การค้าหญิงและเด็กในประเทศไทย
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
การค้ามนุษย์ ได้รับนิยามจากสหประชาชาติว่าเป็น "การสรรหา เคลื่อนย้าย ขนย้าย หรือการรับมนุษย์โดยใช้กำลังหรือการบีบบังคับ การลักพาตัว การหลอกลวง การใช้อำนาจหรืออิทธิพล การให้หรือรับเงิน หรือผลประโยชน์เพื่อให้บุคคลนั้นยินยอมจะอยู่ให้อำนาจของอีกคน เพื่อแสวงหาผลประโยชน์" ไทยมีสถานะเป็นทั้งประเทศต้นทาง ปลายทาง และทางผ่านสำหรับการค้ามนุษย์ในผู้หญิงและเด็ก[1] กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้เผยแพร่รายงานการค้ามนุษย์ในปี พ.ศ. 2557 โดยให้ประเทศไทยอยู่ใน "ระดับ 3" หรือระดับที่ต่ำสุด เนื่องจากความล้มเหลวในการขจัดการค้ามนุษย์ ทำให้ประเทศไทยติดอันดับร่วมกับอีก 22 ประเทศ เช่น เกาหลีเหนือ ซีเรียและสาธารณรัฐแอฟริกากลาง [2]
รูปแบบการค้ามนุษย์ในประเทศไทย
แก้ในประเทศไทย การค้ามนุษย์เพื่อเซ็กซ์มีอยู่สองแบบ แบบแรก ผู้หญิงหรือเด็กมักได้รับการชักชวนจากหมู่บ้านเล็ก ๆ ไปยังเมืองใหญ่ ถูกบังคับให้เข้าไปในอุตสาหกรรมทางเพศและบางครั้งอาจถูกส่งตัวไปต่างประเทศ[3] แบบที่สอง บุคคลเหล่านั้นจะถูกส่งไปยังต่างประเทศเลย[3] มูลนิธิเพื่อผู้หญิงพบว่ารูปแบบที่สองมักถูกแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศแบบรุนแรงกว่า เมื่อผู้หญิงและเด็กผู้หญิงถูกส่งไปยังประเทศปลายทางแล้ว พวกเขามักถูกบังคับให้ค้าประเวณีกับทั้งคนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยว
ในประเทศไทย ผู้หญิงและเด็กต่างถูกค้ามนุษย์ไปยังประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะประเทศในเอเชียที่มั่งคั่ง[4] มีหญิงไทยและเด็กผู้หญิงประมาณ 100,000 ถึง 200,000 คนค้าประเวณีอยู่ในต่างประเทศ จำนวนหญิงไทยที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ในญี่ปุ่นอยู่ระหว่าง 50,000 ถึง 70,000 คน[5] หญิงเหล่านี้ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 12 ถึง 16 ปีและถูกส่งไปยังซ่องในประเทศปลายทาง[6]
การค้ามนุษย์ในประเทศไทยไม่จำกัดเฉพาะคนไทยเท่านั้น สตรีจำนวนมากและเด็ก ๆ จากประเทศอื่นถูกค้ามนุษย์เข้ามาในประเทศไทยเพื่อทำงานในอุตสาหกรรมทางเพศของไทย ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีสตรีชาวพม่า กัมพูชาและลาวจำนวนมากที่ตกเป็นเหยื่อถูกค้ามนุษย์ในซ่องในจังหวัดชายแดนภาคเหนือ เช่น เชียงใหม่ และเชียงราย ภาคกลาง และภาคตะวันออก เช่น จังหวัดตราด, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร, ชลบุรีและชุมพร และจังหวัดสงขลา นราธิวาสและปัตตานี ใกล้ชายแดนมาเลเซียตอนใต้ ผู้หญิงและเด็กกว่า 80,000 รายถูกขายให้กับอุตสาหกรรมบริการทางเพศของไทยตั้งแต่ปี 2533 ผู้ขายบริการทางเพศหญิงส่วนใหญ่ในประเทศไทยเป็นชาวต่างชาติและกว่า 60% ของสตรีที่เดินทางเข้าประเทศเพื่อทำงานในอุตสาหกรรมทางเพศมีอายุต่ำกว่า 18 ปี มีโสเภณีเด็กจำนวนกว่า 75,000 คนในประเทศไทย [6]
ประวัติศาสตร์
แก้ก่อนทศวรรษ 1970 การค้าประเวณีในประเทศไทยเป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ในช่วงทศวรรษที่ 1970 อุตสาหกรรมทางเพศเริ่มเติบโตขึ้น เนื่องมาจากการเข้ามาของทหารสหรัฐฯในช่วงสงครามเวียดนามที่เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรมการค้าประเวณีในไทย[ต้องการอ้างอิง]
คาดว่าในช่วงปี 1990 จำนวนเด็กและผู้หญิงที่ทำงานในอุตสาหกรรมทางเพศมีไม่น้อยกว่า 400,000 ราย[3]
สาเหตุที่เป็นไปได้
แก้สาเหตุที่ทำให้คนเข้าสู่อุตสาหกรรมทางเพศผ่านขบวนการค้ามนุษย์มีมากกว่าหนึ่งสาเหตุ โดยถูกแบ่งได้เป็นเหตุผลทางการเงิน ความรับผิดชอบต่อครอบครัวและความเชื่อทางศาสนา หลายคนสงสัยว่าผู้หญิงและเด็กขายบริการทางเพศเพราะถูกข่มเหง ถูกทอดทิ้ง ถูกลักพาตัวหรือถูกขายเพื่อชำระหนี้พ่อแม่[4]
