามัน' ขึ้นทะเบียนมรดกโลก. ข่าวสด.
- ↑ "The Andaman Sea Nature Reserves of Thailand". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2022.
- ↑ บอร์ดมรดกโลกไทย ปักธง "สงขลา" ขึ้นบัญชีมรดกโลกเบื้องต้น. ไทยพีบีเอส.
- ↑ "Songkhla and its Associated Lagoon Settlements". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2024.
- ↑ 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 14.5 14.6 14.7 "กรมศิลป์ดัน "วัดสุทัศน์-รถไฟสายมรณะ" ขึ้นมรดกโลก". Manager. 19 กรกฎาคม 2013.
- ↑ 15.0 15.1 "เสนอ "วัดสุทัศน์-เสาชิงช้า" เข้าบัญชีมรดกโลกเบื้องต้น". Manager. 22 กุมภาพันธ์ 2015.
- ↑ สั่งลดปมแย้งชง “พระปฐมเจดีย์” มรดกโลก. ไทยรัฐ.
- ↑ "กรมศิลป์เล็งขยายพื้นที่มรดกโลกอยุธยา ทุ่มงบไทยเข้มแข็ง 256 ล้าน ปรับภูมิทัศน์". MGR Online. 2 สิงหาคม 2009.
- ↑ ชงเมืองเก่าภูเก็ต ขึ้นเป็นมรดกโลก. ไทยโพสต์.
- ↑ "World Heritage Site | รายละเอียดแหล่ง". worldheritagesite.onep.go.th.
- ↑ เข้าร่วมการประชุมเสวนาเสริมสร้างการรับรู้แนวทางการขับเคลื่อนการขึ้นทะเบียนมรดกโลกของพระราชวังจันทน์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร (พระพุทธชินราช)[ลิงก์เสีย]
- ↑ ดัน“พระนครคีรี(เขาวัง)”มรดกโลก. สยามรัฐ.
- ↑ "เตรียมศึกษาข้อมูล ดัน"แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด"เป็นมรดกโลก". เดลินิวส์.
- ↑ "ปลัด ทส. เปิดเสวนาออนไลน์ "การขับเคลื่อนฮาลา-บาลาสู่มรดกโลก" ชื่นชมความรัก ความหวงแหน ผืนป่าของประชาชนในพื้นที่". ส่วนมรดกโลกทางธรรมชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 กรกฎาคม 2021.
- ↑ ‘เขาสก’ครบรอบ 1 ปี ‘มรดกอาเซียน’ คาดหวังก้าวสู่ ‘มรดกโลก’. เดลินิวส์.
- ↑ แหล่งที่ขึ้นทะเบียนในบัญชีรายชื่อของไทย. สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
- ↑ Rattanakosin Island. worldheritagesite.org.
- ↑ Tarutao. worldheritagesite.org.
- ↑ "Phimai, its Cultural Route and the Associated Temples of Phanomroong and Muangtam". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2012.