วา เป็นหน่วยวัดความยาวของไทย มีที่มาจากการกางแขนทั้งสองออกไปข้างลำตัวในแนวราบ หนึ่งวาวัดจากปลายนิ้วกลางของแขนข้างหนึ่ง (หรือนิ้วอื่นที่ยาวที่สุดสำหรับบางคน) ผ่านอกไปยังปลายนิ้วกลางของแขนอีกข้าง แต่เนื่องจากระยะวาของแต่ละคนไม่เท่ากัน พระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พระพุทธศักราช ๒๔๖๖ จึงกำหนดให้ 1 วายาวเท่ากับ 2 เมตรเป็นต้นมา และใช้อักษรย่อว่า ว. [1] หน่วยวาใช้ประกอบกันเป็นหน่วยวัดพื้นที่คือ ตารางวา

ในบันทึกของลาลูแบร์ระบุว่า 1 วา สั้นกว่าตัวร์ (toise) ประมาณ 1 ปูช (pouce) หรือประมาณ 1.9 เมตร ในบันทึกของบาทหลวงฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัว นิยามว่า วา เท่ากับ ฟาทอม (fathom) หรือเท่ากับ 1.829 เมตร ส่วนในสนธิสัญญาเบาว์ริงได้ระบุว่าชาวอังกฤษและคนในบังคับจะเช่าที่ดินและซื้อบ้าน จะต้องตั้งห่างจากกำแพงพระนคร 200 เส้น คือ 4 ไมล์ เมื่อแปลงจากเส้นเป็นวา (100 เส้นเท่ากับ 2,000 วา) 1 วา จะเท่ากับ 1.6 เมตร[2] ในสนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ ค.ศ. 1833 ระบุว่า 1 วา เท่ากับ 78 นิ้ว ในระบบอังกฤษหรืออเมริกัน หรือเท่ากับ 96 นิ้ว (หน่วยความยาวไทย) หรือเท่ากับ 1.981 เมตร[3]

หน่วยความยาว แก้

1 วา มีค่าเท่ากับ

ในทางกลับกัน

สำนวนที่กล่าวถึง แก้

  • ลดราวาศอก - ผ่อนลง, ยอมอ่อนให้
  • พอไปวัดไปวา, ไปวัดไปวาได้ - มีรูปร่างหน้าตาดีพออวดเขาได้

อ้างอิง แก้

  1. "พระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พระพุทธศักราช ๒๔๖๖". ราชกิจจานุเบกษา ๔๐. 27 ธันวาคม พ.ศ. 2466. หน้า 183-218.
  2. ภิรมย์อนุกูล, รุ่งโรจน์. พระศรีสรรเพชญ์. p. 24.
  3. Spotlight on Treaty of Amity เก็บถาวร พฤษภาคม 3, 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน