หน่วยไทย เป็นหลักในการวัดความยาว น้ำหนัก พื้นที่ ปริมาตร ในประเทศไทย ซึ่งมีการวัดความยาวมาแต่สมัยก่อน ประเทศไทยได้มีการปรับเปลี่ยนมาใช้ หน่วยเอสไอ เป็นมาตรฐานตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2466[1] แต่ปัจจุบันยังคงมีการใช้หน่วยไทยในบางหน่วย [2]

ก่อนการใช้การวัดระบบ เอสไอ/เมตริก การวัดแบบดั้งเดิมที่ใช้ในประเทศไทยใช้หน่วยวัดที่อ้างอิงกับสัดส่วนของมนุษย์ หน่วยเหล่านี้บางส่วนยังคงใช้งานอยู่ เมื่อกรมแผนที่ทหารเริ่มการสำรวจรังวัดที่ดินในปี พ.ศ. 2439 ผู้อำนวยการภายใต้ทุนวิจัยพื้นฐานของราชสมาคมภูมิศาสตร์แห่งสหราชอาณาจักร (F.R.G.S.), RW Giblin กล่าวว่า "40 เมตร หรือ 4,000 เซนติเมตร นั้นมีขนาดเท่ากับหนึ่งเส้น" ดังนั้นแผนที่ที่ดินทั้งหมดจะถูกรังวัด, วาดและพิมพ์ลงในอัตราส่วน 1: 4,000[3] ในการวัดขนาดพื้นที่ยังคงใช้หน่วยตารางวา, งาน และไร่

หน่วยของไทยในประวัติศาสตร์และวรรณคดี แก้

หน่วยของไทยมีปรากฏทั้งในประวัติศาสตร์และวรรณคดีดังนี้

พระราชพิธีสิบสองเดือน แก้

พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[4] มีข้อความต่อไปนี้อยู่ “เสาโคมชัยใช้ไม้ยาว 11 วา” (พระราชพิธีจองเปรียง) “เกยสูง 4 ศอก ไม้ยาว 4 ศอก” (พิธีกะติเกยา) “ศิวลึงค์ตั้งอยู่บนฐานที่เรียกว่าโยนิ สูงตั้งแต่ 5 นิ้ว 6 นิ้ว ขึ้นไปจน 2 ศอก เศษ 2 ศอก” (พิธีศิวาราตรี) “ใช้ผ้าลายหกคืบผืน 1 ห้าคืบผืน 1 สี่คืบผืน 1” (พระราชพิธีพืชมงคลและจรดพระนังคัล) จะเห็นว่า หน่วยในหน่วยของไทยมี วา ศอก นิ้ว คืบ

หนังสือ มังรายศาสตร์ แก้

แปลโดย ดร.ประเสริฐ ณ นคร [5] มีข้อความเช่น “คนจะหลีกช้าง หลีกให้ไกล 30 วา 20 วา ผิช้างดุ ให้หลีกให้ไกล 110 วา 50 วา ผิหลีกม้าให้ไกล 1 วา 2 วา ผิงัวควายดุให้หลีกให้ไกล 3 วา 4 วา 5 วา 6 วา” มีหน่วยวัดเป็น วา

โคลงโลกนิติ แก้

มีหน่วยวัดหลายที่ เช่น “ช้างสารหกศอกไซร้ เสียงา” “ขุนเขาสูงร้อยโยชน์ คณนา” “ภุมราอยู่ไกลสถาน นับโยชน์ ก็ดี” เป็นต้น มีหน่วย ศอก โยชน์ [6]

พจนานุกรมศัพท์วรรณคดีไทยสมัยสุโขทัย ไตรภูมิกถา แก้

มีหน่วยวัดเช่น “ต้นกัลปพฤกษ์นั้นโดยสูงได้ 10 วา 2 ศอก โดยกว้างได้ 10 วา” “ชั้นฟ้าอันชื่อว่าดุสิดานั้นขึ้นไปเบื้องบนได้ 2,688,000,000 วา ผิแลจะคลนาด้วยโยชน์ได้ 336,000 โยชน์ จนถึงชั้นฟ้าอันชื่อว่านิมมานรดีนั้น” มีหน่วย วา ศอก โยชน์[7]

พงศาวดารโยนก แก้

มีข้อความ “สร้างพระมหาสถูป ณ เมืองเชียงแสน ซึ่งเรียกว่าวัดต้นแก้ว ก่อฐานพระเจดีย์กว้าง 15 วา สูง 1 เส้น 5 วา” “พระยาเมงรายได้ฟังคำอธิบายของสมเด็จพระร่วงเจ้าดังนั้น จึงตรัสว่า ข้าแต่สหายเจ้าทั้งสอง ผิดังนั้นเราจะตั้งล่วงแป (ด้านยาว) 1000 วา ล่วงขื่อ (ด้านสกัด) 400 วา เถิด” เป็นต้น มีหน่วย วา เส้น[8]

ดังนั้นตามที่ทราบกัน หน่วยวัดของไทยที่ใช้กันมาแต่เดิมมี ศอก วา คืบ นิ้ว โยชน์ เส้น ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยเหล่านี้ก็คือ 12 นิ้วเป็น 1 คืบ, 2 คืบเป็น 1 ศอก, 4 ศอกเป็น 1 วา, 20 วาเป็น 1 เส้น, และ 400 เส้นเป็น 1 โยชน์

หน่วยของไทยกับต่างประเทศ แก้

นิ้วของไทยก็ไม่เท่ากับ นิ้วของฝรั่งที่บอกว่าเป็นความยาวของข้าวบาร์เลย์ 3 เมล็ดเรียงกัน และก็ไม่เท่ากับ นิ้วมาตรฐานในหน่วยอังกฤษปัจจุบัน แต่นิ้วของไทยนั้นใช้ความยาวเท่ากับ ข้อปลายของนิ้วกลาง [9] ซึ่งนิ้วของแต่ละคนก็ไม่เท่ากันอยู่แล้ว ดังนั้นจะเอามาตรฐานแบบความยาวทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันไม่ได้ เรื่องความยาวนิ้วที่สัมพันธ์กับเมล็ดข้าวนั้น ใน “สารานุกรมพระพุทธศาสนา” ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส [10] ก็มีกล่าวถึงเช่นกันว่า “7 เม็ดข้าวเป็น 1 นิ้ว” และมีข้อความระบุไว้ว่า “ได้เอาข้าวเหนียวทั้งเปลือกเรียงเทียบนิ้ว ข้าวเหนียวดำโตไป เพียง 6 เมล็ดก็ได้นิ้วหนึ่ง ข้าวเหนียวขาว 7 เมล็ดพอดี แต่เศษของนิ้วแบ่ง 8 สะดวกกว่า” ที่ไม้บรรทัด สเกลเป็นนิ้วก็มีแบ่งเป็น 8 ส่วนด้วย นอกเหนือจากที่มีแบ่งเป็น 10 ส่วนแล้ว และหน่วยของไทยก็มีการใช้ขนาดที่เรียกว่า หุน ซึ่ง 8 หุนเท่ากับ 1 นิ้ว ถ้าพูดว่าท่อน้ำขนาด 4 หุนก็คือท่อขนาดครึ่งนิ้ว หน่วยหุนนี่เข้าใจว่ามาจากหน่วยของจีน

คำที่ตรงกับคำว่านิ้วมีอยู่คำหนึ่งคือ องคุลี (หมายถึงองคุลีมาล ซึ่งฆ่าคนเอานิ้วมาร้อยเป็นสร้อยคอแขวนไว้) ในนิราศภูเขาทอง ของสุนทรภู่ [11] ก็มีบทที่เกี่ยวกับขนาดความยาวเป็นองคุลีหรือนิ้วอยู่ คือ บทที่ว่า

งิ้วนรกสิบหกองคุลีแหลม ดังขวากแซมเสี้ยมแซกแตกไสว
ใครทำชู้คู่ท่านครั้นบรรลัย ก็ต้องไปปีนต้นน่าขนพอง”

แสดงว่าหนามงิ้วนั้นยาวมาก ยาว 16 นิ้ว และคงอยู่ติด ๆ กัน เพราะถ้าอยู่ห่าง ๆ กัน คนที่ตกนรกโดนปีนต้นงิ้วคงเหยียบปีนได้สบาย

คำกล่าวของไทยอีกเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับขนาดก็มีว่า ร่างกายของคนเรานั้น กว้างศอก ยาววา หนาคืบ

หน่วยขนาดยาวมากของไทย แก้

สำหรับหน่วยที่ยาวเกินวาของไทยมีคำว่า เส้น กับ โยชน์ นั้น คำว่าโยชน์นี้เป็นขนาดความยาวที่มาก ๆ ของไทย เคยถูกนำไปใช้เวลาแปลชื่อเรื่อง 20,000 leagues under the sea ของจูลส์ เวิร์น ไทยโบราณที่ใช้กันก็คงมีแค่ เส้น กับ โยชน์ แต่ในหนังสือ สารานุกรมพระพุทธศาสนา ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส [10] ยังกล่าวถึงหน่วยอื่นอีก คือ