เหตุผลทางการเงิน
แก้เศรษฐกิจของประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในแรงผลักดันในการค้ามนุษย์ เนื่องจากหลายครอบครัวเป็นเกษตรกรที่ยากจน เช่น ภาคเหนือ ลิซ่า เรนด์ เทเลอร์ นักมนุษยวิทยาผู้ดำเนินการศึกษาเกี่ยวกับการค้ามนุษย์เพื่อการค้าบริการทางเพศในประเทศไทย พบว่าการค้าประเวณีในเชิงพาณิชย์เป็นอุตสาหกรรมที่ที่มีกำไรมากจากความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจและเหลื่อมล้ำระหว่างพื้นที่ชนบทของประเทศไทยกับกรุงเทพมหานคร และระหว่างประเทศไทยกับประเทศมั่งคั่งในเอเชีย[4] เด็ก ๆ มักเริ่มจากการทำงานอื่น เช่น การคุ้ยขยะ การทำงานในโรงงาน หรือการขอทาน [7] แต่อาชีพเหล่านี้มักมีรายได้ต่ำ เด็ก ๆ จึงมักถูกชักจูงให้ไปทำงานในอุตสาหกรรมทางเพศที่มีรายได้ดีกว่า การค้าประเวณีอาจเป็นวิธีเดียวที่เด็กผู้หญิงจะได้รับเงินเพียงพอที่จะรักษาที่ดินและสถานะของครอบครัว[4][5]
ปัญหาทางเศรษฐกิจไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อสตรีและเด็กที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อผู้ที่ถูกค้ามนุษย์เข้ามาในประเทศไทยด้วย เหยื่อผู้ค้ามนุษย์ที่มาจากประเทศอื่น ๆ ถูก "ล่อลวงหรือล่อลวงได้ง่ายเพราะต้องเผชิญกับความยากจน การว่างงาน ครอบครัวที่ไม่ดีและรัฐบาลที่ไม่มั่นคง" ในประเทศต้นทาง [6]
ความรับผิดชอบต่อครอบครัว
แก้ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเชื่อว่าปัญหาความยากจนและการขาดการศึกษาไม่ได้เป็นสาเหตุหลักของการค้ามนุษย์ในเด็กและผู้หญิง การวิจัยของเรนด์ เทเลอร์ ส่งเสริมแนวคิดนี้ โดยพบว่าเด็กผู้หญิงจากครอบครัวยากจนและฐานะปานกลางก็มีโอกาสเป็นเหยื่อของขบวนการค้ามนุษย์ นอกจากนี้การศึกษายังเพิ่มความเสี่ยงที่เด็กสาวในชนบทจะถูกค้ามนุษย์ เนื่องจากความคาดหวังและต้นทุนโอกาสในการศึกษา หมายความว่าเด็กหญิงที่ได้รับอนุญาตให้เข้าเรียนในชั้นมัธยมปีที่ 3 หรือ 6 อาจถูกคาดหวังจากครอบครัวให้หารายได้ในเมืองใหญ่เมื่อเทียบกับพี่สาวที่ไม่มีโอกาศศึกษาต่อ เด็กหญิงเหล่านี้มักมีความเสี่ยงถูกชักชวนหรือถูกบังคับให้ค้าประเวณีเพศ หากพวกเขาอาจไม่ได้งานที่วาดฝันไว้ในเมืองและไม่อยากกลับบ้านไปมือเปล่า เด็กหญิงจำนวนมากรู้สึกถึงภาระหน้าที่ที่จะต้องเสียสละเพื่อครอบครัวที่สงเสียเลี้ยงดูมา[4]
ความเชื่อทางศาสนา
แก้มากกว่าร้อยละ 90 ของประชาการในประเทศไทยเป็นชาวพุทธ[8] ความเชื่อทางศาสนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคเหนือของประเทศไทยมีส่วนทำให้ชุมชนยอมรับการค้าประเวณี ชาวพุทธไทยเชื่อว่าในการกลับชาติมาเกิด และผลบุญในชาตินี้จะส่งผลในชาติหน้า[5] การให้ความช่วยเหลือแก่พ่อแม่ของตนทำให้ได้บุญแม้เงินจะได้จากการขายบริการเพศ ผลบุญนี้เองที่จะช่วยเด็กผู้หญิงเหล่านี้ในชาติหน้า และลบล้างบาปจากการขายบริการทางเพศ[5] มีการประมาณว่าหญิงค้าประเวณีชาวไทยโอนเงินเกือบ 300 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ (กว่า 9,700 ล้านบาท) กลับสู่ครอบครัวในประเทศไทยเป็นประจำทุกปี[9]
อุตสาหกรรมทางเพศในประเทศไทย
แก้ในประเทศไทย เชื่อกันว่ามีเด็กอายุต่ำกว่า 16 ปีกว่า 40,000 คน มีส่วนร่วมในการค้าประเวณี ทำงานใน คลับ บาร์และสถานบันเทิง การสำรวจในปี 2541 พบว่า 54.01% อยู่ในภาคเหนือ 28.9% ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและ 9.67% ในภาคกลาง การค้าประเวณีเป็นธุรกิจที่ทำรายได้จำนวนมาก "ระหว่างปี 2536-2538 มีการคาดการณ์ว่าการค้าประเวณีทำรายได้ต่อปีอยู่ระหว่าง 22.5 และ 27 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ"[6]
