ศอก เป็นหน่วยวัดความยาวที่นิยามจากระยะระหว่างข้อศอกไปจนถึงนิ้วกลาง มีการใช้มาตั้งแต่ในอียิปต์โบราณ และถูกใช้ในหลายประเทศ

หน่วยศอกในประเทศไทย

แก้

ศอก เป็นหน่วยวัดความยาวของไทย มีที่มาจากการวางแขนท่อนล่างลงบนพื้นราบ หนึ่งศอกวัดจากปลายนิ้วกลางไปจนถึงปลายข้อศอก [1] แต่เนื่องจากระยะศอกของแต่ละคนไม่เท่ากัน พระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พระพุทธศักราช ๒๔๖๖ จึงกำหนดให้ 1 ศอกยาวเท่ากับ ½ ของเมตร (0.5 เมตร) เป็นต้นมา และใช้อักษรย่อว่า ศ. [2]

1 ศอก มีค่าเท่ากับ

ในทางกลับกัน

สำนวนที่กล่าวถึง

แก้
  • ได้คืบจะเอาศอก - ต้องการจะได้มากกว่าที่ได้มาแล้ว
  • คืบก็ทะเล ศอกก็ทะเล - เมื่อออกทะเลอย่าประมาท ทะเลล้วนมีอันตราย
  • ลดราวาศอก - ผ่อนลง, ยอมอ่อนให้

อ้างอิง

แก้
  1. ราชบัณฑิตยสถาน (2008-09-06). "ได้คืบจะเอาศอก". คลังความรู้ ราชบัณฑิตยสถาน. สืบค้นเมื่อ 2009-05-23.[ลิงก์เสีย]
  2. "พระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด พระพุทธศักราช ๒๔๖๖". ราชกิจจานุเบกษา ๔๐. 27 ธันวาคม พ.ศ. 2466. หน้า 183-218.