การพนันในประเทศไทย

การพนัน นอกเหนือจากการพนันม้าแข่งหรือสลากกินแบ่งรัฐบาลที่รัฐบาลให้การสนับสนุน เป็นสิ่งต้องห้ามในประเทศไทย[1] ข้อห้ามดังกล่าวย้อนกลับไปถึงพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ. 2478[2] พระราชบัญญัติไพ่ห้ามมิให้มีการครอบครองไพ่ส่วนตัวมากกว่า 120 ใบโดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาล อย่างไรก็ตาม การพนันที่ผิดกฎหมายในบ่อนการพนัน และรูปแบบอื่น ๆ ของการพนันยังคงมีอยู่ในกรุงเทพมหานครและบางจังหวัด[3]

คนขายลอตเตอรี
การแข่งม้าที่เชียงใหม่

ประวัติ แก้

การพนันเป็นลักษณะเฉพาะของสังคมไทยมายาวนาน ชาวไทยสยามในพื้นที่เข้าร่วมในเกมการพนันที่รู้จักกันดีกว่า 100 เกม[4] รูปแบบการพนันบางรูปแบบ เช่น การเดิมพันในไก่ชน, วัวชน และการแข่งความเร็วเรือเป็นวัฒนธรรมของสยาม[4]

ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นการเพิ่มระดับการพนันในสยามอย่างมีนัยสำคัญ ผู้คนเริ่มเล่นการพนันบ่อยขึ้นและมีการแนะนำเกมที่หลากหลายจากผู้ค้าชาวต่างชาติและผู้อพยพ รวมถึงการพนันเริ่มเข้าสู่กระแสหลัก โดยเป็นช่วงที่หวยลอตเตอรีได้รับการแนะนำจากประเทศจีนและเป็นที่นิยมในสยาม[4]

ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมารัฐบาลไทยอนุญาตให้มีบ่อนพนันที่ถูกกฎหมาย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัฐบาลไทยได้ส่งเสริมการพนันอย่างถูกกฎหมายเพื่อเป็นแหล่งรายได้ จากนั้นบ่อนถูกกฎหมายเหล่านี้ก็ถูกปิดลงเพื่อลดกิจกรรมทางอาญาและการล้มละลายที่เกี่ยวข้องกับการพนัน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวการพนันเป็นสิ่งต้องห้ามในภาคใต้และสถานที่เล่นการพนันที่เหลือทั้งหมดปิดให้บริการในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2460

มีการออกพระราชบัญญัติการพนันครั้งแรกใน พ.ศ. 2473 และแก้ไขใน พ.ศ. 2478 ในสมัยนายกรัฐมนตรี ควง อภัยวงศ์ โดยกระทรวงการคลังได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้ออกกฎหมายการพนันในอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และกลายเป็นผู้สนับสนุนการพนันอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาของการทำให้กาสิโนถูกต้องตามกฎหมายนี้อยู่ไม่นาน ตลอดจนภายใต้การโจมตีจากสื่อและโดยส่วนรวม รัฐบาลได้ละทิ้งความพยายามที่จะหารายได้เพิ่มเติมจากกาสิโนและการพนันที่ต้องห้ามอีกครั้ง[4]

รูปแบบของการพนัน แก้

กาสิโน แก้

แม้จะมีกฎหมายต่อต้านการพนัน แต่กาสิโนที่ผิดกฎหมายก็ยังแพร่หลายในประเทศไทย ซึ่งบ่อนการพนันขนาดใหญ่แห่งแรกก่อตั้งขึ้นในอยุธยาโดยรัฐบาลในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 หรือต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 อันเป็นผลมาจากการเติบโตอย่างต่อเนื่องของประชากรชาวจีน และในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 จำนวนบ่อนการพนันได้เพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากรชาวจีนอพยพ เพื่อส่งเสริมการตั้งถิ่นฐานและการเก็บภาษีของประชากรชาวจีนในประเทศไทย รัฐบาลไทยจึงเมินเฉยต่อการพนันในหมู่ชาวจีนอพยพ ผลจากการรับรองโดยไม่ได้ตั้งใจนี้ ชาวสยามในท้องถิ่นจึงได้รับการสนับสนุนให้เล่นการพนันเช่นกัน กระทั่งหลังจากที่พระราชบัญญัติการพนันเกิดขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. 2473 บรรดากาสิโนก็ถูกห้ามโดยสิ้นเชิงและการพนันเป็นสิ่งต้องห้ามในสังคมไทย[3]

สลากกินแบ่ง แก้

สลากกินแบ่งนี้เข้ามาในประเทศไทยโดยชาวจีนอพยพใน พ.ศ. 2363 ซึ่งคนท้องถิ่นรู้จักกันทั่วไปว่า "หวย" และคำนี้เป็นคำแปลโดยตรงจากคำภาษาจีนคือฮวา (จีน: ) ที่หมายถึงดอกไม้ ในตอนแรก หวยส่วนใหญ่จะเล่นในหมู่ชุมชนชาวจีนอพยพในประเทศไทย โดยต่อมาได้เป็นที่ยอมรับอย่างเป็นทางการในสมัยรัชกาลที่ 3 เพื่อกระตุ้นการหมุนเวียนของเงินตราและสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ[3]

อ้างอิง แก้

  1. Mitchell, Angus; Christensen, Matthew; Krataykhwan, Ponpun (2013-10-27). "GAMBLING IN THE KINGDOM, Part two". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 24 November 2016.
  2. "Gambling Act B.E.2478 (1935)" (PDF). Office of the Council of State. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 7 February 2017. สืบค้นเมื่อ 24 November 2016.
  3. 3.0 3.1 3.2 Phongpaichit, P., Piriyarangsan, S. Treerat, N. (1998). Guns, girls, gambling, ganja: Thailand's Illegal Economy. Chiang Mai, Thailand: Silkworm Books.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Warren, J.A. (2013) Gambling: The State and Society in Thailand, c.1800-1945. Oxford: Routledge.

อ่านเพิ่ม แก้

  • Apinuntavech S (n.d.) เยาวชนกับการพนันในมุมมองของจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น Thailand:(n.p.).
  • Oxford Dictionary(2010) Manser, M.H., Yuan, Z., Liangbi, W., Yongchang, R., Jingrong, W. (Eds.): Pocket Oxford Chinese Dictionary. Oxford: OUP Oxford.
  • Apinuntavech S. (2012). Consequences and Associated Factors of Youth Gambling. Retrieved from http://www2.ph.mahidol.ac.th/research/thai/jmedassocthai/Vol95_Suppl6/S21-S29_MD31.pdf[ลิงก์เสีย]
  • Phongpaichit,P (1999). THAILAND'S ILLEGAL ECONOMY AND PUBLIC POLICY. Paper presented at Centre of Southeast Asian Studies: Kyoto University.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้