ความดึงดูดของเยาวชนหญิงและเด็กหญิง
แก้เหตุผลหนึ่งที่เยาวชนหญิงและเด็กหญิงอาจได้รับคัดเลือกเป็นโสเภณีมากขึ้นคือความต้องการของลูกค้าในอุตสาหกรรมทางเพศ ความบริสุทธิ์และความไร้เดียงสานำไปสู่ความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับเด็กในการค้าบริการทางเพศทั่วโลก การวิจัยพบว่าผู้ชายสนใจในผู้หญิงไทยเพราะ "ความเรียบง่าย ความจงรักภักดี ความรักและความไร้เดียงสา"[7]
จำนวนผู้ป่วยโรคเอดส์ที่เพิ่มขึ้นเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้มีการรับเด็กหญิงเข้าทำงานเพิ่มขึ้น อุตสาหกรรมทางเพศใช้เอดส์เป็นข้ออ้าง "ภายใต้ข้ออ้างที่ผิดว่าเด็กหญิงอายุน้อยจะไม่มีเชื้อโรค"[6]
ความเสี่ยงสำหรับผู้ขายบริการทางเพศ
แก้เอชไอวี เอดส์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์เป็นความเสี่ยงที่สำคัญสำหรับสตรีที่ขายบริการทางเพศ ผู้หญิงส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะอยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าของของพวกเขาหลังจากที่ถูกค้ามนุษย์เข้าสู่ประเทศใหม่ ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงไม่สามารถเจรจากับลูกค้าเพื่อป้องกันตัวเองจากโรคหรือการตั้งครรภ์ได้ [3] ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 หญิงไทยที่ขายบริการเชื่อว่าพวกเขาจะตั้งครรภ์หรือติดเชื้อเป็นโรคติดต่อหรือไม่นั้นล้วนเกินจากโชคชะตา และด้วยความเชื่อนี้ทำให้ผู้หญิงจำนวนมากไม่เคยใช้ยาคุมกำเนิดหรือไปตรวจสุขภาพ และความเสี่ยงสูงในการติดโรคหรือตั้งครรภ์[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ "2014 Trafficking in Persons Report". Office To Monitor and Combat Trafficking in Persons. US Department of State. สืบค้นเมื่อ 2015-01-11.
- ↑ Brown, Sophie (2014-06-21). "Tackling Thailand's human trafficking problem". CNN International. สืบค้นเมื่อ 2015-01-11.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 "Thailand: Trafficking in Women and Children." Women's International Network News 29.4 (2003): 53-54. Academic Search Complete. EBSCO. Web. 23 Sep 2010.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 Taylor, Lisa Rende (Jun 2005). "Dangerous Trade‐offs: The Behavioral Ecology of Child Labor and Prostitution in Rural Northern Thailand". Current Anthropology. 46 (3): 411–431. doi:10.1086/430079. JSTOR 10.1086/430079.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 Bower, Bruce. "Childhood's End." Science News 168.13 (2005): 200-201. Academic Search Complete. EBSCO. Web. 23 Sep 2010.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 Hughes, Donna M., Laura J. Sporcic, Nadine Z. Mendelsohn, and Vanessa Chirgwin. "Factbook on Global Sexual Exploitation: Thailand." Thailand - Facts on Trafficking and Prostitution. Coalition Against Trafficking in Women. Web. 12 Oct 2010.
- ↑ 7.0 7.1 Montgomery, Heather. "Buying Innocence: Child-Sex Tourists in Thailand." Third World Quarterly 29.5 (2008): 903-917. Academic Search Complete. EBSCO. Web. 23 Sep 2010.
- ↑ "People and Society; Religion". The World Factbook; East & SE Asia; Thailand. US Central Intelligence Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-29. สืบค้นเมื่อ 2015-01-11.
- ↑ Social Safety Nets for Women. New York. 2003. p. 69. ISBN 9211201586.