วิดีโอเกมในประเทศไทย
วิดีโอเกมเป็นอุตสาหกรรมที่กำลังรุ่งเรืองในประเทศไทย ประเทศไทยเป็นตลาดวิดีโอเกมที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 23 ในปัจจุบัน มีรายได้ 338 ล้านดอลลาร์สหรัฐใน พ.ศ. 2558 สูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[1]
การเติบโต
แก้วแลด มิคู จากวีจีวิชันนารี และวินโดวส์โฟนแฟนส์ดอตคอม เคยกล่าวใน พ.ศ. 2555 ว่า อุตสาหกรรมวิดีโอเกมในประเทศไทยกำลังรุ่งเรือง ส่วนใหญ่มาจากร้านค้าโปรแกรมประยุกต์หลายแห่งและความสนใจลงทุนในประเทศไทยของนักลงทุนต่างชาติมีเพิ่มขึ้น หลังจากสังเกตเห็นว่าเกมไทยหลายเกมกำลังมีฐานมั่นคงอย่างช้า ๆ ในตลาดต่างประเทศ มิคู กล่าวว่า "สตูดิโอเกมไทยจำนวนมากกำลังมีกำลังผลิตเนื้อหาที่มีคุณภาพสำหรับผู้เล่นทั่วโลก"[2] ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 โซนี่เริ่มผลิตสมาร์ตโฟนระดับพรีเมียมในประเทศไทย เป็นโรงงานผลิตโทรศัพท์มือถือต่างประเทศแห่งแรกในรอบ 20 ปีของบริษัท โซนีตั้งเป้าหมายว่าจะผลิตสมาร์ตโฟนระดับพรีเมียมให้ได้ 600,000 ถึง 700,000 เครื่องในปีแรก[3]
ใน พ.ศ. 2558 ทั้งนิวซู และนิโคพาร์ตเนอส์ กล่าวว่าได้คาดหวังการเติบโตของรายได้วิดีโอเกมในประเทศไทยและประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปีต่อ ๆ ไป[1][4] ในปี 2562 มีสถิติระบุว่าตลาดวิดีโอเกมไทยมีมูลค่า 22,000 ล้านบาท คิดเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน เติบโตจากปีก่อนร้อยละ 13[5] ส่วนในปี 2564 ประเทศไทยมีผู้ผลิตบนกูเกิลเพลย์ 531 ราย และมีวิดีโอเกมไทยบนแพลตฟอร์มนั้น 1,684 เกม อีกทั้งประมาณการว่ามีเกมเมอร์ในประเทศไทยประมาณ 27 ล้านคน[6] ด้านสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีปา) คาดการณ์ว่าในปีดังกล่าวตลาดจะมีขนาด 33,000 ล้านบาท[7] อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่าการเติบโตของวิดีโอเกมบนโทรศัพท์เคลื่อนที่จะเติบโตช้าลงตั้งแต่ปี 2565 เนื่องจากจำนวนผู้เล่นใหม่ลดลง[8]
นอกจากการขาดการสนับสนุนจากภาครัฐแล้ว ธนานนท์ ปฏิญญาศักดิกุล วิศวกรคอมพิวเตอร์และยูทูบเบอร์ ยังเคยแสดงความคิดเห็นว่า ปัญหานักวิ่งเต้นตัดโอกาสคนมีความสามารถ ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ขัดขวางการเติบโตของวงการวิดีโอเกมไทย[9] ในปี 2563 มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมาธิการศึกษาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกม (Software Game) และอีสปอร์ต (E-Sport) โดยมีโฟกัส จีระกุลและนายิกา ศรีเนียนร่วมเป็นที่ปรึกษาด้วย[10][11]
การแข่งขันอีสปอร์ตเริ่มแพร่หลายมากขึ้น เช่น ทัวร์นาเมนต์ระดับมหาวิทยาลัย AIS 5G eSports U-League[12] และนายกสมาคมกีฬาอีสปอร์ตแห่งประเทศไทยมีมติเตรียมจัดลีกอาชีพ DOTA2 Thailand PRO Legaue เริ่มในปี 2564[13]
ด้านชัชชัย หวังวิวัฒนา จากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มองว่าอาชีพสตรีมเมอร์เป็นอาชีพที่มีอัตราเติบโตสูงและมีโอกาสสร้างรายได้หลักแสนบาทต่อเดือน แต่สตรีมเมอร์ชาวไทยส่วนใหญ่ยังเป็นมือสมัครเล่น ยังขาดความรู้และทักษะในการประกอบธุรกิจ[14] สำหรับสตรีมเมอร์ และ/หรือ วิดีโอเกมแคสเตอร์ชาวไทยที่มีชื่อเสียง เช่น Zbing z. (ซีบิ๊ง) และ Heartrocker (ฮาร์ตร็อกเกอร์)[15]
ผู้ผลิต
