สาธารณสุขในประเทศไทย

โรคไม่ติดต่อเป็นภาระความเจ็บป่วยสำคัญในประเทศไทย ส่วนโรคติดเชื้อรวมทั้งมาลาเรียและวัณโรค ตลอดจนอุบัติเหตุจราจร เป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญเช่นกัน[1] อัตราตายของบุคคลอายุระหวาง 15 ถึง 59 ปีอยู่ที่ 205 คนต่อ 1,000 คน อัตราตายอายุต่ำกว่าห้าปีอยู่ที่ 14 คนต่อ 1,000 การคลอดมีชีพ อัตราตายมารดาอยู่ที่ 48 ต่อ 100,000 การคลอดมีชีพ (ปี 2551)[2]

ปีของชีวิตที่สูญเสียจำแนกตามสาเหตุ ได้แก่ ร้อยละ 24 จากโรคติดต่อ ร้อยละ 55 จากโรคไม่ติดต่อ และร้อยละ 22 จากการบาดเจ็บ[2]

การคาดหมายคงชีพ

แก้

การคาดหมายคงชีพในประเทศไทยเมื่อเกิด คือ 71 ปีสำหรับชาย 79 ปีสำหรับหญิง

โรคติดเชื้อ

แก้

โรคติดเชื้อสำคัญในประเทศไทย เช่น ท้องร่วงจากแบคทีเรีย ตับอักเสบ ไข้เด็งกี มาลาเรีย สมองอักเสบญี่ปุ่น โรคพิษสุนัขบ้าและโรคฉี่หนู[3] ความชุกของวัณโรคอยู่ที่ 189 ต่อ 100,000 ประชากร[2]

เอชไอวี/เอดส์

แก้

นับแต่มีรายงานเอชไอวี/เอดส์ครั้งแรกในประเทศไทยในปี 2527 มีผู้ใหญ่ป่วย 1,115,415 คนจนถึงปี 2551[4] และมีผู้เสียชีวิต 585,830 คนตั้งแต่ปี 2527 ในปี 2552 ความชุกของเอชไอวีในผู้ใหญ่คิดเป็นร้อยละ 1.3[5] ในปี 2552 ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความชุกของเอชไอวีสูงสุดในทวีปเอเชีย[6]

รัฐบาลเริ่มพัฒนาการสนับสนุนต่อผู้ป่วยเอชไอวี/เอดส์ และจัดหาทุนแก่กลุ่มสนับสนุนเอชไอวี มีการเริ่มโครงการสาธารณะเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเสี่ยง แต่ยังมีการเลือกปฏิบัติต่อผู้ป่วยอยู่ รัฐบาลจัดทุนสนับสนุนโครงการยาต้านรีโทรไวรัส และในเดือนกันยายน 2549 มีผู้ป่วยกว่า 80,000 คนได้รับยาดังกล่าว

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ของสหรัฐดำเนินการศึกษาร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขของไทยเพื่อสืบสวนประสิทธิภาพของการให้ยาแก่ผู้ฉีดยาเสพติดเข้าเส้นด้วยยาต้านรีโทรไวรัสทีโนโฟเวียร์ทุกวันเป็นมาตรการป้องกัน มีการออกผลการศึกษาในกลางเดือนมิถุนายน 2556 และเปิดเผยว่าสามารถลดอุบัติการณ์ของไวรัสในหมู่ผู้ได้รับยาร้อยละ 48.9 เทียบกับกลุ่มควบคุมซึ่งได้รับยาหลอก[7]

ความปลอดภัยทางอาหาร

แก้

การปนเปื้อนจุลชีพในอาหารริมทางที่ถูกทิ้งไว้กลางแจ้งและถนนเปื้อนฝุ่น ตลอดจนการปนเปื้อนอาหารที่เก็บไว้ด้วยสารฆ่าสัตว์รังควานต้องห้ามหรือเป็นพิษ ตลอดจนผลิตภัณฑ์อาหารปลอม[8]

ในเดือนกรกฎาคม 2555 กลุ่มผลประโยชน์ผู้บริโภคเรียกร้องให้ห้ามสารฆ่าสัตว์รังควานเป็นพิษสี่ชนิดที่พบทั่วไปในพืชผัก บริษัทเคมีกำลังขอให้เพิ่มเข้าพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 เพื่อให้ยังสามารถใช้ต่อไปได้ รวมทั้งมะม่วงส่งออกไปประเทศกำลังพัฒนาที่สั่งห้ามใช้สารแล้ว[8] ในปี 2547 มหาวิทยาลัยขอนแก่นดำเนินการศึกษาว่าประเทศไทยควรห้ามสารฆ่าสัตว์รังควาน 155 ชนิด โดยจัด 14 ชนิดว่าเร่งด่วน ได้แก่ คาร์โบฟูแรน, เมทิลโบรไมด์, ไดคลอร์วอส, แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน, เมทิดาไทออน-เมทิล, โอเมโทเอต, ซีตาไซเปอร์เมทริน, เอ็นโดซัลแฟนซัลเฟต, อัลไดคาร์บ, เอซินฟอส-เมทิล, เมโทซีคลอร์ และพาราควอต[9]

