ทัชชกร ยีรัมย์

(เปลี่ยนทางจาก จา พนม)

ทัชชกร ยีรัมย์[1](เกิด 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519) ชื่อเล่น จา หรือที่รู้จักกันในชื่อ จา พนม เป็นอดีตนักกีฬาเริ่มเข้าสู่วงการแสดง พ.ศ. 2535 โดยเซ็นสัญญาเป็นนักแสดงภาพยนตร์สังกัดค่ายสหมงคลฟิล์มเมื่อ พ.ศ. 2546[2] แต่ปัจจุบันได้ยกเลิกสัญญาแล้วเนื่องจากปัญหาความขัดแย้งทางธุรกิจ โดยใช้และเป็นต้นแบบคติในการแสดง คือ แสดงจริง, ไม่ใช้สตันท์แมน และไม่ใช้เทคนิคพิเศษในการแสดงคิวต่อสู้[3] เขาใช้ชื่อในการแสดงเฉพาะในประเทศไทยว่า "จา พนม" และใช้ชื่อในการแสดงระดับสากลว่า โทนี่ จา (Tony Jaa) เขาเป็นนักแสดงภาพยนตร์แอ็คชัน ผู้ศึกษาศิลปะการต่อสู้ทั้งศาสตร์ตะวันตกและตะวันออก ชำนาญในศิลปะการต่อสู้, การใช้อาวุธ, กีฬา และการออกกำลังกายหลากหลายศาสตร์

ทัชชกร ยีรัมย์
สารนิเทศภูมิหลัง
ชื่อเกิดทัชชกร ยีรัมย์
ชื่ออื่นจา พนม, โทนี่ จา
เกิด5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 (48 ปี)
สุรินทร์ ประเทศไทย
คู่สมรสปิยรัตน์ โชติวัฒนานนท์ (2554–ปัจจุบัน)
บุตร2 คน
อาชีพ
  • นักแสดง
  • สตันท์แมน
  • นักร้อง
  • ผู้บริหาร
  • ผู้กำกับภาพยนตร์ ปรมาจารย์ต้นแบบ Muay Thai
ปีที่แสดงพ.ศ. 2535–ปัจจุบัน
ผลงานเด่นบุญทิ้ง - องค์บาก (2546)
ขาม - ต้มยำกุ้ง (2548)
เทียน - องค์บาก 2-3 (2551/2553)
ขาม - ต้มยำกุ้ง 2 (2556)
เกียรติ - เร็ว..แรงทะลุนรก 7 (2558)
โทนี่ - คู่ซัดอันตราย (2558)
ชัย - โหดซัดโหด (2558)
ทาลอน - ทริปเปิ้ลเอ็กซ์ ทลายแผนยึดโลก (2560)
ตั๊ก - เดือด ซัด ดิบ (2560)
พายุ - ทริปเปิล เธรท สามโหดมหากาฬ (2562)
ฮันเตอร์ - มอนสเตอร์ฮันเตอร์ (2563)
สังกัดสหมงคลฟิล์ม (2546–2558)
รางวัล
สุพรรณหงส์รางวัลสุพรรณหงส์เกียรติยศ
พ.ศ. 2548 - ต้มยำกุ้ง

ภาพยนตร์เรื่องสำคัญเรื่องแรกที่เขาแสดงนำคือ องค์บาก ซึ่งได้รับการชื่นชมและสนใจจากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับวงการศิลปะการต่อสู้และภาพยนตร์ด้านต่าง ๆ ในประเทศไทยและระดับโลกอย่างมาก[4][5] และเป็นต้นแบบของ MUAYTHAI อีกด้วย นับเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกในชีวิตของเขาที่ประสบความสำเร็จในวงการภาพยนตร์แอ็คชันระดับโลก ซึ่งต่อมาภาพยนตร์ ต้มยำกุ้ง ก็ได้ประสบความสำเร็จในระดับโลกสูง และได้รับการตอบรับจากทั่วโลกเช่นเดียวกับองค์บาก[6][7] ทำให้เขาได้รับรางวัลจากภาพยนตร์และศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการต่อสู้มากมาย

ต่อมาได้เป็นผู้ก่อตั้งบริษัทไอยราฟิล์ม บริษัทผลิตและจัดจำหน่ายภาพยนตร์และได้เป็นผู้กำกับภาพยนตร์แนวแอ็คชันหลายเรื่อง

ปัจจุบันสมรสกับ ปิยรัตน์ โชติวัฒนานนท์ ซึ่งเป็นบุตรสาวเจ้าของธุรกิจโรงแรมที่จังหวัดระยอง เมื่อ พ.ศ. 2554 และมีบุตรด้วยกัน 2 คน[8][9]

ประวัติ แก้

ครอบครัว แก้

ทัชชกร ยีรัมย์ มีบิดาชื่อ ทองดี ยีรัมย์ มารดาชื่อ รินทร์ ทรายเพชร [10] โดยมารดาเป็นชาวอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ ย้ายถิ่นฐานมากับครอบครัวโดย สงค์ ทรายเพชร ในยุคบุกเบิกนิคม มาอยู่ติดชายแดนเขมร คือ อำเภอพนมดงรักปัจจุบัน และวันหนึ่ง ทองดี ยีรัมย์ เดิมเป็นชาวอำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นหัวหน้าทีมค้าขายไม้ ได้พาคณะช้างเดินทางขนไม้ จากฝั่งเขมรข้ามมายังไทย ฝ่ายหมู่บ้านโคกสูง จึงพบกับ รินทร์ ทรายเพชร ทั้งคู่ได้รักกัน แล้วแต่งงานกันโดยลงหลักปักฐานที่บ้านโคกสูง จังหวัดสุรินทร์ และมีลูกด้วยกันทั้งหมด 4 คน เป็นชายสองคนและหญิงสองคน

ทัชชกร ยีรัมย์ เป็นบุตรคนที่สามในบรรดาพี่น้องสี่คน มีชื่อพี่น้อง ดังนี้

  1. ทวีศักดิ์ ยีรัมย์ (ชาย)
  2. หัทยา ยีรัมย์ (หญิง)
  3. ทัชชกร ยีรัมย์ (ชาย)
  4. ชรินทร์ทิพย์ ยีรัมย์ (หญิง)

ระยะหลังได้มีความขัดแย้งเกิดขึ้นระหว่างนายทัชชกรกับพี่น้องคนอื่น ๆ [โปรดขยายความ] จนถึงขั้นพี่น้องประกาศตัดพี่ตัดน้องกับนายทัชชกร[11]

การศึกษา แก้

ชีวิตวัยเด็ก แก้

ทัชชกร ยีรัมย์ เกิดมาในครอบครัวชนบทที่ยากจน ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากชาวกูยโบราณ ชนเผ่าซึ่งเคร่งครัดในศาสนาพุทธ[13] ครอบครัวประกอบอาชีพหลายอย่างทั้งทำนา เลี้ยงช้าง, ปลูกผัก[14] ตามวัฒนธรรมของชาวกูย เขามีพรสวรรค์ทางด้าน กระโดดสูง, กระโดดไกล และการสปริงข้อเท้ามาตั้งแต่เกิด ในวัยเด็กเขาชอบดูภาพยนตร์กลางแปลง มีความชื่นชอบการแสดงของเฉินหลง, เจ็ท ลี และพันนา ฤทธิไกร[15] ทัชชกรมีความใฝ่ฝันที่จะได้แสดงภาพยนตร์แอ็คชัน รักในการสร้างภาพยนตร์และพากย์ภาพยนตร์มาตั้งแต่เด็ก