แก้ตัวอย่างวิดีโอเกมสัญชาติไทยที่มีชื่อเสียง เช่น ไทม์ลาย (2563), โฮมสวีตโฮม[16], อสุรา, คิงดัมส์รีบอร์น[17]
ในปี 2564 กลุ่มผู้ผลิตวิดีโอเกมสัญชาติไทยรวมตัวกันก่อตั้ง "สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เกมไทย" (Thai Game Software Industry Association)[18] ดีปาริเริ่มโครงการเพื่อส่งเสริมผู้พัฒนาวิดีโอเกมสัญชาติไทย โดยได้รับความร่วมมือจากนินเทนโด[19]
บริษัทต่าง ๆ
แก้ประเทศไทยมีบริษัทเกมอย่างเอเชียซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น หนึ่งในบริษัทเกมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วง พ.ศ. 2533-2542 บริษัทตั้งเป้าหมายลดราคาวิดีโอเกมในประเทศไทยขณะทำการประเมินเพื่อให้มั่นใจว่าวิดีโอเกมไม่ "รั่วไหล" ไปภูมิภาคอื่น เพื่อรับมือกับการละเมิดลิขสิทธิ์วิดีโอเกม เนื่องจากตลาดเปลี่ยนแปลงไปแล้วและเกมออนไลน์กลายเป็นตลาดขนาดใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียซอฟท์เริ่มจำหน่ายเกมออนไลน์แบบเล่นตามบทบาท เช่น เวิลด์ออฟวอร์คราฟต์ ของบลิซซาร์ดเอ็นเตอร์เทนเมนต์ ในประเทศ ใน พ.ศ. 2547 บริษัทขยายตัวไปถึงประเทศสิงคโปร์ และภายใน พ.ศ. 2557 บริษัทในสำนักงาน 6 แห่งในหลายประเทศ[20]
ดี บัสซ์ บริษัทนักพัฒนาวีดีโอเกมสัญชาติไทย ที่ผลิตวีดีโอเกมสำหรับพีซีและมือถือ ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2542[21] และ เกมอินดี้ บริษัทผู้ให้บริการและจัดจำหน่ายวีดีโอเกม ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2552[22]
สนุกเกมส์ เริ่มพัฒนาวิดีเกมสำหรับคอนโซล เกมมือถือ และอุปกรณ์มือถือเมื่อ พ.ศ. 2546 บริษัทมีสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานคร เปิดสำนักงานจัดจำหน่ายในแคว้นโรนาลป์ ประเทศฝรั่งเศส[23]
ประเด็นถกเถียง
แก้ใน พ.ศ. 2551 เกมแกรนด์เธฟต์ออโต 4 เป็นประเด็นถกเถียงในประเทศไทยหลังจากเด็กนักเรียนมัธยมปลาย อายุ 18 ปีคนหนึ่งแทงคนขับรถแท็กซี่เสียชีวิต เด็กอายุ 18 ปีสารภาพว่าขโมยรถแท็กซี่และฆ่าคนขับรถอายุ 54 ปีหลังจากเขาต่อสู้กลับ ต่อมากล่าวว่า "การฆ่าคนในเกมนั้นง่าย" ต่อมา เกมดังกล่าวที่ผลิตจากสหรัฐอเมริกาถูกห้ามจำหน่ายในประเทศไทย[24][25]
หลังจากรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติสั่งห้ามจำหน่ายวิดีโอเกม ทรอปิโก 5 ซึ่งผู้เล่นสามารถเป็นผู้เผด็จการในรัฐที่เป็นเกาะ นงลักษณ์ สหวัฒนพงศ์ ผู้จัดการฝ่ายขายของนิวอีราไทยแลนด์ กล่าวว่า "บางส่วนของเนื้อเรื่องในเกมกระทบสถานการณ์ในประเทศไทย" และแม้ว่านงลักษณ์จะรู้สึก "ผิดหวัง" กับการตัดสินใจครั้งนี้ บริษัทจำต้องปฏิบัติตามคำสั่งห้าม[26][27]
ในเดือนธันวาคม 2563 บริษัทอีสปอร์ตและเอเจนซี ชื่อ แฮชแท็กอีสปอร์ต ตกเป็นข่าวเมื่อมีสตรีมเมอร์ในสังกัดออกมาประกาศว่ามีเจ้าของบริษัทคนหนึ่งมีพฤติกรรมคุกคามทางเพศหญิงในบริษัทตนเอง จนต้องปิดตัวลง[28]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Brightman, James (2015-10-15). "China now leads the world in game revenues - Newzoo". Newzoo's Top 100 Countries by Game Revenues. Gamesindustry.biz.
- ↑ Micu, Vlad (2012-08-13). "6 Games Made By Thai Game Studios You Need To Try". Techasia.
- ↑ Reuters (2015-11-06). "Sony starts making premium smartphones in Thailand". Tech2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-09. สืบค้นเมื่อ 2016-03-12.