การใช้ยาปฏิชีวนะในทางที่ผิด

แก้

การศึกษาโดยกระทรวงสาธารณสุขและเวลคัมทรัสต์ของบริเตนในเดือนกันยายน 2559 พบว่า มีบุคคลเสียชีวิต 2 คนต่อชั่วโมงจากการติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาหลายชนิดในประเทศไทย อัตราดังกล่าวสูงกว่าในทวีปยุโรปมาก การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่เหมาะสมในมนุษย์และปศุสัตว์นำสู่การเพิ่มจำนวนจุลชีพดื้อยา ทำให้เกิด "ซูเปอร์บั๊ก" สายพันธุ์ใหม่ที่ต้องใช้ยา "ทางเลือกสุดท้าย" ที่มีผลข้างเคียงเป็นพิษมารักษาเท่านั้น ในประเทศไทย ยาปฏิชีวนะสามารถหาซื้อได้ทั่วไปในร้านขายยารวมทั้งร้านสะดวกซื้อบางที่โดยไม่ต้องมีใบสั่งยา แบคทีเรียดื้อยาสามารถติดต่อโดยการสัมผัสโดยตรงระหว่างมนุษย์กับสัตว์ฟาร์ม เนื้อที่บริโภคหรือสิ่งแวดล้อม มักใช้ยาปฏิชีวนะ เพื่อป้องกันมากกว่ารักษาโรค[10]

ในเดือนพฤศจิกายน 2559 ประเทศไทยประกาศเจตนาลดการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ (antimicrobial-resistant หรือ AMR) เหลือครึ่งหนึ่งภายในปี 2564 โดยมุ่งลดการใช้ยาปฏิชีวนะในมนุษย์ร้อยละ 20 และในสัตว์ร้อยละ 30 ประเทศไทยมีผู้ป่วย AMR ประมาณ 88,000 คนต่อปี มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 38,000 คนต่อปี ทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ 42,000 ล้านบาท[11]

การตั้งครรภ์วัยรุ่น

แก้

ในปี 2557 มีทารกเกิดจากมารดาอายุระหว่าง 15 ถึง 19 ปีประมาณ 334 คนต่อวัน[12]

มลภาวะ

แก้

ธนาคารโลกประมาณการว่ามีผู้เสียชีวิตในประเทศไทยซึ่งระบุสาเหตุได้จากมลพิษทางอากาศเพิ่มขึ้นจาก 31,000 คนในปี 2533 เป็นประมาณ 49,000 คนในปี 2556[13][14] หน่วยงานภาครัฐคาดการณ์ว่าปี 2567 ประเทศไทยจะมีปัญหาฝุ่น PM 2.5 ทวีความรุนแรงมากขึ้นจากเอลนีโญ[15] ซึ่งฝุ่น PM 2.5 เป็นสาเหตุของโรคร้ายแรงต่างๆ เช่น มะเร็งปอด[16] ทำให้แพทย์แนะนำให้สวมหน้ากากที่มีความสามารถในการกรองฝุ่น PM 2.5 ก่อนออกจากบ้าน[17] ทั้งนี้ มีผู้ป่วยจากฝุ่นชนิดนี้จำนวนมาก บางรายต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล บางรายถึงขั้นเสียชีวิต ตัวอย่างผู้ป่วยเช่น ชาราฎา อิมราพร (นักแสดง)[18] มารดาของคุณมะตูม[19] ตัวอย่างผู้เสียชีวิต เช่น รศ.ดร. ภาณุวรรณ จันทวรรณกูร[20] นพ. กฤตไท ธนสมบัติกุล[21] โดยมีผู้ป่วยและผู้ที่สูญเสียอื่นๆ อีกมาก อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ป่วยจากฝุ่น PM 2.5 จะไม่ได้แอดมิดทุกคน เนื่องจากหอผู้ป่วยในระบบสาธารณสุขเต็มอย่างต่อเนื่อง[22]

ปัญหาเตียงเต็ม

แก้

เนื่องด้วยประเทศไทยมีระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าหลักๆ 3 สิทธิ์ ได้แก่ (1) บัตรทอง (2) ประกันสังคม (3) ข้าราชการ[23] ซึ่งครอบคลุมประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ แต่สถานพยาบาลตามสิทธิ์มีเตียงรองรับน้อยกว่าความต้องการมาก ในทางปฏิบัติจะเห็นได้ว่าแม้แต่โรงพยาบาลของรัฐที่คิดค่าใช้จ่ายสูง เช่น โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ก็มีปัญหาเตียงเต็มตลอด[24] ดังนั้น ผู้ที่ใช้สิทธิ์อาจต้องรอเป็นเวลายาวนาน เว้นแต่ไปใช้บริการโรงพยาบาลเอกชน