เขาได้เริ่มฝึกศิลปะการต่อสู้ด้วยตนเองตั้งแต่อายุ 10 ขวบ [16] โดยชอบและสังเกตศิลปะการต่อสู้ของเจ็ทลี เฉินหลง และบรูซ ลี และนำมาปฏิบัติตาม[15] ในวัยเด็กนั้นทัชชกรก็เช่นเดียวกับเด็กผู้ชายชนบททั่วไป ที่มีความซุกซน เขาชอบเล่นศิลปะการต่อสู้กับเพื่อน ๆ และชอบที่จะเป็นหัวหน้ากลุ่ม จนทำให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณนั้นได้ตั้งสมญานามให้เขาว่า "จ่า" ซึ่งแปลว่าหัวหน้าทีมและคนเลี้ยงช้าง และเรียกแทนชื่อจริงของเขาเสมอ ซึ่งต่อมาจากคำว่าจ่าก็เพี้ยนมากลายเป็น "จา" นับตั้งแต่วันนั้นเขาจึงได้ชื่อเล่นว่า จา จนทุกวันนี้

เด็กชายทัชชกรมีความสนใจในศิลปะการต่อสู้อย่างมากและมักจะออกไปฝึกฝนศิลปะการต่อสู้ตามป่า กลางทุ่ง ลำธาร เขาชื่นชอบที่จะออกไปฝึกฝนศิลปะการต่อสู้เวลากลางคืน หากคืนไหนเป็นคืนเดือนเพ็ญเขาจะชอบฝึกเป็นพิเศษ และด้วยเหตุที่วรวิทย์เกิดในจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นจังหวัดที่ผู้คนมีอาชีพเลี้ยงช้างเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นเขาจึงมีความรัก ความผูกพันกับช้างมาตั้งแต่เกิด เขาจึงชอบฝึกศิลปะการต่อสู้บนหลังช้าง บางครั้งเขาก็ฝึกหนักจนลืมทานข้าวและไม่กลับบ้าน และด้วยความที่เขามีพรสวรรค์ทางด้านสปริงข้อเท้า จึงทำให้เขาสนใจที่จะฝึกฝนทักษะและเล่นกรีฑาและกีฬาหลากหลายประเภท

ชีวิตในกองถ่ายภาพยนตร์ แก้

เมื่อเรียนจบมัธยมศึกษาปีที่ 3 เขาได้แรงบันดาลใจจากภาพยนตร์เรื่อง เกิดมาลุย ที่แสดงโดยพันนา ฤทธิไกร (ครูสอนศิลปะการต่อสู้, นักแสดง และผู้กำกับภาพยนตร์) เขาได้ขอร้องให้พ่อพาไปหาพันนาที่จังหวัดขอนแก่น เพื่อจะขอให้พันนารับเขาไว้เป็นนักแสดงแอ็กชั่น ขณะนั้นพันนากำลังอยู่ในระหว่างการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง ปีนเกลียว ภาค 1 ครั้งแรกที่พันนาเห็นเขา คิดว่าทัชชกรนั้นยังอายุน้อยเกินไปที่จะเรียนศิลปะการต่อสู้อย่างจริงจัง จึงขอให้ทัชชกรกลับไปศึกษาให้จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก่อน แต่ยังอนุญาตให้ทัชชกรมาฝึกประสบการณ์ในกองถ่ายภาพยนตร์ได้ช่วงปิดภาคเรียน[17]

เมื่อถึงช่วงที่โรงเรียนปิดภาคเรียนหรือช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ ทัชชกรมักเดินทางมาขอนแก่นเพื่อฝึกซ้อมศิลปะการต่อสู้ สตันท์ กับสตันท์แมนในกองถ่ายภาพยนตร์ แต่วรวิทย์กลับไม่ได้รับความคาดหวังจากพันนามากนัก และบางครั้งเมื่อมีโอกาสดีที่พอจะได้พบกับพันนาเป็นเวลานาน ๆ ทัชชกรก็มักฝึกซ้อมศิลปะการต่อสู้กับพันนาเสมอ ซึ่งพันนาก็ได้ยอมรับในความสามารถของเขา และได้ดูแลเปลี่ยนบุคลิกใหม่ให้เขาดูดีขึ้น ดังนั้นเขาจึงให้ความนับถือพันนาและปฏิบัติตามทุกอย่างที่พันนากล่าวหรือขอร้องให้เขาปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ [17]

ต่อมาเขาได้เริ่มเข้าวงการครั้งแรกเมื่ออายุ 14 ปี [18] โดยเป็นคนเสิร์ฟน้ำ, ตัวประกอบ, ยกของ, ทำอาหาร ฯลฯ ในกองถ่ายภาพยนตร์พร้อม ๆ กับฝึกฝนศิลปะการต่อสู้กับสตันท์แมน และในเวลาต่อมาเขาได้เรียนวิชามวยไทยโบราณและมวยกังฟูหวิงชุนของจีนจากรัฐพล ผู้ซึ่งเป็นอาจารย์คนแรกของทัชชกร จากจังหวัดสุรินทร์ และได้ร่วมงานกับพันนา ฤทธิไกร ซึ่งเป็นอาจารย์สอนศิลปะการต่อสู้คนสำคัญของเขา[19]

การเปลี่ยนผันทางบทบาทการแสดง แก้

พ.ศ. 2540 เกิดปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ ส่งผลกระทบต่อวงการภาพยนตร์ด้านต่าง ๆ ซึ่งทำให้เขาต้องพักการเรียนและเริ่มทำแนวคิดภาพยนตร์เรื่อง คนสารพัดพิษ ร่วมกับพันนา เพื่อนำเสนอขอทุนจากปรัชญา ปิ่นแก้ว โดยทัชชกรรับบทบาทเป็นนักแสดงนำ ซึ่งเขาได้ฝึกฝนจากการจดจำศิลปะการต่อสู้ของนักแสดงภาพยนตร์ที่เขาชื่นชอบมาใช้เป็นมาตรฐานขั้นต่ำ รวมถึงฝึกฝนเพิ่มเติมจากอาจารย์สอนศิลปะการต่อสู้หลายคน และร่วมกันระดมทุนและนักแสดงรอบข้างมาเป็นส่วนร่วมในภาพยนตร์เรื่องนี้ แต่เมื่อถ่ายทำเสร็จฟิล์มภาพยนตร์กลับเสียหายทั้งหมด ทั้งคู่จึงต้องร่วมระดมทุนสร้างภาพยนตร์เรื่องเดิมขึ้นมาใหม่อีกครั้ง จึงประสบความสำเร็จ ทั้งคู่จึงนำแนวคิดภาพยนตร์ดังกล่าวเสนอต่อปรัชญา ปิ่นแก้ว และได้ถูกถ่ายทำออกมาเป็นภาพยนตร์เรื่ององค์บากในที่สุด

ประสบความสำเร็จในอาชีพ แก้

 
งานแถลงข่าวภาพยนตร์เรื่อง ต้มยำกุ้ง

พ.ศ. 2546 ผลงานเรื่องแรกที่ประสบความสำเร็จคือภาพยนตร์เรื่อง องค์บาก ซึ่งทำรายได้เฉพาะในประเทศไทย 200 ล้านบาท[20] ติดบ็อกซ์ออฟฟิซ อันดับ 1 หลายประเทศในทวีปเอเชีย, ทวีปอเมริกา, และทวีปยุโรป รวมถึงบ็อกซ์ออฟฟิซฮอลลีวูด ทำให้เขาได้รับความสนใจจากบริษัทโกลเด้นฮาร์เวสท์ ซึ่งเป็นบริษัทที่สร้างให้บรูซ ลีมีชื่อเสียง ได้ทาบทามให้มาร่วมงานด้วย[5] ส่งผลให้เขากลายเป็นนักแสดงไทยที่ประสบความสำเร็จ ได้รับรางวัล และมีอิทธิพลด้านต่าง ๆ ในวงการแสดงระดับโลก