- ↑ Gaudiosi, John (2015-02-05). "In search of growth, video game companies hungrily eye Southeast Asia". Fortune.
- ↑ Katchwattana, Praornpit (29 October 2019). "รับสถิติใหม่ 'ตลาดเกมไทย' โต 2.2 หมื่นล้านบาท ด้วยมาตรการดันอุตสาหกรรมเกม". Salika. สืบค้นเมื่อ 4 March 2021.
- ↑ "Thai Gaming Startups And Trends For 2021". Thailand Business News. 28 February 2021. สืบค้นเมื่อ 4 March 2021.
- ↑ "ดีป้า คาด อุตฯเกมไทยปี 64 ทะลุ 3.3 หมื่นล้าน". ทีเอ็นเอ็น. 16 February 2021. สืบค้นเมื่อ 4 March 2021.
- ↑ "ตลาดเกมมือถือในไทย คนไทยไม่ค่อยเสียเงินเท่าไรนะ". marketeeronline.com. สืบค้นเมื่อ 4 March 2021.
- ↑ "โปรแกรมเมอร์ดัง แฉ ปัญหานักล็อบบี้ ทำอีสปอร์ตไทยไม่โต คนรันวงการไม่ได้โอกาส". มติชนออนไลน์. 8 December 2020. สืบค้นเมื่อ 4 March 2021.
- ↑ "เปิดตัวอนุ กมธ.อีสปอร์ต หวังภาครัฐหนุนตรงจุด ดึง "โฟกัส" นั่งที่ปรึกษา". ไทยรัฐออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 4 March 2021.
- ↑ "'แคน นายิกา' เปิดใจจากชีวิตไอดอลสู่ชีวิตในสภา หลังประเดิมนั่งที่ปรึกษาอนุกมธ.อีสปอร์ต". มติชนออนไลน์. 9 December 2020. สืบค้นเมื่อ 4 March 2021.
- ↑ "ปิดฉาก AIS U-League 2020 "ม.นเรศวร" ยืนหนึ่ง ROV "เกษตรศาสตร์" คว้าแชมป์ FIFA Online และ Minecraft". ผู้จัดการออนไลน์ (ภาษาอังกฤษ). 4 March 2021. สืบค้นเมื่อ 4 March 2021.
- ↑ "ลีกอาชีพอีสปอร์ตเตรียมเบิกร่องเกมแรกด้วย"DOTA2"". สยามสปอร์ต. 19 February 2021. สืบค้นเมื่อ 4 March 2021.
- ↑ "'สตรีมเมอร์' อาชีพคนรุ่นใหม่ รายได้หลักแสน". กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 4 March 2021.
- ↑ ""Zbing z." แท็กทีม "Heartrocker" คว้ารางวัลสตรีมเมอร์แห่งปีจากงาน Super Gamer Fest 2020". ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 4 March 2021.
- ↑ "Home Sweet Home Survive เกมคนไทย หวังเป็นที่หนึ่งในเอเชีย". ไทยรัฐ. 13 February 2021. สืบค้นเมื่อ 4 March 2021.
- ↑ "Kingdoms Reborn ผลงานเกมชาวไทยที่พัฒนาเพียงคนเดียวในเวลา 3 ปี". gamingdose. สืบค้นเมื่อ 4 March 2021.
- ↑ "วงการเกมไทย ก้าวไปอีกขั้น! สมาคม TGA เปิดตัวใหม่ Rebranding ที่พร้อมผลักดันเกมไทยสู่สากล". gamingdose. สืบค้นเมื่อ 4 March 2021.
- ↑ ""ดีป้า"เปิดโปรแกรมปั้นผู้พัฒนาเกมไทยสู่เวทีโลก". เดลินิวส์. สืบค้นเมื่อ 4 March 2021.
- ↑ Lee, Mary-anne (2014-11-06). "How Asiasoft went from moving educational games to being one of SEA's largest publishers". TechinAsia.
- ↑ "ข้อมูล บริษัท เกมอินดี้ จำกัด".
- ↑ "ข้อมูล บริษัท เกมอินดี้ จำกัด".
- ↑ "About Us". Sanuk Games.
- ↑ "Grand Theft Auto blamed over Thai taxi driver murder". the Telegraph. 2008-08-04.
- ↑ Reed, Jim (2008-08-04). "Thailand bans Grand Theft Auto IV". BBC News.
- ↑ Fourquet, Laure (2014-08-05). "Tropico 5 video game banned in Thailand". The Independent.
- ↑ Shreier, Jason (2014-08-04). "Military-Ruled Thailand Bans Game About Military Rule". Kotaku.
- ↑ "สรุปเรื่องฉาววงการเกม หลังแฉอนาจารสาวในสังกัด สู่การยุบค่ายสตรีมดัง". ข่าวสด. 13 December 2020. สืบค้นเมื่อ 4 March 2021.