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่ไม่มีทางเลือกที่จำเป็นต้องรอ บางส่วนอาจทนรอไม่ไหว หรือที่เรียกกันว่า 'รอเตียงจนตาย' เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้

ตัวอย่าง

แก้

ผู้ป่วยชาวอำเภอมหาราช จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ป่วยเป็นโรคต่อมน้ำเหลืองอุดตัน ทำให้แขนซ้ายเป็นก้อนเนื้อบวมโตผิดปกติ ได้คิวผ่าตัด 4 ปี[25]

ความเหลื่อมล้ำระหว่างสิทธิ์

แก้

กรณีจำเป็นต้องใช้โรงพยาบาลที่มิใช่สิทธิ์ และจะขอย้ายผู้ป่วยมายังโรงพยาบาลตามสิทธิ์โดยเร็วที่สุด[26] มีกรณีเปรียบเทียบดังนี้

1. ผู้ใช้สิทธิ์บัตรทอง - ใช้การแจ้งโรงพยาบาลคู่สัญญาในบัตรอย่างมีลายลักษณ์อักษร เช่น บันทึกเป็นหนังสือ (ให้ธุรการลงเลขรับ เก็บสำเนาไว้ 1 ชุด) หลังจากโรงพยาบาลได้รับหนังสือแล้ว ระยะเวลาจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือเป็นต้นไป หากโรงพยาบาลคู่สัญญาไม่ไปรับผู้ป่วยมารักษา คู่สัญญานั้นต้องรับผิดชอบรายจ่ายทั้งหมดนับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือเป็นต้นไป (กรณีสิทธิ์ว่าง ต้องติดต่อ สปสช.)

2. ผู้ใช้สิทธิ์ประกันสังคม - ใช้การแจ้งโรงพยาบาลคู่สัญญาเป็นหนังสือ (ให้ธุรการลงเลขรับ และเก็บสำเนาไว้ 1 ชุด) หลังจากโรงพยาบาลได้รับหนังสือแล้ว ระยะเวลาจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือเป็นต้นไป หากโรงพยาบาลคู่สัญญาไม่ไปรับผู้ป่วยมารักษา คู่สัญญานั้นต้องรับผิดชอบรายจ่ายทั้งหมดนับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือเป็นต้นไป