พ.ศ. 2548 ภาพยนตร์เรื่อง ต้มยำกุ้ง ก็สามารถติดบ็อกซ์ออฟฟิซฮอลลีวูด อันดับ 4[21] ทำรายได้รวมทั่วโลกสูงถึง 1,000 ล้านบาท[7]

ชีวิตส่วนตัว แก้

พ.ศ. 2553 ทัชชกรสมรสกับ ปิยรัตน์ โชติวัฒนานนท์ ซึ่งทำธุรกิจโรงแรม ชื่อ ดาร์กอน ในจังหวัดระยอง ที่โรงแรมของฝ่ายหญิง หลังจากคบดูใจกันมา 3 ปี ต่อมา พ.ศ. 2555 ทั้งคู่ได้จัดงานฉลองมงคลสมรสที่หอประชุมกองทัพเรือ เขตบางกอกน้อย โดยมี สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ ประธานบริษัท สหมงคลฟิล์ม จำกัด เป็นประธานในพิธี[22] และมีลูกด้วยกัน 2 คน คือน้องจอมขวัญ หทัยปวีต์ ยีรัมย์ เกิดเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2555 และน้องเรือนแก้ว นริทรรัฐ ยีรัมย์ เกิดเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2558 [23]

กีฬา แก้

 
แสดงที่นิวยอร์ก

ด้วยความที่ทัชชกรมีกล้ามเนื้อขาและข้อเท้าที่แข็งแรงและยืดหยุ่นได้ดีกว่าคนปกติมาตั้งแต่กำเนิดสทำให้เขามีความสนใจด้านกีฬาและกรีฑา หลากหลายชนิด เมื่อสมัยยังศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา เขาก็ได้เป็นนักกีฬาและกรีฑา ที่มีความสามารถเล่นได้หลากหลายประเภท และมีผลงานโดดเด่นเสมอมา จนได้รับการแต่งตั้งเป็นนักกีฬาดีเด่นของโรงเรียนและเป็นประธานชมรมกระบี่กระบองในขณะเดียวกัน ความสามารถด้านกรีฑา เช่น กระโดดสูง, กระโดดไกล, ยิมนาสติก ฯลฯ ด้านกีฬาประเภทอาวุธ เช่น กระบี่กระบอง และกีฬาประเภททีมเช่นตะกร้อด้วย ซึ่งได้รับเหรียญทองทั้งกรีฑาและกีฬาทุกประเภททุกปีที่ลงแข่งขัน[24] จนได้โควตาไปเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา ซึ่งเขาได้เข้าเรียนต่อด้านกีฬาที่สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม ตามคำแนะนำของพันนา ฤทธิไกร[5] และได้เป็นนักกีฬาจังหวัดสุรินทร์[25]และถูกแต่งตั้งให้เป็นประธานชมรมกระบี่กระบองอีกครั้งหนึ่ง[26] ทำให้ได้รู้จักกับ ชูพงษ์ ช่างปรุง นักศึกษาที่เรียนอยู่ชมรมเดียวกัน โดยทั้งคู่ได้ร่วมกันก่อตั้งทีมสตันท์รับงานตามสถานที่ต่าง ๆ[27]

ผลงานระหว่างที่เป็นประธานชมรมกระบี่กระบอง
  • นักกีฬาเหรียญทอง จังหวัดสุรินทร์ ประเภท กรีฑา
  • นักกีฬาเหรียญทองทุกปี จากสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม
  • วิทยากรสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม เผยแพร่ศิลปะป้องกันตัว ที่โรงเรียนมัธยมต่าง ๆ ในประเทศไทย
  • ตัวแทนสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม เผยแพร่ศิลปการต่อสู้ของไทย ในภาคอีสาน
  • ตัวแทนสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และเผยแพร่ศิลปะการต่อสู้ (กระบี่กระบอง) ที่ประเทศจีน[28]

ส่วนร่วมในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬา แก้

พ.ศ. 2552

ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จุดคบเพลิงในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬา เอเชี่ยนมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์ ครั้งที่ 1 โดยทัชชกรรับบทเป็น "หนุมานยินดี" (ซึ่งเป็นสัญลักษณ์เทพกึ่งสัตว์ประจำการแข่งขันฯ) จุดคบเพลิงในพิธีเปิดแบบพื้นฐาน โดยเขาได้แสดงศิลปะการต่อสู้แบบหนุมานและแสดงศิลปะการควงกระบองไฟ ถวายต่อพระพักตร์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ และ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ[29]

พ.ศ. 2553

ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้จุดคบเพลิงในพิธีเปิด เมืองช้างเกมส์ ครั้งที่ 31 ที่จังหวัดสุรินทร์ โดยแสดงเป็นองค์อัมรินทร์ (พระอินทร์) ประทับช้างเอราวัณ มีผู้แสดงเป็นเทพธิดา 95 องค์ และเทวดา 9 องค์เสด็จตาม [30]

พ.ศ. 2555

ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้จุดคบเพลิงในพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 41 ที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยแสดงเป็นนักโยนไฟที่สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี

ตัวแสดงแทน แก้

ระหว่างที่เขาศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา ในช่วงที่โรงเรียนปิดภาคเรียน พนมได้เข้าไปประกอบอาชีพเสริมและหาประสบการณ์ในกองถ่ายภาพยนตร์ และได้เริ่มแสดงเป็นตัวประกอบและตัวแสดงแทนในภาพยนตร์เรื่องต่าง ๆ ดังนี้ :

  • สิงห์สยาม - ขณะกำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่เขาได้แสดงครั้งแรกในชีวิตโดยแสดงเป็นตัวประกอบ ซึ่งเป็นฉากที่ต้องตีลังกาผ่านฉากอย่างรวดเร็ว โดยไม่ให้เห็นใบหน้า
  • กวนโอ๊ย - ขณะที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เช่นกัน โดยแสดงเป็นตัวประกอบในฉากที่ต้องกระโดดตีลังกายิมนาสติกซิกแซก โดยแสดงร่วมกับหม่ำ จ๊กมก, พันนา ฤทธิไกร และ ธงชัย ประสงค์สันติ ซึ่งขณะนั้นได้ศึกษาอยู่ที่โรงเรียนเดียวกัน หลังจากนั้นก็มีภาพยนตร์ต่าง ๆ ติดต่อเข้ามาให้ไปเป็นตัวแสดงแทนอยู่เป็นประจำ
  • Mortal Kombat 2 : Annihilation - ขณะที่เขากำลังศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่วิทยาลัยพลศึกษา จังหวัดมหาสารคาม ในช่วงปิดภาคเรียน เขาก็ได้ออกไปหาประสบการณ์ หารายได้ในกองถ่ายภาพยนตร์เช่นเคย ช่วงนั้นได้มีภาพยนตร์ต่างประเทศเรื่องหนึ่ง เข้ามาถ่ายทำที่ประเทศไทย คือเรื่อง Mortal Kombat 2 : Annihilation พันนาจึงได้พาเขาไปคัดตัวให้เป็นตัวแสดงแทน Robin Shou ในภาพยนตร์เรื่องนี้ โดยมีผู้มาสมัครเป็นตัวแสดงแทน 100 คน เขาได้แสดงท่าเตะให้ผู้กำกับหนังเรื่องนี้ชม จึงได้ถูกเลือกให้มาเป็นตัวแสดงแทน โรบิน ชู ในที่สุด
  • อินทรีแดง – ต่อมาในขณะที่เขากำลังศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษา เขาก็ได้แสดงเป็นตัวแสดงแทนเจมส์ เรืองศักดิ์ โดยแสดงเป็นอินทรีแดง แสดงในฉากตีลังกาต่าง ๆ[25]