25 วาเป็น 1 อสุภะ 80 อสุภะ เป็น 1 คาวุต 4 คาวุต เป็น 1 โยชน์

และ 4 ศอกเป็น 1 ธนู 500 ธนูเป็น 1 โกสะ 4 โกสะเป็น 1 คาวุต 4 คาวุตเป็น 1 โยชน์

หน่วยขนาดที่เล็กของไทย แก้

ขนาดที่เล็กกว่า นิ้ว มีการรับรู้กันว่ามีขนาดที่เรียกว่า กระเบียด โดย 4 กระเบียด เป็น 1 นิ้ว บางแห่งมีคำ อนุกระเบียด คือ 2 อนุกระเบียดเป็น 1 กระเบียด

ไม่มีหน่วยที่เล็กกว่านี้อีกมีแต่คำเล็ก ๆ ที่ไม่ใช่หน่วย เช่น ธุลี (ละออง, ฝุ่น) อนุภาค (ชิ้นหรือส่วนขนาดเล็กมาก, ในทางวิทยาศาสตร์มักใช้เรียกส่วนที่มีขนาดเล็กกว่าอะตอม เช่น อนุภาคแอลฟา อนุภาคบีตา ภาษาอังกฤษใช้ว่า particle) อณู (ส่วนของสารที่ประกอบด้วยปรมาณู) และมีคำ ปรมาณู ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่น่าสนใจแต่ไม่ทราบที่มาว่า 36 ปรมาณู เป็น 1 อณู [9]

และมีหน่วยระยะห่างที่ใกล้มาก ๆ คือ ห่างกันแค่เส้นยาแดงผ่าแปด ซึ่งในพจนานุกรมบอกว่าเป็นสำนวนภาษาพูด หมายถึงห่างกันนิดเดียว และ สำนวน เส้นยาแดงผ่าแปด หมายถึง เฉียดฉิว ซึ่งคำว่า ยาแดง ในที่นี้ คงหมายถึงยาสูบชนิดหนึ่งของจีน เส้นแดง ซึ่งเป็นเส้นขนาดเล็ก ๆ อยู่แล้ว เอามาผ่าแปดส่วนอีก ขนาดก็ยิ่งเล็กลงไป บางทีก็ใช้คำว่า เส้นผมผ่าแปด

รายชื่อหน่วย แก้

ชื่อ ย่อ[12] ความหมายในภาษาอังกฤษ การเปรียบเทียบ ปริมาตรเทียบกับมาตราเมตริก
ความยาว
กระเบียด Quarter of a finger - 0.5208 เซนติเมตร[13]
นิ้ว Siamese inch[14]
Cf. Digit (unit)
finger (unit)
4 กระเบียด[15] 2.5 เซนติเมตร
คืบ ค. Span 10 นิ้ว[15] 25 เซนติเมตร
ศอก ศ. คิวบิต 2 คืบ[15] 50 เซนติเมตร
วา ว. ฟาธอม (สุดแขนซ้ายขวา) 4 ศอก[15] 2 เมตร
เส้น ส. Cf. Rope (unit)
line of rope
[3]
20 วา[15] 40 เมตร
โยชน์ Cf. league[16][17] 400 เส้น[15] 16 กิโลเมตร
พื้นที่
ตารางวา ว. 4 ตารางเมตร
งาน ง. 100 ตารางวา 400 ตารางเมตร
ไร่ ร. 4 งาน 1,600 ตารางเมตร (16 เอเคอร์)
ความจุ
หยิบมือ Pinch 7.8125 มิลลิลิตร
กำมือ Grain held in an enclosed hand 4 หยิบมือ[15] 31.25 มิลลิลิตร
ฟายมือ Grain held in the palm 4 กำมือ[15] 125 มิลลิลิตร
ทะนาน Coconut shell used for measuring 8 ฟายมือ[15] 1ลิตร
ถัง Bucket 20 ทะนาน[15] 20 ลิตร
สัด Measuring basket 25 ทะนาน[15] 25 ลิตร
เกวียน Cartload (cf. Cart) 100 ถัง[15] 2,000 ลิตร
ทะนานหลวง ท. 1 ลิตร
สัดหลวง ส. 20 ทะนานหลวง 20 ลิตร
บั้นหลวง บ. 50 สัดหลวง 1,000 ลิตร
เกวียนหลวง กว. 2 บั้นหลวง 2,000 ลิตร
น้ำหนัก
เมล็ดข้าว
กล่อม 2 เมล็ดข้าว[18]
กล่ำ 2 กล่อม
ไพ 2 กล่ำ
เฟื้อง 4 ไพ
สลึง 2 เฟื้อง 3.75 กรัม
บาท 4 สลึง[15] 15 กรัม
ตำลึง Tael 4 บาท[15] 60 กรัม
ชั่ง 斤/Catty 20 ตำลึง[15] 1,200 กรัม
หาบ Picul 50 ชั่ง[15] 60 กิโลกรัม
หาบหลวง ห. 100 ชั่งหลวง 60 กิโลกรัม
ชั่งหลวง ช. 600 กรัม
กะรัตหลวง กร. 0.2 กรัม