3. ผู้ใช้สิทธิ์ข้าราชการ - ไม่มีโรงพยาบาลคู่สัญญา จึงนับว่าแย่ที่สุดในกรณีนี้

ปัญหากรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน

แก้

นโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ มีสิทธิทุกที่ (UCEP) โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย มีปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติตัดสินใจเข้าโรงพยาบาลเอกชนที่ใกล้ที่สุดแต่กลับถูกปฏิเสธการรักษา[27] หรือถูกเรียกเก็บเงิน จนล้มละลาย[28] และถึงแม้โรงพยาบาลเอกชนจะรับรักษา แต่หลังจาก 72 ชั่วโมงพ้นไปแล้ว ผู้ป่วยที่เป็นข้าราชการหาเตียงไม่ได้ก็จะลำบากเช่นกัน[29]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Thailand-Country cooperation strategy: At a glance" (PDF). World Health Organization. May 2014. สืบค้นเมื่อ 6 October 2016.
  2. 2.0 2.1 2.2 "Thailand - Country health profile" (PDF). Global Health Observatory. World Health Organization. สืบค้นเมื่อ 21 December 2011.
  3. Thailand country profile. Library of Congress Federal Research Division (July 2007). This article incorporates text from this source, which is in the public domain.
  4. Pongphon Sarnsamak (25 November 2008). "More teenaged girls getting HIV infection". The Nation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 November 2014. สืบค้นเมื่อ 17 June 2013.
  5. "Thailand". HIV InSite. UCSF Center for HIV Information. July 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-01. สืบค้นเมื่อ 17 June 2013.
  6. "COUNTRY COMPARISON :: HIV/AIDS - ADULT PREVALENCE RATE". The CIA World Factbook. CIA. 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-21. สืบค้นเมื่อ 17 June 2013.
  7. Emma Bourke (14 June 2013). "Preventive drug could reduce HIV transmission among injecting drug users". The Conversation Australia. The Conversation Media Group. สืบค้นเมื่อ 17 June 2013.
  8. 8.0 8.1 Laopaisarntaksin, Pawat (2012-07-12). "Cancer-causing chemical residues found in vegetables". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 10 December 2015.
  9. Problems with chemical pesticides still not solved. 1 in 3 farmers at excessive risk
  10. Yee, Tan Hui (12 November 2016). "Antibiotic abuse killing thousands in Thailand". Straits Times. สืบค้นเมื่อ 18 November 2016.
  11. "Thailand joins global 'superbug' fight". Bangkok Post. 21 November 2016. สืบค้นเมื่อ 21 November 2016.
  12. "Sex education strengthens sexual discrimination in Thailand". Prachatai English. 1 December 2016. สืบค้นเมื่อ 4 December 2016.
  13. The Cost of Air Pollution: Strengthening the Economic Case for Action (PDF). Washington DC: World Bank and Institute for Health Metrics and Evaluation. 2016. p. 101. สืบค้นเมื่อ 8 December 2016.
  14. Buakamsri, Tara (8 December 2016). "Our silent killer, taking a toll on millions" (Opinion). Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 8 December 2016.
  15. PPTV Online. 2566. ผลกระทบเอลนีโญ! สธ. เฝ้าระวังค่าฝุ่น PM 2.5 คาดมีแนวโน้มสูงขึ้น. https://www.pptvhd36.com/health/news/4240
  16. "แพทย์ มช.เตือนฝุ่นพิษเสี่ยงป่วยโรคมะเร็ง". posttoday. 2023-03-05.
  17. PPTV Online. 2566. “พะเยา”คลุกฝุ่น PM 2.5 พบตั้งแต่ต้นปีป่วยทางเดินหายใจ 1.48 หมื่นคน. https://www.pptvhd36.com/health/news/3066
  18. Saekoo, Somkit. "FCห่วง "พิกเล็ท ชาราฎา" แพ้ฝุ่น PM2.5 จนต้องแอดมิทโรงพยาบาล". เดลินิวส์.
  19. มติชน. 2566. มะตูมแจ้งข่าว แม่เจอพิษ PM2.5 จนต้องเข้า รพ. ไอรุนแรง มีเสมหะ พูดไม่ได้. https://www.matichon.co.th/entertainment/news_3806137
  20. "มะเร็งปอดคร่าชีวิตผู้เชี่ยวชาญระดับโลก จากปัจจัยเสี่ยงPM2.5". workpointTODAY.
  21. ข่าวช่อง 8 (2023-12-30). "อาลัย คนดัง บุคคลสำคัญ ปี 2023 จากไปไม่มีวันกลับ…". www.thaich8.com.
  22. "เชียงใหม่วิกฤต ผู้ป่วยระบบหายใจ พุ่ง 1.2 หมื่นราย ล่าสุดเตียงเต็มแล้ว | Khaosod". LINE TODAY.
  23. "เช็กสิทธิคนไทย รับการรักษาพยาบาล อะไรได้บ้าง". สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน). 21 June 2022. สืบค้นเมื่อ 24 December 2023.
  24. ถอดวิธีบริหารโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์อย่างชาญฉลาด กับ ศ.นพ.ชาญ ศรีรัตนสถาวร (PDF). Bangkok: วารสารศิริราชประชาสัมพันธ์ ปีที่ 35 ฉบับที่ 473 เดือนธันวาคม 2566. 2023. p. 9. สืบค้นเมื่อ 24 December 2023.
  25. "พบแม่ค้าอาหารตามสั่งอยุธยาแขนโตหนักกว่า 20 กิโลฯ เผยเป็นโรคต่อมน้ำเหลืองอุดตัน". mgronline. 3 October 2014. สืบค้นเมื่อ 24 December 2023.
  26. "รักษาโรงพยาบาลเอกชนเงินหมดแล้ว จะย้ายเข้ารพ.รัฐบาลก็ย้ายไม่ได้เพราะทุกแห่งก็อ้างเตียงไอซียู.เต็มหมด จะทำอย่างไร ใน"อยากอายุยืน ต้องเล่นกล้าม"". Sant Chaiyodsilp. 16 May 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-12-24. สืบค้นเมื่อ 26 December 2023.
  27. "สุดาวรรณ สั่งดูแลญาตินักท่องเที่ยวไต้หวัน ถูกรถชน รพ.ปฏิเสธรักษา จนเสียชีวิต เร่งทำประกันภัยสกัดซ้ำรอย". มติชน. 12 December 2023. สืบค้นเมื่อ 29 December 2023.
  28. "ค่ารักษาพยาบาลใน รพ. เอกชน กรณี 'เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ : UCEP' ต้องได้รับการควบคุม". สภาองค์กรของผู้บริโภค. 13 January 2023. สืบค้นเมื่อ 29 December 2023.
  29. "รพ.เอกชนยังกำไร 30% แม้เข้าร่วม UCEP เผย 3 ปัญหาใช้สิทธิ ชงคุมค่ารักษา". manager online. 31 January 2023. สืบค้นเมื่อ 29 December 2023.