ด้วยความที่เขาต้องทำงานในกองถ่าย แสดงภาพยนตร์ เป็นตัวแสดงแทน ฝึกซ้อมศิลปะการต่อสู้ จึงทำให้เขามีปัญหาด้านการเรียนและต้องหยุดเรียนบ่อยขึ้น ทั้งยังเห็นว่า วิชาด้านกีฬาที่เขากำลังศึกษาอยู่ไม่ตรงกับอาชีพของตนเองในอนาคต เขาจึงตัดสินใจลาออกจากวิทยาลัยขณะที่กำลังศึกษาปีที่ 3 หลังจากที่เขาลาออกจากวิทยาลัย เขากับพันนาจึงได้เริ่มดำเนินตามแผนงานที่วางเอาไว้ คือสร้างภาพยนตร์เรื่ององค์บาก อย่างจริงจัง ซึ่งทัชชกรได้รวบรวมหนังของเจ็ทลี, บรูซ ลี และเฉินหลงทุกเรื่องมาดู โดยยึดนักแสดงทั้ง 3 คน เป็นเกณฑ์พื้นฐานในการฝึก และจึงฝึกตาม ซึ่งเขาได้นำเอกลักษณ์ในการต่อสู้ของทั้ง 3 คนมาผสมรวมกัน และผสมผสานเอกลักษณ์ของตนลงไป เขาต้องเข้าฝึกซ้อมทุกวัน วันละ 8 ชั่วโมง เป็นเวลา 2 ปี[31]

ศิลปะการต่อสู้ แก้

ทัชชกร ยีรัมย์ มีทักษะทางศิลปะการต่อสู้และการใช้อาวุธหลายประเภท ดังนี้

ประเภทศิลปะการต่อสู้

มวยไทย-คาดเชือก, มวยคชสาร, เทควันโด, วิชาหมัดเมา (ทั้งแบบไทย, แบบจีน และแบบผสม), กังฟู (ทั้งแบบเส้าหลิน และแบบหวิงชุน), ไอคิโด้ , ยูโด, คาราเต้ ,คาโปเอร่า, ศิลปะการต่อสู้แบบผสม (MMA), BJJ

อาวุธ

กระบองสามท่อน, กระบองสองท่อน, โซ่, ดาบซามูไร, ดาบไทย, เชือกลูกดอก, กระบี่จีน, กระบี่-กระบอง, พลอง, ไม้ศอก

รูปแบบศิลปะการต่อสู้ แก้

พนม ยีรัมย์ มีรูปแบบในการต่อสู้ที่หลากหลาย สำหรับรูปแบบในการต่อสู้ของเขาโดยภาพรวมมี 4 รูปแบบ ดังนี้

  1. แบบต่อสู้ตามต้นฉบับของศิลปะการต่อสู้ชนิดต่าง ๆ
  2. แบบผสมผสานดึงเอาจากศาสตร์หนึ่งมาผสมกับอีกศาสตร์หนึ่ง เช่น นำศิลปะการต่อสู้แบบวิชาหมัดเมาของจีนมาผสมกับมวยไทย
  3. แบบประยุกต์ คือนำต้นฉบับมาดัดแปลงอีกครั้งหนึ่ง เช่น ประยุกต์รูปแบบ Free running และ Parkour มาเป็นศิลปะการต่อสู้, นำทักษะจากกีฬาตะกร้อมาประยุกต์เป็นท่าเตะในเรื่องต้มยำกุ้ง
  4. แบบคิดค้นขึ้นเองทั้งหมด เช่น คิดค้นนาฏยุทธ์

ถึงเขาจะมีรูปแบบในการต่อสู้ที่หลากหลาย แต่เขาก็เป็นที่รู้จักของคนทั่วโลกจากการเป็นนักแสดงแอ็กชั่นที่มีความสามารถสูงในศิลปะการต่อสู้แบบมวยไทย[32]

ศิลปะการต่อสู้ที่คิดค้นขึ้น แก้

ด้วยความที่พนมมีความสามารถประยุกต์การเคลื่อนไหวร่างกายแบบต่าง ๆ มาผสานเป็นศิลปะการต่อสู้ จึงทำให้เขาเป็นผู้ให้กำเนิดศิลปะการต่อสู้รูปแบบใหม่ ขึ้นมากมาย แต่มีเพียงศิลปะการต่อสู้รูปแบบเดียวเท่านั้นที่เขาใช้เป็นศิลปะการต่อสู้เอกลักษณ์ของเขา ด้วยความที่เขาชื่นชอบวรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์ จึงเป็นแรงบันดาลใจให้เขาคิดค้นศิลปะการต่อสู้รูปแบบใหม่ขึ้น จากภาพยนตร์เรื่ององค์บาก 2 เขาได้คิดค้นศิลปะการต่อสู้ที่เรียกว่า นาฎยุทธ์ รูปแบบการต่อสู้ที่ถูกคิดค้นและผสมผสานจากนาฏศิลป์ไทย ลีลาแห่งศิลปะชั้นสูงอย่างโขน เช่น ตัวยักษ์, ลิง,(ตัวละครที่เขาชอบมากที่สุดคือ หนุมาน) พระ ฯลฯ มาผนวกรวมเข้ากับศิลปะการเต้นเบรกแดนซ์ และศิลปะการต่อสู้รูปแบบต่างๆ จนเกิดเป็นรูปแบบการต่อสู้ที่เชื่อว่ายังไม่เคยปรากฏขึ้นมาก่อน

{{คำพูด|ด้วยความที่ชอบฮิปฮอป เลยดึงมาประสานเป็น "นาฏยุทธ์" ตีความใหม่เรื่องการแสดงเหมือนการเต้นไปตามจังหวะเพลง จะเต้นยังไงให้รู้สึกอินตามไปกับเพลง "นาฏยุทธ์" ก็เป็นศาสตร์เดียวกัน เพียงแต่ว่าจะตีโจทย์ยังไงให้รู้สึกว่าท่าแอ็คชั่นในหนังดูแข็งแรงและกล้าแกร่ง พร้อมแทรกท่าพระช่วงไหน ใช้ท่าลิงตอนไหน ใช้ท่ายักษ์ระห่ำเวลาไหน ซึ่งตรงนี้ก็ต้องมีเรียนการแสดงเพิ่มเติมด้วย

คดีความ แก้

ปัญหาการชำระเงินกู้ค่าทำภาพยนตร์เรื่อง องค์บาก 2 แก้

วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 พนม ยีรัมย์ ผู้เป็นจำเลยได้ลงลายมือทำสัญญากู้ยืมเงินเพื่อใช้ในการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวแก่โจทก์ คือ อุน ฮี ปาร์ค นักธุรกิจชาวเกาหลีใต้ จำนวน 1 ล้านบาท ซึ่งเบื้องต้นโจทก์ได้โอนเงินจากธนาคารเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลย และจำเลยได้ทำสัญญาว่าจะชำระหนี้ทันทีหลังจากที่ภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวถ่ายทำเสร็จและออกฉายแล้ว แต่หลังจากภาพยนตร์ดังกล่าวออกฉายจำเลยก็ไม่ได้ชดใช้เงินกู้จำนวนดังกล่าว โจทก์จึงนำคดีขึ้นฟ้องศาลให้พิพากษาและให้จำเลยคืนเงินต้นที่กู้ยืมไป พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 แก่โจทก์