อ้างอิง แก้

  1. Minutes of the 7th General Conference on Weights and Measures, 1927, page 69
  2. "Measurements in Thailand". ThaiLawOnline. Isaan Lawyers. สืบค้นเมื่อ 16 January 2015.
  3. 3.0 3.1 Giblin, R. W. (2008) [1908]. "Royal Survey Work". ใน Wright, Arnold; Breakspear, Oliver T (บ.ก.). Twentieth century impressions of Siam (PDF). London, etc.: Lloyds Greater Britain Publishing Company. p. 126. สืบค้นเมื่อ 28 January 2012. All cadastral plans are plotted, drawn, and printed to a scale of 1 to 4,000....
  4. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, “พระราชพิธีสิบสองเดือน”, พิมพ์ครั้งที่ 18, สำนักพิมพ์บรรณาคาร, พ.ศ. 2542
  5. ประเสริฐ ณ นคร, “มังรายศาสตร์”, โรงพิมพ์พระจันทร์, พ.ศ. 2516
  6. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร, “โคลงโลกนิติ”, พิมพ์ครั้งที่ 10, บริษัทเรือนปัญญา จำกัด, พ.ศ. 2545
  7. ราชบัณฑิตยสถาน, “พจนานุกรมศัพท์วรรณคดีไทยสมัยสุโขทัย ไตรภูมิกถา”, ราชบัณฑิตยสถาน, พ.ศ. 2544
  8. พระยาประชากิจกรจักร์ (แช่ม บุนนาค) , “พงศาวดารโยนก”, พิมพ์ครั้งที่ 7, สำนักพิมพ์คลังวิทยา, พ.ศ. 2516
  9. 9.0 9.1 ราชบัณฑิตยสถาน, “พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542” , นานมีบุ๊คส์พับลิเคชันส์, พ.ศ. 2546
  10. 10.0 10.1 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, “สารานุกรมพระพุทธศาสนา”, พิมพ์ครั้งที่ 2, มหามกุฏราชวิทยาลัย, พ.ศ. 2539
  11. สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, “ชีวิตและงานของสุนทรภู่”, พิมพ์ครั้งที่ 10, สำนักพิมพ์เสริมวิทย์บรรณาคาร, พ.ศ. 2518
  12. https://onestopservice.ditp.go.th/download/file/2dit.pdf
  13. "Krabiat (กระเบียด, Quarter Of A Finger) Conversion Chart". convert-me.com. สืบค้นเมื่อ 8 July 2017.
  14. Great Britain. Foreign Office (1847). "1". Treaty of Commerce and Navigation with The United States. British and Foreign State Papers 1833-1834. Vol. 22. London: James Ridgway and sons, Piccadilly. p. 592. สืบค้นเมื่อ 26 January 2020. ...said fathom being computed to contain 78 English or American inches, corresponding to 96 Siamese inches....
  15. 15.00 15.01 15.02 15.03 15.04 15.05 15.06 15.07 15.08 15.09 15.10 15.11 15.12 15.13 15.14 15.15 ราชบัณฑิตยสถาน (2546), พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒, กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊กส์พับลิเคชันส์, ISBN 974-9588-04-5, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-03
  16. So Sethaputra, สอ เสถบุตร (1999). New Model Thai-English Dictionary. Bangkok: ไทยวัฒนาพานิช : Thai Watthanā Phānit. p. 239. ISBN 974-08-3253-9. โยชน์ n. an old unit of distance, equivalent to about 16 kilometers ใด้ทะเลสองหมื่นโยชน์ n. Jules Verne's"Twenty-thousand Leagues under the Sea"
  17. So Sethaputra, สอ เสถบุตร (1997). New Model English-Thai Dictionary. Bangkok: ไทยวัฒนาพานิช : Thai Watthanā Phānit. p. 327. ISBN 974-08-3253-9. league n. หน่วยวัดระยะทาง = สามไมล์หรือ ๑๒๐ เส้น
  18. https://www.baanjomyut.com/library/knowledge_of_encyclopedias/182.html

ดูเพิ่ม แก้