เมื่อถึงวันที่ศาลกำหนดนัด แต่จำเลยไม่ได้เดินทางมาศาลแต่มอบอำนาจให้ทนายความส่วนตัวแถลงว่าเขายินยอมชดใช้เงินคืนแก่โจทก์จำนวน 5 แสนบาท ซึ่งโจทก์ก็ได้ยอมความและยื่นคำร้องขอถอนฟ้องแก่ศาล ศาลจึงมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบ[33]

ปัญหาสัญญากับบริษัทสหมงคลฟิล์ม แก้

ในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558 ศาลแพ่งมีคำสั่งคุ้มครองบริษัท สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ให้ระงับการฉายภาพยนตร์เรื่องเร็ว..แรงทะลุนรก 7 ชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา ในคดีที่สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ (เสี่ยเจียง) ประธานสหมงคลกรุ๊ป ผู้ประกอบธุรกิจภาพยนตร์บริษัทสหมงคลฟิล์ม เป็นโจทก์ยื่นฟ้องพนม ยีรัมย์ (tony jaa), บริษัทยูนิเวอร์แซล พิคเจอร์ส (บริษัทผู้สร้างภาพยนตร์) และบริษัทยูไนเต็ด อินเตอร์เนชั่นแนล พิคเจอร์ส (ฟาร์อีสต์) จำกัด หรือยูไอพี ประเทศไทย (บริษัทจัดจำหน่ายภาพยนตร์) เป็นจำเลยที่ 1-3 เรื่องละเมิดผิดสัญญา พร้อมเรียกค่าเสียหาย 1,600 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี โดยคำสั่งนี้มีผลภายในประเทศเท่านั้น[34][35][36] แต่ต่อมาวันที่ 30 มีนาคม ทีมทนายของจำเลยที่ 1-3 ได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งระงับฉายภาพยนตร์ดังกล่าว และศาลแพ่งก็ได้ยกเลิกคำสั่งนั้น โดยที่ทางสหมงคลฟิล์มได้คัดค้านคำอุทธรณ์ดังกล่าวแต่ไม่เป็นผล เนื่องจากศาลมีความเห็นว่ากระทบกับสิทธิของผู้อื่น ทำให้ยูไอพีสามารถจัดฉายภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ตามกำหนดการเดิมคือวันที่ 1 เมษายน 2558 แต่การฟ้องเรียกค่าเสียหายนั้นยังคงอยู่[37][38] ต่อมาในเดือนกรกฎาคม 2558 เสี่ยเจียงได้ตัดสินใจถอนฟ้องแพ่งนายพนมทั้งหมด และกล่าวว่าจากนี้ไปต่างคนต่างเดิน[39][40]

ความสำเร็จในระดับโลก แก้

พ.ศ. 2546
  • เว็บไซต์ www.kungfucinema.com เว็บไซต์เกี่ยวกับภาพยนตร์แอ็กชั่นและการต่อสู้ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเว็บหนึ่งของโลก ได้มีการจัดมอบรางวัล KUNGFUCINEMA AWARD โดยองค์บากได้รับ 2 รางวัล จากการเสนอชื่อ 3 รางวัล ทัชชกรได้รับรางวัลนักแสดงนำฝ่ายชายที่เน้นการต่อสู้ยอดเยี่ยม และพันนาได้รับรางวัลออกแบบฉากแอ็กชั่นและการต่อสู้ยอดเยี่ยม(ชนะเฉินหลง, ทอมครูซ, เจ็ท ลี, เคียนู รีฟส์, หยวนหูผิง, และดอนนี่ เยน[41]
พ.ศ. 2548
  • ได้รับการจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 200 ดาราหน้าใหม่ที่น่าจับตามองที่สุดในโลก ประจำปี 2548 โดยเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ วีกลี่ (Entertainment Weekly) ซึ่งดาราเอเชียติดอันดับเพียง 2 คนเท่านั้นคือ โทนี่ จาและจางอื้อยี่
  • เว็บไซต์ www.positioningmag.com จัดอันดับให้ทัชชกร ยีรัมย์ ในชื่อของ Tony jaa เป็นนักแสดงแอ๊กชั่นยอดเยี่ยมอันดับ 1 ของโลก [42]
  • พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง มาดามทุซโซต์ กรุงเทพฯ ได้จัดสร้างห้องแสดงหุ่นขี้ผึ้งในแผนกศิลปะการต่อสู้ ชื่อ IN ON THE ACTION: Martial arts heroes Bruce Lee, above, and Tony Jaa โดยได้สร้างหุ่นขี้ผึ้งขนาดเท่าตัวจริงของ โทนี่ จาและบรูซ ลี ตั้งไว้ในห้องเดียวกัน (เนื่องจากทั้งคู่เคยถูกทาบทามให้เป็นนักแสดงจากสังกัดค่ายภาพยนตร์เดียวกัน) ภายในห้องจัดฉากเป็นฉากการต่อสู้ที่ปรากฏในภาพยนตร์ของทั้งสองคน [43] และพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้ง Louis Tussaud’s Waxworks พัทยา ที่รวบรวมและจัดแสดงหุ่นขี้ผึ้งของนักแสดงที่มีชื่อเสียงระดับโลกก็ได้จัดสร้างหุ่นขี้ผึ้งขนาดเท่าตัวจริงของ Tony jaa นั่งอยู่บนช้าง
  • หลังจากที่ภาพยนตร์เรื่ององค์บาก ประสบความสำเร็จจนถึงขีดสุดในระดับโลก คำว่าองค์บาก จึงกลายเป็นศัพท์สแลงในหมู่วัยรุ่นทั่วโลกที่แปลว่า กล้าหาญ และบ้าบิ่น[44]
  • ได้รับการคัดเลือกให้เป็น 1 ในนักแสดงผู้มีอิทธิพลสูงสุดในเอเชีย (Asia's Most Popularity Entertainer People of The Year 2008) จากนักวิจารณ์และนักแสดงทั่วโลก [45]
  • ได้รับการคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 300 ดาราดังในเอเชีย มาถ่ายแบบเปลือย เพื่อนำรายได้จากการเข้าชมนิทรรศการดังกล่าวช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิที่ประเทศฮ่องกง[46]
พ.ศ. 2551
  • ทัชชกร ยีรัมย์ ในชื่อ Tony jaa ถ่ายแบบและถ่ายทอดประวัติชีวิตลงในนิตยสาร GQ นิตยสารสหรัฐอเมริกา ที่ว่าด้วยเรื่องราวประวัติชีวิตของผู้ชายที่มหัศจรรย์ระดับโลก ฉบับเดือนเมษายน ค.ศ. 2008[47]
พ.ศ. 2552
  • ทัชชกร ยีรัมย์ ได้รับการเชิดชูเกียรติให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก ลงในทำเนียบ "คนไทยที่โลกยกย่อง" ประกาศเกียรติคุณโดยเว็บไซต์ สารานุกรมทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (kc.hri.tu.ac.th)
  • ภาพยนตร์ในการแสดงนำหลายเรื่องของเขาได้ถูกจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 10 อันดับภาพยนตร์ไทยที่ผู้ชมทั่วโลกชื่นชอบมากที่สุดในทศวรรษ เช่นเรื่อง องค์บาก และต้มยำกุ้ง จากผลการจัดอันดับโดยเว็บไซต์ www.toptenthailand.com ในหัวข้อ 10 อันดับหนังไทยที่คนชื่นชอบมากที่สุดในทศวรรษ
พ.ศ. 2553
  • ทัชชกร ยีรัมย์ ได้รับการจัดอันดับให้เป็นนักแสดงภาพยนตร์แอ๊กชันอันดับ 1 ระดับตำนาน จากผลการสำรวจผู้ชมภาพยนตร์แนวแอ๊กชันทั่วโลก ของเว็บไซต์ www.deknang.com และเว็บไซต์ www.openmm.com เว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับภาพยนตร์ทุกประเภทจากทั่วโลก[48][49]
พ.ศ. 2556
  • ทัชชกร ยีรัมย์ ได้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในนักแสดงของภาพยนตร์เรื่อง Fast and Furious 7 ซึ่งเป็นภาพยนตร์แข่งรถขายดีของค่ายยูนิเวอร์แซล สตูดิโอ

ผลงานการแสดง แก้

ภาพยนตร์ที่เป็นสตันท์แมน[50] แก้

ภาพยนตร์ที่แสดงเอง แก้

ปี พ.ศ. เรื่อง รับบทเป็น หมายเหตุ
2546 องค์บาก บุญทิ้ง
2547 บอดี้การ์ดหน้าเหลี่ยม นักสู้ในห้างสรรพสินค้า รับเชิญ
2548 ต้มยำกุ้ง ขาม
2550 บอดี้การ์ดหน้าเหลี่ยม 2 คนขายช้างออมสิน รับเชิญ
2551 องค์บาก 2 เทียน
2553 องค์บาก 3
2556 ต้มยำกุ้ง 2 3D ขาม
2558 เร็ว..แรงทะลุนรก 7 เกียรติ
คู่ซัดอันตราย โทนี่
โหดซัดโหด ชัย
2559 Never Back Down: No Surrender รับเชิญ
2560 ทริปเปิ้ลเอ็กซ์ ทลายแผนยึดโลก ทาลอน
เดือด ซัด ดิบ': ตั๊ก
Gong Shou Dao มาสเตอร์จา รับเชิญ
2561 ยิปมัน: ตำนานมาสเตอร์ Z Sadi the Warrior 
2562 ทริปเปิล เธรท สามโหดมหากาฬ พายุ เผยแพร่ทางเน็ตฟลิกซ์[51]
2563 มอนสเตอร์ฮันเตอร์ ฮันเตอร์
2564 Detective Chinatown 3 Jack Jaa พากย์เสียงตัวเองในบางฉากและบางบทก่อนที่ทีมพันธมิตรจะพากย์
2566 Expend4bles โคตรคนทีมมหากาฬ 4 Decha

กำกับภาพยนตร์ แก้

  • องค์บาก 2 (2551) (กำกับและแสดงนำ) (วันที่เข้าฉาย 5 ธันวาคม)
  • องค์บาก 3 (2553) (กำกับและแสดงนำ) (วันที่เข้าฉาย 5 พฤษภาคม)

ละครโทรทัศน์ แก้

เกมโชว์ แก้

ผลงานเพลง แก้

ศิลปินเดี่ยว แก้

  • พ.ศ. 2560 พนมได้ออกซิงเกิ้ลแรกในชีวิตกับค่าย แกรนด์มิวสิค ในเครือ แกรมมี่ ในชื่อเพลง ลุยเฮลุย และได้แสดงมิวสิกวิดีโอของเพลงดังกล่าว[52]

มิวสิกวิดีโอ แก้

  • เป็นพระเอกในมิวสิกวิดีโอเพลง Je Reste Ghetto ONG-BAK ให้กับวง Tragedie และเป็นเพลงเปิดตัวประจำของโทนี่ จา ในระยะเวลาหนึ่ง

ผลลัพธ์ แก้

เกม แก้

ตุ๊กตา Model แก้

  • โทนี่จาในชุดขามจากภาพยนตร์เรื่องต้มยำกุ้ง เป็นที่รู้จักอย่างมากที่สุดในตลาดต่างประเทศ [54]

บริษัท แก้

  • บริษัทไอยราฟิล์มจำกัด (IYARA FILM CO.,LTD) เป็นบริษัทผลิต-จัดจำหน่ายภาพยนตร์, โรงเรียนสอนศิลปะการต่อสู้หลายรูปแบบ และสำนักพิมพ์ในสถานที่เดียวกัน ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2549 อยู่ที่ 199, 201 ซอยลาดพร้าว 101 แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร 10240

ทีมสตั๊นท์ แก้

  • เป็นผู้ก่อตั้งทีมนักแสดงแทนด้านศิลปะการต่อสู้ในภาพยนตร์ ชื่อทีม "ไอยราสตั๊นท์" โดยทีมสตั๊นท์ส่วนหนึ่งมาจากนักแสดงแทนในภาพยนตร์เรื่องต่าง ๆ ของทัชชกร

สถาบันสอนศิลปะการต่อสู้ แก้

  • ทัชชกรร่วมกับครอบครัว ก่อตั้งสถาบันสอนศิลปะการต่อสู้แบบมวยไทยประเภทต่าง ๆ ในชื่อ "สถาบันมวย IMA" เปิดสอนหลักสูตรมวยไทยประเภทต่าง ๆ ให้แก่ชาวต่างชาติและคนไทย มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการวันที่ 28 พฤษภาคม 2554 สถานที่ตั้งอยู่ที่ อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์[55]

โฆษณา แก้

  1. พรีเซ็นเตอร์โฆษณา "ลำไยไทยช่วยชาติ" แก้ปัญหาลำไยล้นตลาด โดยโครงการของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 [56]
  2. พรีเซ็นเตอร์โฆษณา "รถมิตซูบิชิ ไทรทัน พลัส" 3 ภาค โดยได้รับค่าตัวสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในประเทศไทย ถึง 50 ล้านบาท ในวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 [57] ทำให้รถมิตซูบิชิ ไทรทัน เป็นที่นิยมในตลาดโลก[58]
  3. พรีเซ็นเตอร์โฆษณา รณรงค์วินัยจราจร จังหวัดสุรินทร์ ในโครงการของ พ.ต.ท.นิรันดร์ คู่พิทักษ์ ผกก. (ป.) สภ.ปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552[59]
  4. ได้รับการแต่งตั้งจากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และสถาบันการพลศึกษา (ประเทศไทย) ให้เป็นพรีเซ็นเตอร์ "หลักสูตรมาตรฐานศิลปะมวยไทย 9 ขั้น ของสถาบันการพลศึกษาสู่เวทีโลก" โดยมีหลายประเทศจากทั่วโลกให้ความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรม
  5. พรีเซ็นเตอร์โฆษณาบัตรเครดิต DBS Compass Visa ของฮ่องกง พ.ศ. 2559[60]
หนังสือ

รางวัลและการเชิดชูเกียรติ แก้

รางวัลและการเชิดชูเกียรติที่พนม ยีรัมย์ ได้รับจากการแสดงภาพยนตร์ และศิลปะมวยไทย

พ.ศ. ชื่อรางวัล คำอธิบาย อ้างอิง
2546 รางวัล KUNGFUCINEMA AWARD
  1. รางวัลนักแสดงนำฝ่ายชายที่เน้นศิลปะการต่อสู้ยอดเยี่ยม
  2. รางวัลออกแบบฉากและศิลปะการต่อสู้ยอดเยี่ยม
จากเว็บไซต์ www.kungfucinema.com [62]
รางวัลทูตวัฒนธรรมด้านภาพยนตร์ครั้งที่ 1 จัดขึ้นโดยโครงการของรัฐบาล ณ โรงแรมอิมพีเรียลควีนสปาร์ค [63]
2548 ลงหนังสือบันทึกสถิติโลกกินเนสส์สาขาสอนและโชว์มวยไทยแก่ประชาชนมากที่สุดในโลก มีผู้มาฝึก 2,000 คน ณ ฮ่องกง [64]
รางวัลสุพรรณหงส์ ครั้งที่15 รางวัลเกียรติยศแห่งปี 2548 สาขาดาราไทยที่สร้างชื่อเสียงให้ภาพยนตร์ไทยที่รู้จักทั่วโลก จาก ภาพยนตร์เรื่องต้มยำกุ้ง [65]
รางวัลดาราหน้าใหม่ที่น่าจับตามองที่สุดในโลก เอ็นเตอร์เทนเม้นท์วีกลี่ [66]
2550 รางวัล BEST ACTION ACTOR รางวัลศิลปะการต่อสู้ยอดเยี่ยมแห่งเอเชีย จากงาน MARTIAL ARTS GLOBAL CELEBRATION ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศจีน ร่วมกับเฉินหลง, เดวิดเจียง, หยวนเปียว, เจ็ทลี,ฯลฯ และแสดงศิลปะรำกังฟูบนเวทีด้วย [67]
2551 รางวัลใบโพธิ์ทองคำ (สหมงคลฟิล์ม) [68]
2552 รางวัลเพนกวินผู้กล้า The First Penguin Award บุคคลตัวอย่างมีความกล้าหาญ-สร้างสรรค์) จากรูปแบบการถ่ายทำภาพยนตร์ และความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบศิลปะการต่อสู้รูปแบบใหม่ จากเรื่ององค์บาก 2
รางวัลศิลปินมรดกอีสาน ประเภทศิลปะการแสดง สาขานักแสดง มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดขึ้นเนื่องในงานเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และวันอนุรักษ์มรดกไทย
2553 รางวัลสตั๊นท์ชายยอดเยี่ยมประเภทแข่งขัน (BEST STUNT by A STUNT MAN AWARD) จากงาน 1st THAILAND STUNT AWARDS (รางวัลสตั๊นต์แมนยอดเยี่ยม ครั้งที่ 1) นักแสดงนำที่แสดงบทเสี่ยงตายโดยไม่ใช้อุปกรณ์ช่วยความปลอดภัย จากภาพยนตร์เรื่ององค์บาก 3 [69]

หมายเหตุ แก้

  1. เขาปรากฏตัวในฐานะสตันท์แมนคู่ใจของ เจมส์-เรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์ ในรายการแสบคูณสอง เทปที่ 65 ช่วงแสบพบญาติ รอบที่ 4

อ้างอิง แก้

  1. โทนี่จา...หมัด เท้า เขย่าโลก! วันที่สืบค้น 28 กุมภาพันธ์ 2555, จาก www.positioningmag.com
  2. เสี่ยเจียง-สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ แรงดัน หนุนสร้าง พลังฮีโร่ สูตรสำเร็จ "โทนี่ จา" บนโลกเซลลูลอยด์ จาก www.pantip.com
  3. ขำกลิ้ง..ฮากระจาย..กับสาระแนสิบล้อ เก็บถาวร 2010-12-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก archive.voicetv.co.th
  4. "จา พนม ถูกจัดอันดับให้เป็นตำนานเรื่องการต่อสู้". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-14. สืบค้นเมื่อ 2010-09-14.
  5. 5.0 5.1 5.2 จา พนม ยีรัมย์ ประวัติความเป็นมาของ จา พนม ยีรัมย์
  6. จา พนม หอบต้มยำกุ้ง โกอินเตอร์ ถล่ม BOX-OFFICE ฮ่องกง ฉาย 4 วันครองแชมป์อันดับ 1 สู่ปรากฏการณ์ความสำเร็จในระดับโลก จาก www.ryt9.com
  7. 7.0 7.1 เส้นทางของ “ต้มยำกุ้ง”
  8. จา พนมเฮ! ภรรยาคลอดลูกสาว ตั้งชื่อ น้องจอมขวัญ หทัยปวี วันที่สืบค้น 1 พ.ย. 2556 จาก www.kapook.com
  9. "สุดเห่อ! จา พนม ในบทบาทคุณพ่อลูกสาวสอง". สนุก.คอม. 9 กันยายน 2558. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. thairath, (9/ กย./ 54), ข้อมูลบิดา-มารดา, เรียกข้อมูล 9/ กย. / 54, จาก : www.thairath.co.th,
  11. ""จา-พนม"ไม่ร่วมเผาพ่อ น้องเผยแม่ร่ำไห้เป็นลม". ข่าวสด. 26 สิงหาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2558. น้องสาวจา-พนม เผยอีกว่า ตอนนี้ญาติ พี่น้องทุกคนไม่คาดหวังในตัวจาอีกแล้ว จาเปลี่ยนไปมาก เฉยชาต่อญาติพี่น้องทุกคน เขาไม่สมควรใช้นามสกุลยีรัมย์ ด้วยซ้ำ ตนรับ ไม่ได้และญาติๆ ไม่มีใครรับได้ ทางญาติๆ พี่น้องอโหสิกรรมกับเขา ปล่อยแล้ว เราทำดีที่สุดแล้ว {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "ประวัติการศึกษาของทัชชกร ยีรัมย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-11. สืบค้นเมื่อ 2010-09-13.
  13. "ชาวกูย (Kui) ชาวกูย (Kui) กวย (Kuoy) ส่วย (Suay) ตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก สาขากะตูอิค". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-22. สืบค้นเมื่อ 2010-12-23.
  14. ASTV ผู้จัดการออนไลน์, (14 มีนาคม 2548), โอ้ว้าว!! "จา พนม" สร้างบ้าน 18 ล้านสนองคุณ "พ่อ-แม่" เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, วันที่สืบค้น 12/ กย. /54, จาก : manager.co.th
  15. 15.0 15.1 จา พนม (โทนี่ จา) ประวัติดารา เก็บถาวร 2022-09-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน วันที่สืบค้น 15 เม.ย. 2555 จาก www.club.zubzip.com
  16. เริ่มฝึกศิลปะการต่อสู้
  17. 17.0 17.1 jabcha,จา พนม สุดดัง กับบรรดาแฟนคลับที่ฝรั่งเศส เก็บถาวร 2016-03-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เรียกข้อมูล 8/กย./54 จาก : www.jabchai.com
  18. การเริ่มเข้าวงการครั้งแรกของ จา พนม
  19. The Stunt วันที่เรียกข้อมูล 27 เม.ย. 2555 จาก www.thaicinema.org
  20. Cover Story : Hot movies of the Year (Marketeer/ธ.ค./51) เก็บถาวร 2012-12-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน วันที่สืบค้น 19 กันยายน 2554, จาก www.marketeer.co.th
  21. “ต้มยำกุ้ง” หนังไทยเรื่องแรก ถล่ม BOX-OOFICE ฮอลลีวู้ดกระจุย ข่าวหนังไทย movie.sanook.com วันที่สืบค้น 8 ตค.54
  22. จา พนม ประกาศวิวาห์ น้องบุ้งกี๋ ทายาทโรงแรมระยอง เก็บถาวร 2013-11-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน วันที่สืบค้น 1 พ.ย. 2556. จาก www.news.voicetv.co.th
  23. ครอบครัวอันแสนอบอุ่นของ โทนี่จา
  24. ประวัติด้านดีฬา/การได้รับเหรียญทอง (1)
  25. 25.0 25.1 จา พนม ยีรัมย์[ลิงก์เสีย]วันที่สืบค้น 18 เม.ย. 2555 จาก www.esanclick.com ]
  26. Behind the Scene :บทสัมภาษณ์ เดี่ยว ชูพงษ์
  27. “จาปะทะ​เดี่ยว” ​ความมันส์​เกินพิกัดของ “องค์บาก3” กับสายสัมพันธ์กว่า 20 ปีสู่ปรากฏ​การณ์ที่สาวก​แอ็คชั่นรอคอย ข่าวบันเทิง ฮาร์วายทีไนน์ วันที่สืบค้น 8 ตค.54
  28. พนม ยีรัมย์ เก็บถาวร 2013-09-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน วันที่สืบค้น 1 พ.ย.2556 จาก www.nangdee.com
  29. จา พนม เป็นผู้จุดคบเพลิงพิธีเปิดเอเชียลฯ ครั้งที่ 1
  30. เปิดฉากเมืองช้างเกมส์ เจ้าภาพสุรินทร์คว้าเหรียญทองแรก เก็บถาวร 2020-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน วันที่สืบค้น 1 พ.ย. 2556 จาก www.dpe.go.th
  31. ระยะเวลาในการฝึกศิลปะการต่อสู้
  32. Tony Jaa - Muay Thai Master เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (อังกฤษ)
  33. เคลียร์หนี้ 5 แสนคดีจาพนมเบี้ยวเงินกู้ทำหนังยุติ เก็บถาวร 2012-04-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน วันที่สืบค้น 16 เม.ย. 2555 จาก : www.komchadluek.net
  34. 'จา พนม' ผิดสัญญา 'เสี่ยเจียง' ศาลสั่งระงับฉาย 'ฟาสต์ 7' ในไทย
  35. "ศาลแพ่งห้ามฉายฟาสต์ 7 ในไทย หลังไต่สวนฉุกเฉินเสี่ยเจียง ฟ้องเรียก 1.6 พันล้าน จา พนม-ยูนิเวอร์แซล-ยูไอพี ละเมิดผิดสัญญา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-28. สืบค้นเมื่อ 2021-08-16.
  36. "คนไทยอดดู Fast 7 พร้อมทั่วโลก!? "เสี่ยเจียง" ฟ้อง "จา" ศาลสั่งระงับฉายหนังชั่วคราว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-20. สืบค้นเมื่อ 2015-04-20.
  37. เมเจอร์ฯ คอนเฟิร์ม! Fast & Furious 7 ฉายแน่ 1 เมษายนนี้!
  38. "แฟน Fast and furious 7 เฮ! ศาลยกเลิกคำสั่งระงับฉายแล้ว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-02. สืบค้นเมื่อ 2015-04-20.
  39. "อโหสิให้! เสี่ยเจียงถอนฟ้อง จา พนม ต่างคนต่างเดิน". ไทยรัฐออนไลน์. 6 กรกฎาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  40. ""เสี่ยเจียง" ถอนฟ้อง "จา" ลั่นต่างคนต่างเดิน". ASTVผู้จัดการออนไลน์. 6 กรกฎาคม 2558. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-07. สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  41. KUNGFUCINEMA AWARD
  42. จา พนมได้รับการจัดอันดับให้เป็นนักแสดงแอ๊กชั่นอันดับ 1 ของโลก
  43. "จา พนม ถูกสร้างเป็นหุ่นขี้ผึ้ง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-01. สืบค้นเมื่อ 2011-01-01.
  44. จา พนม(TONY JAA) ประกาศแต่งงาน น้องบุ้งกี๋ 3 พ.ค.นี้ เก็บถาวร 2015-05-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน วันที่สืบค้น 28 เม.ย. 2555 จาก www.ruengdd.com
  45. K-POP อิทธิพลกลืนวัฒนธรรม เก็บถาวร 2016-03-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน วันที่เรียกข้อมูล 26 เม.ย. 2555 จาก www.sahavicha.com
  46. โทนี่ จา ปลื้มร่วม 300 ดาราเอเชียแก้ผ้า
  47. โทนี่จา...หมัด เท้า เขย่าโลก! วันที่เรียกข้อมูล 26 เม.ย. 2555 จาก www.positioningmag
  48. "จา พนม ถูกจัดอันดับให้เป็นตำนานเรื่องการต่อสู้". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-01-14. สืบค้นเมื่อ 2010-09-14.
  49. "พนม ถูกจัดอันดับให้เป็นตำนานเรื่องการต่อสู้.2". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-22. สืบค้นเมื่อ 2011-01-22.
  50. Tony Jaa (อังกฤษ)
  51. "Triple Threat - Netflix". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-05-25. สืบค้นเมื่อ 2019-05-06.
  52. "From high kicks to high pitches". The Nation. 2017-03-26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-06. สืบค้นเมื่อ 2017-04-18.
  53. "ต้มยำกุ้งเดอะเกมส์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2021-10-14.
  54. Sensasian, Tom Yum Goong - Fantastic Tony Jaa AFC 7 Action Figure ,เรียกข้อมูล 5/กย./54 จาก  : sensasian.com (อังกฤษ)
  55. ภาพข่าว: พิธีเปิดสถาบันมวย IMA ของบริษัทไอยราฟิล์ม จำกัด โดยครอบครัวคุณจาพนม ยีรัมย์
  56. “เสี่ยเจียง” สนับสนุน “จา พนม” เป็นพรีเซนเตอร์ลำไยไทยช่วยชาติ
  57. "เหนือ เบิร์ด จา-พนม รับค่าตัว 50 ล้าน..." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-25. สืบค้นเมื่อ 2010-09-01.
  58. อิทธิพลของการโฆษณารถของ จา พนม ที่มีผลในตลาดรถไทยในต่างประเทศ[ลิงก์เสีย]
  59. "จา พนม โฆษณารณรงค์วินัยจราจร ที่จ.สุรินทร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-08. สืบค้นเมื่อ 2021-09-23.
  60. Marketing Oops! - “จาพนม” บู๊สนั่นจอ ผ่านโฆษณาตัวใหม่ให้ธนาคาร DBS Hong Kong
  61. บริษัท ไอยราฟิล์ม โดยคุณจาพนม ยีรัมย์ เปิดตัวนิตยสารใหม่[ลิงก์เสีย]
  62. จาพนมได้รับรางวัลกังฟูอวอร์ด[ลิงก์เสีย]
  63. "จาพนมได้รับรางวัลทูตวัฒนธรรมด้านภาพยนตร์ครั้งที่ 1". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-17. สืบค้นเมื่อ 2021-10-14.
  64. Thai News :"ต้มยำกุ้ง" หวังฟัน 1,000 ล. "จา" ปลื้มได้ลงกินเนสส์บุ๊ค
  65. "- ผลการตัดสินรางวัลสุพรรณหงส์ ครั้งที่ 15". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-18. สืบค้นเมื่อ 2021-09-23.
  66. จาพนมรับรางวัล ดาราหน้าใหม่ที่น่าจับตามองที่สุดในโลก
  67. จา พนม บุกแดนมังกร รับรางวัล นักแสดงแอ็กชั่นยอดเยี่ยม
  68. คนวงการบันเทิงนับร้อยร่วมภูมิใจ ต่างชาติยกย่องเสี่ยเจียง-จา พนม
  69. Thai News :ประกาศแล้ว! รางวัลสตั๊นท์แมนยอดเยี่ยม

แหล่งข้อมูลอื่น แก้